KM Day 2021

การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ หัวข้อ 'Green spirit'

วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย
ผู้บันทึก: ผศ.ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

บทบาทในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรมัลติมีเดีย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมี

หน้าที่ด้านการบริหารหลักสูตรในตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชามัลติมีเดีย และ รับผิดชอบการสอนในรายวิชา

เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ การออกแบบ และผลิตสื่อด้านมัลติมีเดีย

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

ด้วยเครือข่ายนิเทศศาสตร์ จัดนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติในหัวข้อ 'Green spirit'                                                                                ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2561 ได้เชิญชวนผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวดเพื่อคัดเลือกผลงานนำไปจัดแสดง ในการนี้ผู้เล่าเรื่องได้ส่งผลงานภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดและได้รับคัดเลือกให้แสดงในนิทรรศการในครั้งนี้ โดยผู้เล่าเรื่องจะขออรัมภบทถึงความเป็นมาของแนวคิดการสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้ชื่อ 'โปรยบินอย่าอิสระ (fly freely) พอสังเขป

กลไกลในการสร้าง 'จิตตระหนัก รักษ์สิ่งแวดล้อม' ที่ยอมรับกันว่าสามารถสร้างความคงทนและอยู่ได้นานในจิตของมนุษย์ คือการสร้างให้เกิด 'ความตระหนักในสิ่งแวดล้อม' ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานทางด้านจิตใจให้เกิดจิตใต้สำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะความตระหนักเป็นการระลึกรู้ที่อยู่ใต้จิตสำนึกตลอดเวลา ซึ่งเมื่อมีจิตใต้สำนึกแล้วหากประสบปัญหาหรือพบเจอเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะระลึกรู้ได้จากจิตใตสำนึกและทำให้เห็นภาพของเรื่องราวหรือประเด็นที่ประสบปัญหาได้อย่าชัดเจน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในภาวะใดก็ตามความสำนึกที่ฝังลึกและถูกต้องจะไม่เปลี่ยนแปลง เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม รู้ว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

อนึ่งหากต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การกระทำ ความเชื่อหรือความคิด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในด้านการตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อม ความเริ่มต้นจากการสร้างจิตใต้สำนึกให้เกิดขึ้นภายในจิตใจเป็นอันดับแรก

การสร้างจิตตระหนัก รักษ์สิ่งแวดล้อม กระบวนการที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การกระทำ ความเชื่อหรือความคิด คือการสร้างสรรค์สื่อเพื่อสะท้อนแนวคิด มุมมอง เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสื่อสารการตระหนักรับรู้ให้เกิดขึ้นภายในจิตใต้สำนึก โดยให้สื่อทำหน้าที่ในการถ่านทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริงความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด ส่งผ่านไปยังผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดความรู้สึก และความเข้าใจที่ตรงกัน

ภาพถ่ายเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายนทอดเรื่องราว

ความคิด ภาพถ่ายจึงเป็นช่องทางหนึ่งในการนำมาใช้ในการสื่อสารความหมาบ ดังนั้นการสื่อความหมายด้วย

ภาพถ่าย จึงเป็นการสื่อสารเนื้อหา เรื่องราว เหตุการณ์ สถานที่ ช่วงเวลา หรือความหมายไปยังผู้รับสารให้เกิด

การรับรู้ด้วยการสัมผัสทางสายตา การสื่อสารด้วยภาพจึงเป็นวิธีการแสดงออกทางความคิดที่ง่าย ตรงไปตรงมา

เนื่องจากความสามารถในการจำลองสิ่งที่พบเห็นมาใช้ในการถ่ายทอดได้ดี และภาพถ่ายยังเป็นสื่อที่ช่วยสร้าง

ความสนใจ การตีความหมาย การจดจำเนื้อหา เรื่องราว และยังช่วยในการถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรม

ออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

การสื่อความหมายผ่านภาพถ่าย เป็นการสื่อสารความคิดคำนึงที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ผ่าน

ตัวกลางภาษาภาพไปยังผู้ที่ต้องการสื่อสารด้วย ภาษาภาพจึงเป็นภาษาเชิงสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็น

เครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด สร้างปฏิสัมพันธ์ และความเข้าใจระหว่าง

กัน ภาษาภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเป็นสัญลักษณ์แสดงความเหนือกว่าบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ใน

ฐานะของมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมสามารถเรียรู้ เข่าใจทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้ผ่านระบบภาษา

