KM Day 2021

เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ Q1 Q2

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ Q1 Q2

ของคณะวิชา: วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ Q1 Q2

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

รศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

2.3 ที่มาของความรู้
KM Rangsit Universityว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้KM Rangsit University
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

ควอไทล์ (Quartile; Q) ของการตีพิมพ์ผลงานวิจัย เป็นคะแนนที่ใช้ประเมินและจัดอันดับของวารสารวิชาการ ในการตรวจสอบวารสารว่านั้นอยู่ในควอไทล์อันดับไหนได้จาก Journal Citation Reports (JCR) ของฐานข้อมูลที่ใช้อ้างอิงกันหลักๆ คือ ISI Web of Science (WOS) ของบริษัท Clarivate Analytics และ SCImago Journal Rank (SJR) ของบริษัท Elsevier บทความวิจัยที่ตีพิมพ์วารสารระดับ Q1 และ Q2 จะถือว่าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของงานวิจัยนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลสำหรับตัวผู้วิจัยหรืออาจารย์เอง รวมถึงสามารถนำไปใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการได้ และเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยหรือองค์กรสำหรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยหรือองค์กรนั้นๆ มีการทำงานวิจัยอยู่ในระดับมาตรฐานสากล เนื่องจากวารสารที่อยู่ใน Q1 เป็นกลุ่มวารสารที่ถูกจัดอันดับที่ดีที่สุดแบ่งแยกออกตามแต่ละสาขาวิชา Q2 Q3 และ Q4 เป็นอันดับรองลงมาตามลำดับ

เทคนิคในการทำงานวิจัยและเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ออกสู่สาธารณะโดยเฉพาะในวารสารระดับ Q1 Q2 ผู้วิจัยจึงต้อง 1) เป็นหัวข้อที่ใหม่ในสาขานั้นๆ (Novel and Up-to-date) เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัย ไม่พบการตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน Editor จะพิจารณาจากความใหม่และความน่าสนใจมาเป็นอันดับแรกๆ  2) เลือกหัวข้อที่จะตีพิมพ์ที่มีความน่าสนใจและสามารถทำได้จริง (Feasible) เช่น หากเป็นงานวิจัยที่ทำทางด้านทฤษฎี การสร้างสูตร สมการใหม่ๆ หากเป็นการสร้างแบบจำลองก็ควรมีการทดลองเพื่อยืนยัน พิสูจน์ว่าทฤษฎีที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถทำได้จริง สามารถทำซ้ำได้ด้วยหลักการเดียวกัน เป็นต้น 3) ไม่ผิดหลักทางจริยธรรมการวิจัย (Ethical) หากงานวิจัยนั้นๆ มีความเกี่ยวข้องกับการทดลองในสัตว์หรือในมนุษย์จะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยและต้องระบุไว้ในบทความ และต้องไม่มีการซ้ำซ้อนหรือคัดลอกมาจากบทความวิจัยของคนอื่นและของตนเอง (Plagiarisms and double publications) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ หากมีการตรวจพบการลอกเลียนบทความอาจมีโทษถึงโดนเข้าบัญชีดำ (Blacklist) ข้อควรระวังในการตีพิมพ์อีกอย่างคือ นักวิจัยที่มีประวัติการตีพิมพ์ในวารสาร Q1 Q2 จะทำให้มีบางสำนักพิมพ์ที่ส่งหนังสือเชิญตีพิมพ์ แต่สำนักพิมพ์นั้นอาจอยู่ในรายชื่อ Beall’s list of predatory หมายถึงสำนักพิมพ์หรือวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน และคาดว่าอาจไม่มีอยู่จริง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ open access และต้องเสียค่าตีพิมพ์ หากตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาจารย์หรือผู้วิจัย อาจไม่สามารถขอตำแหน่งวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไม่สามารถนำมาใช้จบการศึกษาได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบวารสารก่อนการตีพิมพ์ว่าวารสารนั้นจัดอยู่ในสาขาวิชาที่ตรงกับหัวข้อของเราหรือไม่และอยู่ในอันดับไหน ยิ่งตีพิมพ์ในวารสารที่มีควอไทล์สูงๆ ยิ่งเป็นเป็นที่ยอมรับในแง่ของคุณภาพของงานวิจัย และต้องไม่ติดอยู่ในกลุ่มวารสารต้องห้ามหรือ Beall’s list of predatory (https://scholarlyoa.com/publishers/)

