KM Day 2021

ทักษะทางด้านดนตรี

วิทยาลัยดนตรี
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

การบันทึกเสียงและบันทึกวิดีทัศน์การแสดงคอนเสิร์ตวงทิพย์นรีกับสยามดุริยางค์เชมเบอร์วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่หอแสดงดนตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ของคณะวิชา: วิทย่าลัยดนตรี

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

ทักษะทางด้านดนตรี

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

นายศิริพงษ์ ทิพย์ธัญ อ.ประจำ วิทยาลัยดนตรี

2.3 ที่มาของความรู้
ประสบการณ์การทำงานทางด้านดนตรี
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

การใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรี ความรู้เรื่ององค์ประกอบทางเสียง ทักษะการเล่นดนตรี มาแสดงเป็นแบบอย่างให้กับผู้ที่ร่วมบรรเลงเพื่อทำให้ทิศทางการบรรเลงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้นยังได้นำทักษะที่เกิดจากการเล่นวงเชมเบอร์และวงออร์เคสตรามาใช้ในการฝึกซ้อมอาทิเช่นการกำหนดวิธีใช้คันชัก (Bowing) และการใช้นิ้ว (Fingering) เพื่อให้สามารถบรรเลงเพลงใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครนำออกแสดงมาก่อนและมีความยากในการบรรเลงทั้งทางด้านเทคนิคการบรรเลงของแต่ละเครื่องดนตรีและการผสมผสานแนวเครื่องดนตรีให้เข้ากันจนถึงระดับที่ผู้ประพันธ์เพลง (ศ. ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร) พอใจและภูมิใจที่บทเพลงประสบความสำเร็จในการออกแสดงต่อสาธารณะชนและการบันทึกเสียงเพื่อเป็นองค์ประกอบหลักในงานวิจัยของผู้ประพันธ์

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

คอนเสิร์ตวงทิพย์นรีและสยามดุริยางค์เชมเบอร์ได้ถูกบันทึกวิดีทัศน์เพื่อถ่ายทอดสดแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านทางรายการที่มีชื่อว่าจุฬาวาฑิต ช่อง CU Art Culture ทางยูทูบในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผู้รับชมสดประมาณเก้าร้อยห้าสิบคนในขณะนั้นซึ่งได้รับความชื่นชอบจากผู้ฟังเป็นอย่างดี นอกจากนั้นในบทเพลงแฟนทาซี จันทราหู-สุรินทราหูซึ่งได้มีการบันทึกเสียงหนึ่งวันล่วงหน้าเพื่อใช้ประกอบงานวิจัยของศ.ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตรและนำมาออกแสดงสด ณ วันแสดงคอนเสิร์ตก็ได้รับคำชมทั้งจากตัวผู้ประพันธ์เองและผู้ฟังทางไลฟ์สตรีมมิ่งเป็นอย่างมาก

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอวิธีการบรรเลงในรูปแบบผสมผสานระหว่างดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย การบรรเลงร่วมกับคลาริเน็ตในรูปแบบดนตรีเชมเบอร์ การบรรเลงท่วงทำนองเพลงไทยเดิมโดยเครื่องดนตรีไวโอลิน การเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะของดนตรีไทยเดิมและนำมาประยุกต์ใช้ในการบรรเลง นอกจากนั้นผู้เล่ายังได้ร่วมงานและช่วยเหลือในด้านการปรับจูนเสียงกับผู้บันทึกเสียงให้มีคุณภาพการบันทึกเสียงสูงสุดและสมบูรณืที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีประโยขน์กับผู้เล่าเป็นอย่างมากเพราะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับการปรับแต่งเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆให้ออกมาไพเราะที่สุดและเข้ากันที่สุดในกาบรรเลงรูปแบบวงเชมเบอร์ซึ่งถือเป็นรูปแบบการบรรเลงดนตรีตะวันตกขั้นสูงที่สุดในการรวมวงเล่นด้วยกัน