ภาพถ่ายเข้ามามีบมบาทในวิถีชีวิต ภาพถ่ายจึงเปรียบเสมือนสาร (message) ที่ผู้ส่งสาร (sender)

ส่งออกไปยังผู้รับสาร (receiver) นอกจากนี้ภาพถ่ายยังเป็นสื่อกลาง (medium) หรือช่องทาง (channel) ให้ผู้

ส่งสารนำพาสาร เรื่องราว ความคิดไปยังผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ภาพถ่ายเป็นสื่อที่สำคัญในการบันทึก

เหตุการณ์ ความทรงจำ การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยมในลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งวิถีแห่งการสร้างสรรค์

ทางความคิด ประสบการณ์ จินตนาการ เพื่อก่อให้เกิดสิ่งใหม่ในการจรรโลงใจให้ผู้ดู ผ่านการนำเสนอมุมมอง

ทางความคิดในการสะท้อนให้รับรู้ถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมที่เราดำรงวิถีชีวิตอยู่

จากที่มาของแนวคิดที่ได้อรัมภบทมาของผู้เล่าเรื่อง จึงเกิดแรงปรารถนาที่จะถ่ายทอดความคิด

มุมมอง สะท้อนให้เห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม โดยการ

สร้างสรรค์ภาพถ่ายเป็นสื่อกลางหรือช่องทางในการส่งผ่านความคิด มุมมองต่อสิ่งแวดล้อมไปยังกลุ่มเป้าหมาย

ให้เกิดความคิดคำนึงต่อการตระหนักรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นภายในจิตใต้สำนึก และต้องการขับเคลื่อนให้

เกิดความร่วมมือในการทำให้สิ่งแวดล้อมดำรงคงอยู่เพื่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป

ความรู้เดิม

6.1 ศึกษารวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ภาพถ่าย

ผู้เล่าเรื่อง ได้ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการกำหนดแนวทางในการสร้างสรรค์ ได้แก่

1) แนวคิดศิลปะภาพถ่าย 2) แนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะ 3) แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ 4) แนวคิดการถ่ายภาพแนว Street photography และ 5) ทฤษฎีเกสตัลท์ในการถ่ายภาพแนว Street photography

6.2 แนวคิดการสร้างสรรค์ภาพถ่าย

ผลจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้เล่าเรื่องกำหนดแนวคิดการสร้างสรรค์ภาพถ่าย

ได้แก่ แนคิดการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ และขั้นตอนการสร้างสรรค์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) แนวคิดหลัก (main idea) คือ 'ทุกสรรพสิ่งที่มีชีวิตล้วนพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกัน'

2) การพัฒนาแนวคิดหลัก

ผู้เล่าเรื่อง นำแนวคิดหลักมาเป็นหัวใจหลักของการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว street

photography โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราว (content) จากการเพ่งพินิจพิเคราะห์ต่อสรรพสิ่งที่มีชีวิตกระทำ

ต่อกัน โดยค้นหาความมหัศจรรย์ของสรรพสิ่งที่มีชีวิตเชื่อมโยงสัมพันธ์ โดยไม่มีการจัดฉากเหตุการณ์ เป็นการ

สร้างสรรค์ผ่านมุมมอง แรงบันดาลใจ จินตนาการ และความคิดคำนึง ของผู้เล่าเรื่อง

6.3 กระบวนสร้างสรรค์

ผู้เล่าเรื่อง กำหนดขั้นตอนการสร้างสรรค์ภาพถ่ายไว้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ จุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจ

จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

6.3.1 จุดเริ่มต้น เครือข่ายนิเทศศาสตร์ จัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติ ในหัวข้อ 'จิตตระหนัก

รักษ์สิ่งแวดล้อม' (green spirit) โดยผู้เล่าเรื่องมีความสนใจต่อประเด็นการสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์สิ่งแวดล้อม

6.3.2 แรงบันดาลใจ บรรดาสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่อยู่แวดล้อมตัวมนุษย์ ต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์พึ่งพา

อาศัยซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น การดำรงวิถีชีวิตของมนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาสรรพสิ่งต่าง ๆ ในการดำรงวิถี

ชีวิตสรรพสิ่งที่อยู่แวดล้อมตัวมนุษย์จึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

6.3.3 จินตนาการ ผู้เล่าเรื่อง นำแนวคิดหลัก มาเป็นประเด็นหลักในการคิดใคร่ครวญคันหาภาพที่