ขั้นตอนการเตรียมบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Q1 Q2 มีดังนี้

1) การเลือกวารสาร ตรวจสอบจากหัวข้อของผู้วิจัยว่าอยู่ในสาขาวิชาไหน หรือสอดคล้องกับ issue ที่กำลังเป็นที่สนใจหรือไม่ ผู้วิจัยสามารถค้นหา journal เรียงตามอันดับควอไทล์ได้จาก journal ranking ของสำนักพิมพ์นั้นๆ ได้เลย โดย Q1 Q2 จะมีความยากในการพิจารณาตีพิมพ์ เนื่องจากอยู่ในอันดับต้นๆ ของ journal ทั่วโลก

2) การเขียนบทความ สามารถตรวจสอบ template ของการตีพิมพ์ได้จาก Guide for authors ของ journal ที่ต้องการตีพิมพ์ เทคนิคที่ใช้ที่คือ สิ่งที่จะนำเสนอต้องมีความใหม่ เขียน content ให้มีความชัดเจน มีจุดขาย และสอดคล้องต่อเนื่องกัน มีการอธิบายด้วยหลักฐานทางหลักวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่แน่นเพียงพอ และปิดจุดอ่อนของงานให้ได้มากที่สุด หากนำงานผู้อื่นมาใช้ในการอธิบายหรือเปรียบเทียบจะต้องอ้างอิง (Cite) งานตามหลักการอ้างอิงของ journal นั้นๆ ส่วนหัวข้อต่างๆ ภายในตัวบทความต้นฉบับให้ลำดับตาม template ของ journal นั้น ที่สำคัญจะต้องตรวจสอบภาษาให้ถูกต้อง โดยเฉพาะบทความที่มาจากฝั่งเอเชีย มักจะถูกถามถึงเรื่องการตรวจสอบภาษาเสมอ

3) การส่งบทความ จะต้องมี cover letter หรือจดหมายแปะหน้าส่งถึง editor อาจมีการอธิบายงานเบื้องต้นว่าน่าสนใจและมีจุดขายอย่างไร ควรเขียนด้วยข้อความที่สุภาพเรียบร้อยและเป็นทางการ จากนั้น submit บทความลงในระบบเพื่อรอการตอบกลับ ผู้ที่จะทำหน้าที่ประสานโต้ตอบกับ editor คือ corresponding author ดังนั้น ผู้ประสานงานจึงมีความสำคัญและมักจะเป็น Professor ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ โดยมีการระบุ (*) ไว้ที่ชื่อและ email ขององค์กร

4) การแก้ไขบทความ (Revision) หลังจากที่บทความถูกพิจารณาเบื้องต้นผ่าน editor ของสำนักพิมพ์แล้ว จะถูกส่งไปที่ Reviewer หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่ออ่านและวิพากษ์งานวิจัย ว่ามีความเหมาะสมที่จะตีพิมพ์ใน journal ข้างต้นหรือไม่ หรือให้มีการแก้ไขก่อนการตีพิมพ์แบ่งเป็น การแก้ไขแบบ major correction และ การแก้ไขแบบ minor correction เมื่อทำการแก้ไขเสร็จและส่งกลับ จะได้รับการพิจารณาอีกครั้งว่า Accept หรือ Reject ใน journal ที่อยู่ใน Q1 Q2 จะมีการพิจารณาที่เข้มข้นกว่า Q3 Q4 และ/หรือสำนักพิมพ์ที่มี impact factor ต่ำ หากไม่ผ่าน หรือ ถูก Reject สามารถนำบทความที่มีการแก้ไขแล้วไปส่งใน journal อื่น ที่มีคะแนนควอไทล์รองลงมาได้

