KM Day 2021

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

ของคณะวิชา: คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์   คณะอาชญ่าวิทยาและการบริการงานยุติธรรม

2.3 ที่มาของความรู้
จากเว็บไซต์ http://www.okmd.or.th/upload/pdf/chapter1_kc.pdf
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง เป็นการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับพร้อมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ๆ เพื่อรองรับให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นผลตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ ได้แก่ (1) การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงค่านิยม พฤติกรรมของ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ให้ยึดแนวการทำงานที่เปิดรับและพร้อมจะสร้างสรรค์งานใหม่ๆ พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน มีมุมมองผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานในเชิงบวก ปลูกฝังแนวคิดที่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ความตั้งใจจริง การเอาชนะอุปสรรค การทำงานให้ผลออกมาดีที่สุด ฯลฯ โดยใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วม การเป็นแบบอย่างและการสนับสนุนจากผู้บริหาร (ที่ทุกคนมองเห็น) การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน  (2) การสื่อสาร เป็นการทำให้ทุกคนในองค์กรเกิดความเข้าใจร่วมกันว่าการปฏิบัติงานต่างภายในคณะจะดำเนินการไปเพื่ออะไร ได้ประโยชน์อะไร ทำเมื่อใด ทำอย่างไร แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างไร ฯลฯ  และ (3) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ระบบพี่เลี้ยงเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัว จากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าไปยังบุคลากรรุ่นใหม่หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งระบบพี่เลี้ยงเป็นวิธีการหนึ่งในการสอนงานและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไประบบพี่เลี้ยงจะใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะทั้งสองฝ่ายจะต้องสร้างความคุ้นเคยความสัมพันธ์และความเข้าใจกัน แต่นั่นมิใช่อุปสรรคของคณะเนื่องจากวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของคณะจะใช้หลักการฟังซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจ และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น ผู้ที่เป็นพี่เลี้ยงนอกจากจะให้คำปรึกษาในด้านการงานแล้วยังเป็นที่ปรึกษาในเวลามีปัญหาหรือสับสน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญพี่เลี้ยงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องพฤติกรรมจริยธรรมและการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรด้วย แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะมีความพร้อมในการรับกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบาย และเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

ผลการปฏิบัติงานของคณะที่ผ่านมาพบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติงานกันด้วยความเข้าใจ สามารถแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตลอดจนช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ หากมีการจัดงานสัมมนา และหรืองานเร่งด่วนทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดี

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบาย และเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น