เกิดขึ้นภายในจิตใต้สำนึกที่มีต่อสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่อยู่แวดล้อม ภาพที่ปรากฎและสามารถนำเสนอให้เห็นเป็น

รูปธรรมที่เด่นชัด คือ 'สรรพสิ่งที่มีชีวิต แตกต่างกัน มีการแบ่งปัน เกื้อกูล และอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวสัมพันธ์' โดยสะท้อนความหมายถึง 'โลกสวย'

6.3.4 ความคิดสร้างสรรค์ ผู้เล่าเรื่อง กำหนดขั้นตอนการสร้างสรรค์ภาพถ่าย ได้แก่ การกำหนด

โจทย์การสร้างสรรค์ และการพัฒนาโจทย์การสร้างสรรค์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) การกำหนดโจทย์การสร้างสรรค์

Background: กลุ่มเครือข่ายนิเทศศาสตร์จัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติ 'จิตตระหรัก

รักษ์สิ่งแวดล้อม' เพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม

Objective communication: 1 เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม

และ 2) เพื่อสร้างสรรค์ภาพถ่ายในการปลูกจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม

Target audience: อายุ 13-23 ปี มีรักใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

What to say concept: การให้และการแบ่งปัน สร้างสรรค์ให้โลกสวย

Mood and tone: สงบนิ่ง ธรรมชาติ

2) การพัฒนาโจทย์การสร้างสรรค์

(1) สถานที่ เลือกสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนตากอากาศธรรมชาติทางทะเลด้านอ่าวไทย

ตั้งอยู่ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีจุดเด่น คือ เป็นสถานที่ชมนกและพระอาทิตย์

ตกบนสะพานสุขตา โดยมีเรื่องราวที่น่าสนใจของสถานที่แห่งนี้ คือ การให้อาหารนกนางนวลที่อพยพหนีหนาว

มาจากที่ราบสูงแถบทิเบต คาจิกิสถาน จีนตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ช่วงระหว่างเดือน

พฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน บริเวณสะพานสุขตาช่วงเวลายามเย็นจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มาชื่นชมธรรมชาติ

และความน่ารักของนกนางนวล อาหารที่ให้นกนางนวล คือ มันไก่ทอด และกากหมู ส่วนวิธีการให้อาหารโดยการโยนให้นกนางนวลบินโฉบมากินกลางอากาศ ซึ้งเหตุเหล่านี้สื่อความหมายถึงการให้และการแบ่งปัน ที่เกื้อกูลต่อกันทั้งผู้ที่ให้อาหารและนกนางนวลที่เป็นผู้รับ ผู้ให้จะได้รับความสุขทางใจที่ได้เห็นการโบยบินอย่างอิสระนั้นกลับมา ส่วนนกนางนวลที่เป็นผู้รับก็ได้อาหารและความเป็นธรรมชาติที่เป็นความงามที่เกิดขึ้นในใจผู้ให้

(2) การสื่อความหมาย ผู้เล่าเรื่อง นำแนวคิด 'การให้และการแบ่งปัน สร้างสรรค์โลก

สวย' เป็นประเด็นสำคัญในการสื่อสารสร้างจิตสำนึกไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ เนื้อหา(content) และ รูปทรง (form)     โดยสาระสำคัญ ดังนี้

เนื้อหา (content) ผู้เล่าเรื่อง กำหนดเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายให้รับรู้ถึง

ความงามที่ก่อตัวขึ้นเป็นธรรมชาตินั่นเกิดจากสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่ให้และแบ่งปันซึ่งกันและกัน การให้เป็นเรื่องของ 'จิตใจ' ซึ่งไม่ใช่เรื่องของสิ่งของหรือวัตถุ สิ่งของหรือวัตถุเป็นเพียงสื่อที่นำพาไปสู่ความรู้สึกทางจิตใจทั้งของผู้ให้และผู้รับรูปทรง (form) นำแนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะมาหลอมรวมเพื่อประกอบสร้างความหมายตามประเด็นเนื้อหาที่กำหนดไว้ ดังนี้

ก. การจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะ (composition art) ในแบบเอกภาพ (unity)

โดยให้เนื้อหาและรูปทรงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของส่วนประกอบ