5) ผลจากการตีพิมพ์บทความใน Q1 Q2 บทความที่ถูกตีพิมพ์ใน Q1 Q2 ถือว่าเป็นบทความที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล ยิ่งมีจำนวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในควอไทล์สูงจะยิ่งส่งผลต่อนักวิจัย กล่าวคือ ทำให้ตัวผู้วิจัยและสถาบันที่สังกัดเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทำให้มีผู้อ้างอิงผลงาน และมักจะได้รับเชิญให้นำเสนองานในงานประชุมวิชาการต่างๆ รวมถึงการได้รับเชิญให้เขียนบทความตีพิมพ์ใน special issue อีกด้วย นอกจากนี้หากมีผู้นำผลงานวิจัยไปอ้างอิง จะทำให้ค่าของ h-index สูงขึ้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลิตภาพ (Productivity) ของการทำงานวิจัย

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

1) ผลจากการดำเนินงานด้วยเทคนิคการเขียนบทความที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน journal ที่มีมาตรฐานระดับสากลได้และอยู่ในระดับ Q1 เกิดการสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนางานวิจัยใหม่

2) ได้นำเทคนิคดังกล่าวไปพัฒนานักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้ทำงานวิจัยและเขียนบทความลงใน Q1 Q2 พบว่าได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจและสามารถตีพิมพ์ลงในวารสารระดับ Q1 Q2 ได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ได้จากประสบการณ์ในปีที่ผ่านๆ มา การที่จะตีพิมพ์บทความในควอไทล์สูงได้ อาจมีปัญหาและอุปสรรค รวมถึงปัจจัยที่นำไปสู่การตีพิมพ์ผลงาน อย่างเช่น

1) งานวิจัยต้องมีความใหม่ เป็น original paper ยังไม่ปรากฏที่ใดมาก่อน หรือต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของโลกใน ณ เวลานั้น บางครั้งอาจไม่ได้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้วิจัยกำลังทำอยู่ ผู้วิจัยควรโฟกัสอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ

2) งานวิจัยต้องมีคุณภาพสูงพอ มี Experimental design ที่ดี งานมีความสำคัญต่อวงการวิจัยในสาขานั้น มีหลักฐานที่แน่นที่จะพิสูจน์ผลการวิจัยว่าถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ อาจมีการทำการทดลองเพื่อยืนยันความเป็นไปได้ หรือถ้าหากไม่มีจะต้องเปรียบเทียบผลกับสิ่งที่มีอยู่ก่อนหน้า หรือกล่าวอ้างถึงวรรณกรรมเกี่ยวข้องและวิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบ

3) งานวิจัยมีการนำเสนอจุดเด่น สามารถโน้มน้าวให้ Editor และ Reviewer เชื่อในสิ่งที่ผู้วิจัยนำเสนอ และ

          4) ต้องทำการปรับปรุงผลงานตามที่ Reviewer วิจารณ์ สามารถมีความคิดเห็นที่แตกต่างได้ แต่ต้องมีเหตุผลในการโต้แย้งอย่างสุภาพ

          5) การเขียนบทความที่มีความเข้มของเนื้อหาแบบนี้ ต้องใช้ทรัพยากรบุคคล ทุนวิจัย และเวลามาก ผู้วิจัยต้องไม่ย่อท้อ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำต่อไป

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

การเขียนบทความให้สามารถตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติในระดับ Q1 Q2 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่จะพัฒนางานวิจัย เป็นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อ Ranking ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งการตรวจสอบอันดับควอไทล์ ISI Web of Science ของบริษัท Clarivate Analytics จะเป็นการวัดจำนวนการ citation จากฐานข้อมูลของ JCR และ Essential Science Indicators (ESI) เท่านั้น นำมาจัดอันดับตามหมวดสาขาวิชา สำหรับ journal ที่มีสถิติของ citation สูงสุดในปีของการจัดอันดับอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ 0.0 < Z < 0.25 จะถือว่าอยู่ในอันดับ Q1 และ 0.25 < Z < 0.5 จะถือว่าอยู่ในอันดับ Q2 เมื่อ Z คือเปอร์เซ็นไทล์ ซึ่งไม่นับรวม proceeding paper ที่มาจาก conference แสดงในรูปที่ 1

