KM Day 2021
CAB ร่วมสืบสานประเพณีสู่ขวัญข้าวของชาวหนองสาหร่าย
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้
ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย
ของคณะวิชา: วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร
2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้
CAB ร่วมสืบสานประเพณีสู่ขวัญข้าวของชาวหนองสาหร่าย
2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด
คณะนวัตกรรมเกษตร
2.3 ที่มาของความรู้
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม
1. มีการประชุมวางแผนในการดำเนินงาน และเตรียมแผนกิจกรรมสาหรับการจัดกิจกรรม
1. มีการติดต่อประสานงานกับตัวแทนชุมชน เพื่อขอรายชื่อแม่ครู ผู้ที่เป็นต้นแบบการทำพิธีสู่ขวัญ ของชุมชน
2. ประสานงานกับแม่ครูคือ นางบุษกร พรมมา ในการเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ที่จำเป็นต้องใช้ในพิธี
3. ประสานงานกับคณะกรรมการสโมสรในเรื่องสถานที่ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน
4. การแลกเปลี่ยนและซักถามกับแม่ครูในหัวข้อที่สงสัยเพื่อเข้าใจในเรื่องของที่มาและความสำคัญของประเพณีสู่ขวัญข้าว
5. สรุปผลการดำเนินงานและข้อความคิดเห็นต่างๆ สำหรับการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไป
3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล
กิจกรรมการแห่ข้าว การทำขวัญข้าวพร้อมกับงานประเพณีสานสัมพันธ์น้องพี่ CAB บายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณเป็นประเพณีที่กระทำเมื่อมีบุคคลสาคัญมาเยี่ยมเยือน เพื่อเป็นการต้อนรับหรืออวยพรให้บุคคลและชุมชนนั้นๆ มีความเป็นสิริมงคล สร้างขวัญและกาลังใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง สร้างความสามัคคีปรองดอง สร้างความอบอุ่นและมิตรภาพที่ดีภายในวิทยาลัย นอกจากนั้นยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่กับสังคมไทย และ มีส่วนช่วยทำนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาไทยของชาติสืบไป
ทั้งนี้กิจกรรมที่ได้มีการดาเนินการ มีประโยชน์หลายภาคส่วน ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อนักศึกษา
มีส่วนในการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย
2. ประโยชน์ต่อบุคลากร
มีส่วนในการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทยควบคู่ไปกับการบริการวิชาการช่วยเหลือสังคม
3. ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่สามารถเป็นหน่วยงานที่ช่วยเผยแพร่ประเพณี “สู่ขวัญข้าว” ให้ต่างชาติได้รับรู้
3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน
เป็นการปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานประเพณีไทย นับว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้นักศึกษาเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่ออาชีพเกษตรกรรม ด้วยการลงมือปฏิบัติลงแขกปลูกข้าวในพื้นที่จริง ทำให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของข้าว และยังได้ร่วมสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไป พร้อมๆ ไปกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีระหว่างกันอีกด้วย