ข. เส้นนำสายตา (line) วางเส้นที่เกิดขึ้นจริง (actual line) เพื่อนำสายตาผู้ดูไปสู่จุดเด่นในภาพ เป็นเส้นจริงที่เกิดจากการลากเส้นโยงในความคิด ความรู้สึก

6.4 ขั้นตอนการสร้างสรรค์

1) สำรวจสถานที่ โดยการนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้

และเตรียมพร้อมบันทึกภาพเหตุการณ์นั้น 1 โดยที่ภาพเหตุการณ์จะต้องปราศจากการจัดฉากหรือการปรุงแต่งใด ๆ เพียงแต่การเฝ้ารอจังหวะให้เหตุการณ์นั้นดำเนินเรื่องราวของมันไป

2) เลือกฉากหลัง ค้นหาฉากหลังเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่ต้องการสื่อความหมาย ระหว่างนั้น

เตรียมอุปกรณ์กล้อง เลนส์ ปรับตั้งค่าโหมด รูรับแสง สปีดชัตเตอร์ ความยาวโฟกัส ให้มีความพร้อม จากนั้นเฝ้ารอปรากฏการณ์

3) บันทึกภาพ อดทนรอจน subject ที่ต้องการปรากฎตามตำแหน่งขององค์ประกอบภาพที่คิดคำนึงไว้ แล้วลงมือกดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

7.1 ผลงานการสร้างสรรค์ภาพถ่าย

ชื่อผลงาน: โปรยบินอย่างอิสระ (Fly freely)

7.2 องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการสร้างสรรค์ภาพถ่าย

ผู้เล่าเรื่อง สรุปข้อค้นพบองค์ความรู้ใหม่ของการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว street photography

โดยสาระสำคัญ ดังนี้

1) การถ่ายภาพ (photography) เป็นสื่อที่บันทึกเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ณ ช่วงเวลาใดเวลา

หนึ่ง อันเป็นผลมาจากอารมณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ที่มาจากความคิดคำนึงภายในจิตใจ ภาพถ่ายจึงเป็น

ผลงานศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอดวิธีคิด มุมมอง และโลกทัศน์ของตนเองที่มีต่อเรื่อง ราวหรือ

เหตุการณ์นั้นที่ตนเองประทับใจ ภาพถ่ายจึงเป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้สร้างสรรค์กับผู้เสพย์

โดยผู้สร้างต้องการแสดงออกซึงความคิดคำนึง ความต้องการ ความปรารถนา ความรู้สึก ปัญญา และ

ประสบการณ์ ไปยังผู้รับสารในฐานผู้เสพย์ศิลปะ

2) การถ่ายภาพแนว street photography ควรวางแผนเลือกสถานที่และนำตัวเองเข้าไปใน

สถานที่ที่เลือกสรรในการสร้างเรื่องราว รอคอยเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงและเตรียมพร้อมที่จะบันทึกภาพ

เหตุการณ์นั้น ๆ โดยที่ภาพเหตุการณ์นั้นจะต้องปราศจากการจัดฉากหรือการปรุงแต่งใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นโดย

ธรรมชาติหรือความเป็นไปของเหตุการณ์ เพียงแต่ต้องอดทนรอจังหวะ

3) ฉากพื้นหลัง ควรมองหาฉากพื้นหลังที่น่าสนใจเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์เรื่องราว จากนั้น

เฝ้ารอปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับพื้นฉากหลัง ที่กำหนดเป็นกรอบไว้ แล้วจึงกดชัตเตอร์บันทึกภาพให้ทันต่อปรากฏการณ์นั้น

4) แสงและเงา เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญต่อการสร้างสรรค์ภาพถ่าย เป็นรากฐานที่ทำให้

เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิธีคิด มุมมอง ที่ต้องการอธิบายความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงหลอมรวม

ภายในองค์ประกอบของภาพถ่าย เป็นภาษาศิลปะที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย

5) เทคนิคการใช้กล้องและอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว

street photography เพราะการถ่ายภาพแนวนี้เป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เสี้ยวเวลาใดเวลาหนึ่ง การมีเทคนิคพื้นฐานที่ดีจะช่วยให้สร้างสรรค์ภาพถ่ายได้ตรงตาใจปรารถนา

6) จินตนาการและการคาดเดา จะต้องตื่นตัวตลอดเวลากับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตรงหน้า และ

จะต้องระลึกถึงมุมภาพ ขนาดภาพ หรือองค์ประกอบของภาพ ไว้ล่วงหน้าเสมอ