KM Day 2021

การเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงในสถานที่เกิดเหตุ

สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
ผู้เล่าเรื่อง: ดร. สกลกฤษณ์ เอกจักรวาล
ผู้บันทึก: ดร. สกลกฤษณ์ เอกจักรวาล
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

อาจารย์ประจำ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

การเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงในสถานที่เกิดเหตุนั้น ต้องอาศัยเทคนิค และประสบการณ์ ในการเก็บวัตถุพยานดังกล่าว เนื่องจากรอยลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุ มีด้วยกันหลายรอย ทั้งรอยของเจ้าของบ้าน และรอยของผู้กระทำความผิด อยู่มากมาย เจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ จะทราบได้อย่างไรว่า รอยลายนิ้วมือตรงไหน เป็นของผู้กระทำความผิด

การฝึกปฏิบัติจริง โดยให้นักศึกษาได้ทดลองปัดหารอยลายนิ้วมือแฝงในสถานที่เกิดเหตุจำลอง เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพ การเก็บวัตถุพยานประเภทรอยลายนิ้วมือแฝง ได้ชัดเจนขึ้น มีความเข้าใจวัตถุพยาน รวมถึงเกิดทักษะ ในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ การเก็บรอยลายนิ้วมือแฝง และขณะที่นักศึกษาได้ทำการฝึกปฏิบัติอยู่นั้น ได้เกิดข้อสงสัย และได้สอบถามอาจารย์เกี่ยวกับ การสังเกตุ หรือแยกรอยลายนิ้วมือแฝงของเจ้าของบ้าน กับรอยลายนิ้วมือแฝงของคนร้ายออกจากกัน

ความรู้เดิม

อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ในเรื่องการเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงในสถานที่เกิดเหตุ จึงจะสามารถตอบคำถามของนักศึกษา ที่เป็นคำถามที่ต้องอาศัย ทักษะความรู้ จากการปฏิบัติจริง อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า การเกิดรอยลายนิ้วมือแฝง เกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะพฤติกรรมเจ้าของบ้าน กับผู้กระทำความผิดต่างกันอย่างไร และรอยลายนิ้วมือแฝงที่พบ แยกเจ้าของบ้าน กับผู้กระทำความผิดได้อย่างไร

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงในสถานที่เกิดเหตุ มากขึ้น เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ และมีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ ของอาจารย์ผู้สอน ว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนั่นๆ จริง