 

 

 

รูปที่ 1 หน้าของ website ของฐานข้อมูล Web of Science

(ที่มา : https://login.webofknowledge.com)

 

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างบทความวิจัยที่ตีพิมพ์และอยู่ในฐานข้อมูล Web of Science แสดงว่าอยู่ใน Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation

 

รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการสืบค้นอันดับควอไทล์ของ paper ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร SENSORS ของสำนักพิมพ์ MPDI ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจัดอยู่ใน Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation

สำหรับอีกทางเลือกของการอ้างอิงการจัดอันดับควอไทล์คือฐานข้อมูล SCImago Journal Rank (SJR) ของบริษัท Elsevier จะเป็นการวัดจากปริมาณ citation ของ SCOPUS ซึ่ง SCImago จะใช้การอ้างอิงแบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted citation) กับวารสารที่มีค่า Impact factor (IF) สูงด้วย แสดงในรูปที่ 3 และเมื่อสืบค้นวารสาร SENSORS เช่นเดียว ให้ผลการสืบค้นดังรูปที่ 4 แสดง journal metric และอันดับ Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation เช่นเดียวกันกับฐานข้อมูล Web of Science

 

รูปที่ 3 หน้าของ website ของฐานข้อมูล SCImago (ที่มา : https://www.scimagojr.com/)

 

 

 

 

รูปที่ 4 journal metric ของวารสาร SENSORS ในฐานข้อมูล Web of Science แสดงว่าอยู่ใน Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation

ในการประเมินคุณภาพของงานวิจัยและตัวผู้วิจัย ไม่เพียงแต่ใช้ควอไทล์ของ journal ที่ตีพิมพ์เท่านั้น ยังมีค่าอื่นๆ ที่บ่งชี้คุณภาพของวารสารและใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัด ได้แก่ ค่าปริมาณการ citation ที่แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของงานและมีผลกระทบในสาขาวิชานั้นๆ จึงทำให้มีผู้นำบทความไปใช้อ้างอิง ค่า Impact factor (IF) เป็นค่าที่แสดงความถี่ในการอ้างอิงบทความวิจัยในวารสารประเมินเป็นรายปี วารสารที่มีค่า IF สูง หมายความว่าวารสารนั้นถูกอ้างบ่อยหรือมีผลกระทบต่อวงการวิชาการนั่นเอง ค่า IF จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพิจารณาวารสารก่อนที่จะตีพิมพ์ และ ค่า h-index (Hirsch index หรือ Hirsch number) เป็นตัวชี้วัดจำนวน citation ของบทความที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับจำนวนบทความวิจัยนั้นๆ เช่น ผู้วิจัยมี h-index = 9 และมีผลงานตีพิมพ์ 20 บทความ หมายความว่า ผู้วิจัยนั้นมีบทความจำนวน 9 บทความที่ได้รับการอ้างอิง 9 ครั้งหรือมากกว่า และบทความที่เหลือได้รับการอ้างอิงน้อยกว่า 9 ครั้ง ซึ่ง h-index จะนับจำนวน citation เฉพาะบทความที่อยู่ในฐานข้อมูลของ ISI WOS เท่านั้น

ถึงแม้ว่าการเขียนบทความที่จะตีพิมพ์ใน Q1 Q2 ต้องอาศัยการศึกษาจำนวนมากและเข้มข้นเพียงพอ ใช้เวลาในการเขียน แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องส่งเสริมให้อาจารย์หรือนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เกิดขึ้นและพัฒนาวงการวิชาการต่อไป

