KM Day 2021

 กรณีศึกษาปัญหาการฝึกงานจากกรณีเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา

คณะรังสีเทคนิค
ผู้เล่าเรื่อง: ณัฐพงศ์ ด่านธนวัฒน์
ผู้บันทึก: ทิพจุฑา พัฒน์เรืองเดช
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้รับผิดชอบในวิชาควบคุมการฝึกงานรังสีวินิจฉัย                            

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

หลักสูตรรังสีเทคนิค ในเรื่องของการเรียนการสอนนั้นเมื่อเรียนจบในส่วนของภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ นักศึกษาต้องไปลงฝึกปฏิบัติตามแหล่งฝึกงานที่โรงพยาบาลจริง เพื่อเรียนรู้บทบาทหน้าที่นักรังสีเทคนิค ระบบงานในหน่วยงาน การให้บริการตรวจทางรังสีวินิจฉัย  เทคนิคการตรวจต่างๆ เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากแหล่งฝึกงานโรงพยาบาล เพื่อการดูแลนักศึกษาและให้ความรู้ทักษะต่างๆ ดังนั้นการรักษาความสัมพันธ์และการปิดช่องทางการเกิดปัญหาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นประเด็นที่จะพูดถึงต่อไป

ความรู้เดิม

ในขั้นตอนการส่งนักศึกษาฝึกงาน ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.สำรวจความต้องการของนักศึกษาที่จะไปฝึกงานตามโรงพยาบาลต่างๆเพื่อที่จะจัดการส่งนักศึกษาตามความเหมาะสมตรงกับความต้องการของนักศึกษามากที่สุด

2.ติดต่อประสานงานกับทางโรงพยาบาลทางวาจาโดยทางโทรศัพท์ เพื่อเตรียมความพร้อมและ update ข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงานเช่นจำนวนนักศึกษาที่สามารถรับได้ในแต่ละแหล่งฝึกงาน ในแต่ละสถานการณ์ทุกปี  การเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงานในเงื่อนไขอื่นๆเช่นการตรวจร่างกายการฉีดวัคซีน เป็นต้น

3.ทำการอัพเดทข้อมูลการส่งนักศึกษาฝึกงานตำแหน่งฝึกงานต่างๆตามที่ได้ประสานงานทางวาจา รวมถึงการปรับเปลี่ยนจากตัวนักศึกษาเอง (สลับเปลี่ยนแหล่งฝึกงานกับเพื่อน)

4.ทำหนังสือติดต่อประสานงานการฝึกงานอย่างเป็นทางการถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพื่อยืนยันการฝึกงานพร้อมทางรายชื่อนักศึกษา  คู่มือการฝึกงาน เอกสารประเมินผลการฝึกงาน เป็นต้น

5.ส่งนักศึกษาฝึกงานตามกำหนดการที่ได้แจ้งกับโรงพยาบาลแหล่งฝึกงาน

ซึ่งทางคณะยังไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากเรื่องส่วนตัวของทางนักศึกษาเอง จึงไม่ได้สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง กล่าวคือ มีการคุกคามจากแฟนของนักศึกษาที่เเหล่งฝึกงาน  คณะจึงได้มีการจัดการ ปัญหานักศึกษา  โดยรีบไปรับตัวนักศึกษาออกจากโรงพยาบาลฝึกงานทันที และระงับการฝึกงานของนักศึกษาต่อมา จากนั้นได้ปรึกษากับทาง หน่วยงานพัฒนาวินัยนักศึกษา เพื่อประสานงานกับทางผู้ปกครอง ของนักศึกษา ซึ่งต่อมาจากการเจรจาให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในวิชาที่สามารถเรียนได้โดยมีผลกระทบ เช่นวิชาโครงการพิเศษ 1 ซึ่งรายวิชานี้เป็นวิชาที่ให้นักศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองนักศึกษาสามารถที่จะดำเนินการเองได้ที่บ้านตนเอง และเพื่อชะลอผลกระทบจากนักศึกษารักษาสถานภาพนักศึกษา รวมถึงให้นักศึกษามีเวลาในการแก้ปัญหาส่วนตัว และคณะสามารถหาวิธีการจัดการ 

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

สามารถที่จะแก้ปัญหาข้อพิพาทกับโรงพยาบาลแหล่งฝึกงาน  ลดปัญหาการขัดแย้ง และมีแนวคิดที่จะคัดกรองนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เพื่อประเมินความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการส่งนักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องส่วนตัวฝึกงาน   การเจรจากับโรงพยาบาลแหล่งฝึกงาน  การช่วยเหลือนักศึกษาเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม