KM Day 2021

การเสนอหัวข้องานวิจัยเพื่อขอทุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการออกแบบภาพเคลื่อนไหวสองมิติจัดแสดงบนสื่อผสมลอยตัวเรื่อง Hide and Seek  

คณะดิจิทัลอาร์ต
ผู้เล่าเรื่อง: อาจารย์ภัทร นิมมล
ผู้บันทึก:
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ผู้ได้รับทุนจากวิจัยจากโครงการวิจัยสร้างสรรค์พัฒนาพื้นที่ในบริเวณสามย่าน ด้วยประติมากรรมสื่อผสม

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการพัฒนาและปรับปรุงบริเวณชุมชนดั้งเดิมบริเวณสามย่าน ซึ่งผู้ได้รับทุนได้เสนอโครงการเข้าร่วมประกวดและได้รับทุนนำมาทำงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ประติมากรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่สามย่าน

ความรู้เดิม

เริ่มจากการสำรวจพื้นที่ ซึ่งก็ได้พบวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน จึงได้นำหลักการวิจัยด้านมานุษยวิทยา เข้ามาใช้ จากนั้นศึกษา Visual Anthropology “วัฒนธรรมที่ประจักษ์ทางสายตา” คือการสื่อด้วยภาพทางมานุษยวิทยาเช่น ภาพถ่าย มีเดียต่างๆ เพื่อใช้ถ่ายทอดวัฒนธรรมของมนุษย์ออกมา และได้ศึกษาว่าแอนิเมชันจะถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ออกมาได้ด้วยผู้กำกับจะต้องถ่ายทอดความเป็นมนุษย์และวัฒนธรรมเข้าไปที่ตัวละครและตัวละครจึงแสดงถึงวัฒนธรรมต่างๆออกมาได้  และศึกษาประวัติศาสตร์ของเล่น สืบค้นของเล่นในอดีตมาปรับใช้ในปัจจุบัน ซึ่งการละเล่นจะเป็นวัฒนธรรมเด็ก จะต้องผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของพื้นที่กับวัฒนธรรมใหม่ของเด็ก อันจะต้องรักษาคุณค่าทั้งสองเอาไว้ ช่วงแรกคิดทำเป็นของเล่นในพื้นที่ปิด praxinoscope แต่พื้นที่ที่ได้รับการติดตั้งงานเป็นพื้นที่เปิดและเป็นประติมากรรม จึงต้องปรับงานเป็น Phonotrope แต่ต้องใช้ไฟฟ้าในการติดตั้ง จึงเป็นเหตุต้องเปลี่ยนเป็น Zoetrope เพื่อติดตั้งภายนอก วัสดุที่ใช้จะต้องปรับเปลี่ยนให้มีความเชื่อมโยงของสองวัฒนธรรมโดยการใช้แอนิเมชันที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ติดตั้งกับเฟอร์นิเจอร์ที่สติกเกอร์การ์ตูนติดทำให้เห็นตัวการ์ตูนวิ่งเล่นในบ้านเรือนอันวัฒนธรรมในอดีตช่วงหนึ่ง จีงนำมาเป็นแนวคิดของงานออกแบบ Hide and Seek

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ความรู้ใหม่จากการทำให้แอนิเมชันกลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของพื้นที่ ซึ่งจะใช้เฟอร์นิเจอร์มาทำเป็นของเล่นจัดแสดงแบบเคลื่อนไหวด้วย zoetrope