KM Day 2021

การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการวิจัยของนักศึกษาในรายวิชาการค้นคว้าส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรี และรายวิชาวิทยานิพนธ์และรายวิชาการค้นคว้าส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาโท

คณะศิลปศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ดร. นครเทพ ทิพยศุภราษฏร์
ผู้บันทึก: ดร. นครเทพ ทิพยศุภราษฏร์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

ในฐานะของหัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษต้องอำนวยความสะดวกและวางแผนด้านการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมให้หลักสูตร 2 หลักสูตรในความรับผิดชอบของภาควิชาคือสาขาภาษาอังกฤษ (ปริญญาตรี) และสาขาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ (ปริญญาโท)

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

ที่ผ่านมาเมื่อนักศึกษาทำรูปเล่มรายงานวิจัยในรายวิชาวิทยานิพนธ์และรายวิชาการค้นคว้าส่วนบุคคลเสร็จ ภาควิชาจะจัดเก็บเอาไว้ที่ห้องภาควิชา แต่เมื่อผ่านไปหลายปีทำให้มีจำนวนรายงานมากขึ้นจนล้นจึงกระจายไปเก็บที่ศูนย์การศึกษาด้วยตนเองของคณะ แต่ต่อมาก็ล้นอีกเนื่องจากนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแต่ละรุ่นมีจำนวนมาก นอกจากนี้ยังประสบปัญหาเรื่องการดูแลเรื่องการยืมคืนเพราะต้องใช้บุคลากรของคณะเป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว การติดตามทวงถามก็ไม่เป็นผลในบางกรณีทำให้มีรายงานบางส่วนสูญหาย

ความรู้เดิม

ภาควิชาได้สร้างระบบ online เพื่อจัดเก็บเล่มรายงานครั้งแรกในปี 2554 โดยเริ่มจากหลักสูตรปริญญาตรีก่อน มีขั้นตอนดังนี้

6.1 สร้างระบบ google drive และ google sheet นำเล่มรายงานที่มีอยู่ทั้งหมดในตอนนั้นสแกนเป็น file และจัดเก็บในระบบ

6.2 นักศึกษาที่ส่งรายงานตั้งแต่ปี 2554 ภาควิชากำหนดให้ส่งเป็น file แทนเล่มรายงานปกติ

6.3 สร้างระบบการ upload file สำหรับนักศึกษาโดยใช้ google form หาก upload สำเร็จระบบจะส่งเอกสาร ตอบรับการ upload ให้กับนักศึกษาทาง email บนเอกสารนี้จะมีช่องให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ วิจัยลงนามเพื่อรับทราบ นักศึกษาต้อง print เอกสารนี้และนำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษา (เป็นหลักฐานว่าได้จัดส่ง file รายงานการค้นคว้าส่วนบุคคลเข้าระบบแล้ว) เมื่อลงนามแล้วนักศึกษาจึงนำเอกสารมายื่นที่ภาควิชา

6.4 ภาควิชาได้ทำช่องทางการสืบค้นเอาไว้ในระบบเพื่อให้นักศึกษาปัจจุบันที่ต้องการค้นคว้ารายงานของรุ่นพี่สามารถเข้าถึงและ download ได้โดยสะดวก

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

เมื่อการนำระบบนี้ให้นักศึกษาปริญญาตรีใช้และได้รับ feedback ที่ดีจึงได้จำลองระบบทั้งหมดและนำไปใช้กับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโทโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2556 สำหรับนักศึกษาปริญญาโททุกคนมีการเผยแพร่บทความตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา จึงนำ file บทความทั้งหมดมารวมกันและแยกออกมาเป็นอีกเมนูหนึ่ง โดยระบบทั้งหมดภาควิชาได้ทำเป็นเมนูใหญ่และติดตั้งไว้บนหน้า home page ของ web site คณะศิลปศาสตร์

ระบบที่พัฒนาขึ้นมีข้อดีดังนี้

- ประหยัดพื้นที่การจัดเก็บ

- ลดปัญหาในการดูแลการยืมคืน

- การค้นหาข้อมูลสะดวกรวดเร็ว

- สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Anywhere Anytime