KM Day 2021

interaction online learning

คณะวิทยาศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์
ผู้บันทึก: ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

เป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอน วิชา RSU172 กลุ่ม 02 03 04 05 ภาค 3/63

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

จากสถานการณ์ covid 19 ทำให้การปรับรูปแบบการเรียนการสอนต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ประกอบกับในยุค Disruptive innovation ยุคซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัล ถูกใช้เป็นเป็นเครื่องมือสำหรับกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมี interaction ต่อกัน จึงทำให้เริ่มทดลองจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่นำเอา application และสื่อ online หลากหลา่ยชนิด ใช้ประกอบในภาคการเรียน s/63

ในภาค 2/63 จากสถานการณ์ covid 19 ที่เกิดขึ้นในระลอกที่ 2 จึงได้ทดลองใช้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือสำหรับกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมี interaction อย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่ การใช้ line application/google application มาใช้เป็นเครื่องกระต้นให้เกิด interaction ทั้งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับเนื้อหาความรู้ที่ผู้สอนต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผฺู้เรียน

ความรู้เดิม

วิธีการ/ขั้นตอน  นำประสบการณ์จากการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ในรายวิชา RSU172 ภาค s/63 เป็นฐานในการออกแบบการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ในรายวิชา RSU172 ภาค 2/63

กระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ เทคนิค หรือกลยุทธ์  ใช้ L.E. นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการออกแบบ

อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน  โดยภาพรวมไม่พบปัญหาอุปสรรคที่ยากต่อการแก้ไข

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

สิ่งที่ได้จากการออกแบบการจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้ ทำให้ได้เครื่องมือสำหรับสร้าง interaction for online learning ช่วยให้การสอน online ที่เคยดูยุ่งยาก วัดผลได้ลำบาก กลายเป็นเรื่องทำได้ง่ายและที่สำคัญคือ ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การสอนที่ผู้สอนกำหนดไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ อีกด้วย