KM Day 2021

ภาษาอังกฤษ ในวิชาบทเพลงร้องและการออกเสียง (Diction)

วิทยาลัยดนตรี
ผู้เล่าเรื่อง: ปาริฉัตร อยู่ประเสริฐ
ผู้บันทึก: ปาริฉัตร อยู่ประเสริฐ
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

อาจารย์ประจาสาขาการแสดงขับร้อง

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

      วิชาบทเพลงร้องและการออกเสียง (Diction) เป็นวิชาที่เน้นให้นักศึกษาในภาควิชาขับร้องสามารถอ่านสัญลักษณ์ International Phonetics Alphabet (IPA) และนาไปใช้ออกเสียงภาษาต่าง ๆ ให้มีสาเนียงการพูดและการร้องเพลงใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากที่สุด
ที่วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีการแบ่งภาควิชาขับร้องออกเป็น 3 สาขา คือ 1. สาขาขับร้องแจ๊ส 2. สาขาขับร้องละครเพลง และ 3. สาขาขับร้องคลาสสิก โดยนักศึกษาเอกขับร้องเพลงแจ๊สต้องสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง โดยอ้างอิงภาษาอังกฤษจากสาเนียงอเมริกันเป็นหลัก เนื่องจากเพลงแจ๊สมีต้นกาเนิดมาจากประเทศอเมริกา ส่วนนักศึกษาเอกขับร้องละครเพลงต้องสามารถแยกแยะสาเนียงอังกฤษและอเมริกันออกจากกันได้ และสาขาสุดท้าย เอกขับร้องคลาสสิก นักศึกษาต้องเรียนการออกเสียง 5 ภาษา คือ ลาติน อิตาเลี่ยน ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ซึ่งแต่ละภาษาแม้จะมีรูปคา หรือรากศัพท์บางอย่างคล้ายกัน แต่ในเรื่องของการออกเสียงนั้น ทั้ง อิตาเลี่ยน ฝรั่งเศส เยอรมัน และ อังกฤษมีเอกลักษณ์ของการออกเสียงที่ต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งจากลักษณะการออกเสียงที่แตกต่างกันนี้ มีผลต่อเพลงร้องอย่างมากทั้งในแง่ท่วงทานอง และเทคนิคการร้อง

ความรู้เดิม

      ในด้านการร้องหรือพูดภาษาต่างประเทศทางยุโรปและอเมริกานั้นมีการวางตาแหน่งเสียงที่ต่างจากคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก ในการร้องเพลงสากลจะมีศัพท์ที่เรียกว่า imposto คือการวางเสียงไว้ในช่องไซนัส และในการร้องเพลงสากลจะต้อง point เสียงไว้ที่ตาแหน่งกลางดั้งจมูก (ในช่วงเสียงต่าถึงเสียงกลาง) ซึ่งสิ่งนี้ไม่มีในภูมิภาคนี้ ถ้านักเรียนสามารถวางเสียงไว้ในตาแหน่งนี้ได้ การออกเสียง consonants หรือพยัญชนะต่าง ๆ จะสามารถทาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการลื่นไหลของช่องเสียงไม่ถูกขัด
      จากประสบการณ์ที่สอนมาพบว่าการที่นักศึกษาออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษไม่ได้ครบ เนื่องจากการ drop ของช่อง imposto นี้ ถ้านักศึกษาสามารถยกโพรงนี้วางไว้ที่เดิมตลอดแนวตั้งแต่พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดได้ นักศึกษาจะสามารถ enunciate คาได้อย่างง่ายดาย เนื่องจาก flow ของเสียงไม่โดน interrupted
     ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบคือ ลิ้นขี้เกียจ (lazy tongue) ในภาษาไทย เวลาพูดจะวางลิ้นบนขากรรไกรและขยับขากรรไกรเพื่อใส่พยัญชนะ แต่ในภาษาอังกฤษนั้นจะ drop jaw ตลอดเวลาที่ออกเสียงพูด และลิ้นเป็นอิสระออกจากขากรรไกรเมื่อต้องการออกเสียงพยัญชนะ สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ คือ ภาษาไทยขยับขากรรไกรไม่ขยับลิ้น ส่วนภาษาอังกฤษขยับลิ้นไม่ขยับขากรรไกร (นอกจากบางพยัญชนะ เช่นตัว s) วิธีแก้คือให้นักศึกษาส่องกระจกพูด เทียบการขยับของขากรรไกรกับเจ้าของภาษา

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

      เมื่อนักเรียนสามารถวางเสียงไว้ในตาแหน่ง imposto ได้ พบว่าการร้องเพลงจะพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดด แม้แต่ช่วงเสียงยังกว้างสูงขึ้นไปได้อีก 1 octave เป็นอย่างน้อย ซึ่งก็เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้สอนเป็นอย่างมากเช่นกัน