KM Day 2021
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการ P2A Virtual Mobility
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เล่าเรื่อง: ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ จันทวงษ์โสผู้บันทึก: คณะกรรมการการจัดการความรู้
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
รองผู้อำนวยการ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ผู้สอน รายวิชา ICT302 Social and Professional Issues ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ
ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทางสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดตั้งโครงการ P2A Virtual Mobility โดยมีชื่อกิจกรรมว่า P2A English Community มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาของบัณฑิตไปสู่ระดับความเป็นสากล และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่นักศึกษาไทยและต่างประเทศ โดยการนำกิจกรรมดังกล่าว ไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ รูปแบบของกิจกรรมเป็นการเรียนรู้เสมือนจริงผ่านสื่อสังคม และโปรแกรม Zoom สามารถรองรับกลยุทธ์การศึกษารูปแบบ New Normal อาจารย์ผู้สอนเล็งเห็นประโยชน์ของกิจกรรมดังกล่าวที่มีต่อนักศึกษาจึงสอดแทรกกิจกรรมนี้ในการเรียนการสอนในรายวิชา ICT302 Social and Professional ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ
ความรู้เดิม
6.1 วิธีการและขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ
ตรวจสอบวัตถุประสงค์ หัวข้อและเนื้อหาแต่ละสัปดาห์ในมคอ.3 ของวิชารายวิชา ICT302 Social and Professional Issues ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ เพื่อให้สามารถนำกิจกรรม P2A English Community มาบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
สำรวจค่านิยมการใช้สื่อสังคมในแต่ละประเทศ พบว่าหลายประเทศนิยมใช้ Facebook ในการสร้างเครือข่าย จึงนำมาใช้เป็น Platform ในการจัดกิจกรรม P2A English Community
สร้าง Platform สำหรับการดำเนินกิจกรรมนี้ โดยสร้าง Facebook Group ชื่อว่า “P2A English Community” เป็นกลุ่มปิดและจำกัดปริมาณคนเข้าถึง เพื่อความสะดวกในสื่อสารและจัดกิจกรรมออนไลน์
ประสานงานเพื่อขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เป็นพันธมิตรของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่มีความสนใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ปรากฎว่ามี 2 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ คือ Universiti Malaya จากประเทศมาเลเซีย และ University of Economics and Law จากประเทศเวียดนาม
สร้างรูปแบบและแนวทางการจัดกิจกรรม โดยมหาวิทยาลัยทั้งสามเข้าร่วมประชุมและกำหนดเวลาในการดำเนินการกิจกรรม เป็นช่วงวันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 27 มกราคม 2564 และกำหนดกิจกรรมในหัวข้อ Jingle Bell เนื่องจากช่วงเวลาที่จัดกิจกรรมอยู่ในเทศกาลปีใหม่หรือคริสต์มาส มีแนวทางในการจัดกิจกรรมดังนี้
นักศึกษาจาก 3 ประเทศแนะนำตัวเอง และทำความรู้จักกัน ผ่าน Facebook Group
นักศึกษาจัดกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน สมาชิกในกลุ่มมาจากทั้ง 3 ประเทศ ร่วมกันทำกิจกรรมฉลองวันหยุดร่วมกับเพื่อนใหม่ โดยจัดทำผลงานที่แสดงความหมาย ความแตกต่างและความคล้ายคลึงทางด้านวัฒนธรรมคริสต์มาสและปีใหม่ของแต่ละประเทศ
กำหนดให้ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ประกอบด้วย 1) สมุดบันทึกแสดงการติดต่อประสานงานระหว่างสมาชิกในทีมและเทคนิคที่ใช้สำหรับการทำงานร่วมกัน และ 2) คลิปวิดีโอของกลุ่ม อย่างน้อย 1 นาที และสมาชิกทุกคนได้สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษในคลิปวิดีโอนั้น ที่แชร์ลงใน Facebook Group
ประเมินวัดผลการจัดกิจกรรม พบว่า อาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรเข้าร่วมกิจกรรมพึงพอใจในกิจกรรมนี้ และส่งผลให้มีกิจกรรมนี้ต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป
6.2 เทคนิค หรือกลยุทธ์ที่ใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือปลูกฝังวัฒนธรรม
การเลือก Platform สะดวก ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพ: Facebook Group ซึ่งเป็น Platform ที่ทั้ง 3 ประเทศคุ้นเคย มีเครื่องมือที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม เช่น เป็นช่องทางในการแนะนำตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรม, เป็นพื้นที่สำหรับการประชาสัมพันธ์ผลงาน, เป็นเครื่องมือในการสื่อสารทั้งระดับกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย และใช้โปรแกรม Zoom สำหรับจัดประชุมใหญ่ หรือสอนบรรยายวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
รูปแบบของกิจกรรมมีความเหมาะสม มีการทำงานเป็นกลุ่ม และให้ระยะเวลา ในการผลิตผลงานมีความเหมาะสมคือ 1 เดือน
6.3 การปรับประยุกต์ใช้
การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์การเรียนรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมข้ามประเทศได้ การเกิดสหวัฒนธรรมผ่านการจัดกิจกรรมเสมือนจริง ทดแทนการเดินทางไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศซึ่งปัจจุบันไม่สามารถทำได้ด้วยสถานการณ์ COVID-19
6.4 อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางแก้ไข
ปัญหาในการบริหารเวลา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ ซึ่งมีกำหนดการของการเรียนต่างกัน กิจกรรมระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 27 มกราคม 2564 ที่กำหนดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่อยู่นอกภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต แต่ก็ต้องกำหนดตามนี้เพื่อให้ตารางเวลาการทำกิจกรรมของทั้ง 3 ประเทศดำเนินการร่วมกันได้
ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปิดทำการเป็นในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ผู้ประสานงานวิชาและนักศึกษาต้องสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดผ่านเทคโนโลยีสื่อสาร นักศึกษาให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกคน
รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการออนไลน์ข้ามประเทศ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร จึงแก้ปัญหา โดยการเช่าสัญญาณอินเทอร์เน็ต 5G ในการดำเนินกิจกรรม ในการ Live แพร่ภาพ 120 คน ต่อ 3 ประเทศ
ความสามารถทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาทั้งสามประเทศที่ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม จึงแนะนำให้นักศึกษาใช้แอพพลิเคชั่นพจนานุกรม หรือแอพพลิเคชั่นแปลภาษา เช่น Google Translate เป็นเครื่องมือช่วยในการสื่อสาร
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
1.ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจากทั้ง 3 ประเทศที่เข้าร่วมผ่านวีดิโอคลิปของตัวแทนนักศึกษาแต่ละประเทศ
2.ผลประเมินรายวิชา ICT302 Social and Professional Issues ได้ 4.40 คะแนน
3.มหาวิทยาลัยพันธมิตรเห็นควรให้มีโครงการและกิจกรรมดังกล่าวเป็นประจำทุกปี
4.กิจกรรมนี้ตอบโจทย์ แผนยุทธศาสตร์ ด้านการต่างประเทศ Internationalization ในเรื่องของการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตไปสู่ความเป็นสากล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษของนักศึกษาและบุคลากร ในเรื่องของทักษะทางสังคม ได้แก่ การบริหารเวลา (Time Management) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) การสื่อสาร (Communication) การแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex Problem Solving) การคิดเชิงวิเคราะห์และเลือกตัดสินใจ (Critical Thinking and Decision-making ) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นต้น