การเขียนบทความให้สามารถตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติในระดับ Q1 Q2 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่จะพัฒนางานวิจัย เป็นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อ Ranking ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งการตรวจสอบอันดับควอไทล์ ISI Web of Science ของบริษัท Clarivate Analytics จะเป็นการวัดจำนวนการ citation จากฐานข้อมูลของ JCR และ Essential Science Indicators (ESI) เท่านั้น นำมาจัดอันดับตามหมวดสาขาวิชา สำหรับ journal ที่มีสถิติของ citation สูงสุดในปีของการจัดอันดับอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ 0.0 < Z < 0.25 จะถือว่าอยู่ในอันดับ Q1 และ 0.25 < Z < 0.5 จะถือว่าอยู่ในอันดับ Q2 เมื่อ Z คือเปอร์เซ็นไทล์ ซึ่งไม่นับรวม proceeding paper ที่มาจาก conference แสดงในรูปที่ 1

 

 

 

รูปที่ 1 หน้าของ website ของฐานข้อมูล Web of Science

(ที่มา : https://login.webofknowledge.com)

 

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างบทความวิจัยที่ตีพิมพ์และอยู่ในฐานข้อมูล Web of Science แสดงว่าอยู่ใน Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation

 

รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการสืบค้นอันดับควอไทล์ของ paper ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร SENSORS ของสำนักพิมพ์ MPDI ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจัดอยู่ใน Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation

สำหรับอีกทางเลือกของการอ้างอิงการจัดอันดับควอไทล์คือฐานข้อมูล SCImago Journal Rank (SJR) ของบริษัท Elsevier จะเป็นการวัดจากปริมาณ citation ของ SCOPUS ซึ่ง SCImago จะใช้การอ้างอิงแบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted citation) กับวารสารที่มีค่า Impact factor (IF) สูงด้วย แสดงในรูปที่ 3 และเมื่อสืบค้นวารสาร SENSORS เช่นเดียว ให้ผลการสืบค้นดังรูปที่ 4 แสดง journal metric และอันดับ Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation เช่นเดียวกันกับฐานข้อมูล Web of Science

 

รูปที่ 3 หน้าของ website ของฐานข้อมูล SCImago (ที่มา : https://www.scimagojr.com/)

 

 

 

 

รูปที่ 4 journal metric ของวารสาร SENSORS ในฐานข้อมูล Web of Science แสดงว่าอยู่ใน Q1 ในสาขา Instruments & Instrumentation

ในการประเมินคุณภาพของงานวิจัยและตัวผู้วิจัย ไม่เพียงแต่ใช้ควอไทล์ของ journal ที่ตีพิมพ์เท่านั้น ยังมีค่าอื่นๆ ที่บ่งชี้คุณภาพของวารสารและใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัด ได้แก่ ค่าปริมาณการ citation ที่แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของงานและมีผลกระทบในสาขาวิชานั้นๆ จึงทำให้มีผู้นำบทความไปใช้อ้างอิง ค่า Impact factor (IF) เป็นค่าที่แสดงความถี่ในการอ้างอิงบทความวิจัยในวารสารประเมินเป็นรายปี วารสารที่มีค่า IF สูง หมายความว่าวารสารนั้นถูกอ้างบ่อยหรือมีผลกระทบต่อวงการวิชาการนั่นเอง ค่า IF จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพิจารณาวารสารก่อนที่จะตีพิมพ์ และ ค่า h-index (Hirsch index หรือ Hirsch number) เป็นตัวชี้วัดจำนวน citation ของบทความที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับจำนวนบทความวิจัยนั้นๆ เช่น ผู้วิจัยมี h-index = 9 และมีผลงานตีพิมพ์ 20 บทความ หมายความว่า ผู้วิจัยนั้นมีบทความจำนวน 9 บทความที่ได้รับการอ้างอิง 9 ครั้งหรือมากกว่า และบทความที่เหลือได้รับการอ้างอิงน้อยกว่า 9 ครั้ง ซึ่ง h-index จะนับจำนวน citation เฉพาะบทความที่อยู่ในฐานข้อมูลของ ISI WOS เท่านั้น

ถึงแม้ว่าการเขียนบทความที่จะตีพิมพ์ใน Q1 Q2 ต้องอาศัยการศึกษาจำนวนมากและเข้มข้นเพียงพอ ใช้เวลาในการเขียน แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องส่งเสริมให้อาจารย์หรือนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เกิดขึ้นและพัฒนาวงการวิชาการต่อไป