KM Day 2021

How to write a manuscript for publication success in international peer-review journals ทำอย่างไรถึงจะเขียน manuscript เพื่อส่งตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศที่มี peer review ให้ได้ประสบความสำเร็จ

คณะเทคนิคการแพทย์
ผู้เล่าเรื่อง: ศาสตราจารย์ ดร.ศรีสิน คูสมิทธ์
ผู้บันทึก: ดร.อภิชัย ศรีเพียร, ดร.นิภาพร เทวาวงค์, ดร.สุดาภรณ์ เก่งการ และ อ.วรางคณา เล็กตระกูล
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

ศ.ดร.ศรีสิน คูสมิทธ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.มหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2545-2550 และ           รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ม.มหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2540-2542 มีผลงานวิจัยต่าง ๆ ใน international peer review journal จำนวน 86 เรื่อง และผลงานวิจัยจดสิทธิบัตร 1 เรื่อง มีผลงานวิจัยและวิชาการได้รับรางวัลจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศจำนวน 8 รางวัล ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานประชุมต่าง ๆ 167 ครั้ง เป็น editorial broad จำนวน 10 journals เป็น reviewer ให้กับ international peer review journals จำนวน 20 journals และวารสารในประเทศ 2 journals

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานวิจัยของตนเองให้ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งโลก ซึ่งจะต้องเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น international peer review ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เป็นอุปสรรคในการเผยแพร่ตีพิมพ์งานวิจัย บางครั้งถูก reject อันเนื่องจากเนื้อหาไม่น่าสนใจ หัวข้อเรื่องไม่ดึงดูด วิธีการเขียนเนื้อหาที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือภาษาที่ใช้ไม่ถูกต้อง เป็นต้น จึงเป็นที่มาของหัวข้อว่า ทำอย่างไรถึงจะตีพิมพ์ในวารสาร international peer review ได้สำเร็จ

ความรู้เดิม

ขั้นตอนการเขียน manuscript เริ่มจากการเขียน material and method, table, figure, result, discussion, conclusion ตามด้วย introduction เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับผลการทดลอง แล้วจึงเขียน abstract เพื่อสรุปเนื้อหาทั้งหมด และทำการตั้งชื่อเรื่อง (title) และสุดท้ายเป็น acknowledgement

ซึ่งแต่ละขั้นตอนท่านวิทยากรเสนอเทคนิคในการเขียน ดังนี้

Title ชื่อเรื่องสามารถบ่งบอกถึงเนื้อหาหลักทั้งหมด กระชับ ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยค ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ หลีกเลื่ยงคำที่ไม่จำเป็น ไม่นิยมตั้งเป็นคำถาม

Abstract เป็นส่วนที่ผู้อ่านจะอ่านเป็นอันดับแรกๆ อ่านแล้วทำให้เข้าใจเนื้อหาทั้งหมด เชื่อมโยงถึงบทสรุป ควรรวม keyword เพื่อให้คนอื่นสามารถค้นหาได้ แต่ Keyword ไม่ควรมีคำซ้ำกับชื่อเรื่อง มีสมมติฐานชัดเจน ไม่ควรมีความรู้พื้นหลังมากเกินไป ไม่ควรมีคำย่อ นอกจากที่เป็น universal และไม่ควรมีการอ้างอิง เป็นต้น

 

Introduction กล่าวถึงที่มา และปัญหาว่าทำไมถึงทำการศึกษาเรื่องนี้ สำคัญอย่างไร มีสมมติฐานที่ชัดเจน มีเอกสารอ้างอิงใหม่ไม่น้อยกว่า 5 ปี เนื้อหากระชับ ไม่มากหรือน้อยเกินไป

Material and method อธิบายถึงวิธีการศึกษาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน วิธีที่เป็นวิธีใหม่ให้อธิบายชัดเจน สามารถทำซ้ำได้ sample ต้องแจ้งจำนวน และช่วงเวลาที่เก็บ การทดลองควรมี control เสมอ และควรมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

Result อธิบายผลชัดเจน ตอบปัญหาหรือสมมติฐานได้ ใช้สถิติถูกต้อง ผลการทดลองควรลงให้ครบถ้วน ใช้รูปภาพและตารางในการอธิบายผลอย่างเหมาะสม ชัดเจน ไม่ควร duplicate data เช่น ใส่ข้อมูลในตารางแล้วมาบรรยายอีกใน results และเขียนผลอย่างไรต้องวิจารณ์ผลนั้น ๆ เสมอ

Discussion ผลที่สำคัญ (major finding) ให้เขียนไว้ในย่อหน้าแรก อธิปรายผลการทดลองว่าตอบสมมติฐานได้อย่างไร เปรียบเทียบการศึกษาที่ผ่านมา อภิปรายผลที่ไม่เป็นไปตามคาด ถ้าผลวิจัยขัดแย้งหรือให้ผลตรงข้ามกับงานวิจัยอื่น ให้อ้างอิงถึงงานวิจัยนั้น และพยายามหาคำอธิบายให้ได้ ควรใส่ limitation ของงานวิจัย การพัฒนาปรับปรุง และการนำไปใช้ประโยชน์

Conclusion กล่าวถึงการค้นพบที่สำคัญของงานวิจัยนี้ อาจมี take home message ให้กับคนอ่าน และบทสรุปไม่ควรมีเนื้อหาซ้ำกับ abstract

 ทั้งนี้ในการเขียน manuscript อาจไม่ประสบความสำเร็จ อาจถูกขอให้แก้ไข หรือถูก reject ซึ่ง comment ของ reviewer นั้นมีประโยชน์ ผู้เขียนสามารถนำมาประยุกต์ และปรับปรุงการเขียนให้ดีขึ้น เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นแทน ไม่ควรย่อท้อ

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ได้เรียนรู้เทคนิคและแนวทางการเขียนในแต่ละหัวเรื่อง ในแต่ละขั้นตอน อย่างละเอียดจากท่านผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นแนวทาง และสร้างแรงบันดาลใจให้คณาจารย์ของคณะสามารถตีพิมพ์ผลงานของตนเองในวารสาร international peer review journal ได้สำเร็จ ทำให้มีผลงานวิจัยใน international peer review journal ต่าง ๆ หลากหลายเรื่อง ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการได้รับรางวัลจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนอาจได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานประชุมต่าง ๆ และได้รับเชิญเป็น editorial broad และ reviewer ให้กับ international peer review journals และวารสารในประเทศต่อไป