KM Day 2021

Experiential Learning Theory (ELT)

คณะบริหารธุรกิจ
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ของคณะวิชา: คณะบริหารธุรกิจ

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

Experiential Learning Theory (ELT)

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

David A. Kolb

2.3 ที่มาของความรู้
Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development (Textbook)
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ ให้กับนักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ เทคนิคการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ให้กับนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านกระบวนการสอนในรายวิชา LGM499 หัวข้อพิเศษทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานต่อไปนี้

                1. ทำการประเมินทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นทักษะทางการสื่อสาร ผ่านการประเมินของอาจารย์ผู้สอน และการประเมินด้วยตัวนักศึกษาเอง ซึ่งผลการประเมินทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาจากอาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับปานกลาง แต่การประเมินตนเองของนักศึกษา พบว่านักศึกษาประเมินทักษะทางภาษาของตนเองอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ

                2. ออกแบบกิจกรรม ให้นักศึกษา โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

                - ช่วงแรก ให้นักศึกษา เป็นผู้ดูแลนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มาจากประเทศสวีเดนในระหว่างอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต โดยการดูแลดังกล่าว จะทำให้นักศึกษาเผชิญกับการใช้ทักษะภาษาอังกฤษทางการสื่อสารจริง และเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ต้องเจอ โดยเป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ และไม่มีผู้สอนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง

                - ช่วงที่สอง ให้นักศึกษา ทำการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย จากนักศึกษาแลกเปลี่ยน และนักศึกษาต่างชาติ จากประเทศอื่นๆ (ที่ไม่ใช่นักศึกษากลุ่มที่มาจากสวีเดน) เพื่อสรุปและนำเสนอในรูปแบบของรายงาน โดยการสัมภาษณ์นักศึกษาแลกเปลี่ยนและนักศึกษาต่างชาติ ที่ไม่ใช่กลุ่มเดิม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับนักศึกษา

                3. ทำการประเมินทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นทักษะทางการสื่อสาร ผ่านการประเมินของอาจารย์ผู้สอน และการประเมินด้วยตัวนักศึกษาเอง ซึ่งผลการประเมินทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาจากอาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ในขณะที่การประเมินตนเองของนักศึกษา พบว่านักศึกษาประเมินทักษะทางภาษาของตนเองอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูงเช่นกัน เนื่องจากนักศึกษามีความมั่นใจ ในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

                ผู้เล่าเรื่องทำการทำการสัมภาษณ์ นักศึกษากลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อใช้กระตุ้นให้เกิดการวิเคราะห์ และสะท้อนมุมมอง ความคิดต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ เพื่อสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของนักศึกษา

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

นักศึกษามีการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางการสื่อสาร และการสนทนา ผู้สอนทำการประเมินจากการสังเกต และการทดสอบ / ทดลองสื่อสารภาษาอังกฤษ ก่อนที่จะให้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และทำการประเมินอีกครั้ง หลังจากได้ให้นักศึกษา เรียนรู้จากกิจกรรมที่ออกแบบขึ้น ผลการประเมินพบว่า นักศึกษามีความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น สามารถทำการสื่อสารเพื่อเก็บข้อมูล ได้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน รวมถึงทัศนคติต่อการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาเปลี่ยนไป มีความกล้าในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และมีความต้องการในการสื่อสารภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน 

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

การพัฒนากระบวนการเรียนภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ช่วยทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจถึงกระบวนการในการพัฒนาทักษะทางภาษอังกฤษ โดยกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงแบบไม่เป็นทางการ จากการให้นักศึกษาเป็นผู้ประสานงาน และดูแลนักศึกษาแลกเปลี่ยน ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความคุ้นเคยในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษามากยิ่งขึ้น จนทำให้นักศึกษาสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในลักษณะที่เป็นทางการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการพัฒนาทักษะทางภาษาควรเริ่มจากการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ เพื่อปรับทัศนคติ และแนวคิด ก่อนที่จะสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในรูปแบบที่เป็นทางการต่อไป