KM Day 2021

การเป็นจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมธรรมาธิปไตย ในเรื่อง “การจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้าในสังคม”

สถาบันเศรษฐศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
ผู้บันทึก: อ.อรอนงค์ นิธิภาคย์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ มีหน้าที่เป็นอนุกรรมการ ในอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารประกันสังคม ส่วน อ.อรอนงค์ นิธิภาคย์ เป็นผู้ช่วยอนุกรรมการ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

ในสังคมทุนนิยม “ทุน” นับเป็นปัจจัยการผลิตสาคัญในการสร้างความมั่งคั่งและพลังอานาจ ผู้ใดได้ครอบครองทุนก็มีโอกาสสร้างความและมีอานาจที่จะเข้าถึงสิ่งที่ตนปรารถนา แต่ในสังคมทุนนิยม คนกลุ่ร่ารวยมหลัก คือ แรงงาน ซึ่งในความคุ้นชินของคนไทย ก็หมายถึง ลูกจ้าง หรือคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน คนเหล่านี้ครอบครองปัจจัยการผลิตหลักเพียงอย่างเดียว คือ แรงงาน คนเหล่านี้จึงขายแรงงาน แลกค่าจ้าง เพื่อใช้ดารงชีพ แรงงานที่เป็นคนงานคอปกน้าเงิน (คนงานที่ใช้แรงกายเป็นหลัก) มีโอกาสน้อยมากหรือแทบไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงทุน คนงานเหล่านี้การศึกษาน้อย ทางานหนัก รายได้ต่า จมปลักอยู่กับความยากจน หากจะเข้าถึงทุน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เงินกู้” ก็ต้องเผชิญกับดอกเบี้ยแพง 10 – 20%/ต่อเดือน ผ่อนชาระเท่าใดก็จ่ายได้แค่ดอกเบี้ย เงินต้นไม่ลด
เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2564 มีข่าวว่า นายทุนจีนได้จัดตั้งบริษัทเถื่อนในการปล่อยกู้ผ่านแอฟพลิเคชั่น กู้ 2,000 บาท หักดอกเบี้ยล่วงหน้า 700 บาท ได้เงินไปเพียง 1,300 บาท หรือคิดเป็นดอกเบี้ยร้อยละ 35 ต่อเดือน คนงานที่กู้เงินจากแหล่งเหล่านี้นอกจะตกอยู่ในกับดักความยากจนแล้วยังตกอยู่ในวังวนของหนี้สิน ไม่สามารถหลุดออกมีอิสรภาพทางการเงินได้ อีกทั้งยังถูกคุกคามจากการทวงหนี้โหด
ขณะที่เกษตรกร เป็นกลุ่มคนยากจนมากเช่นกัน แต่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนได้มากกว่า เพราะรัฐบาลให้การสนับสนุนช่วยเหลือ เกษตรกรมีแหล่งทุนทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มี
กองทุนหมู่บ้าน และมีสหกรณ์การเกษตรฯลฯ จึงทาให้เกษตรกรมีหนี้นอกระบบน้อยกว่า ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ ดอกเบี้ยไม่แพงนัก
อย่างไรก็ดี คนงานที่เข้าระบบประกันสังคม ได้มีกฎหมายบังคับออมเงินไว้ในกองทุนประกันสังคม สะสมไว้จานวนมากจนปัจจุบันเงินกองทุนประกันสังคมมีมากถึง 2.2 ล้านล้านบาท ปรากฏว่า เงินเหล่านี้คนงานจะได้ใช้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุพลภาพ สงเคราะห์บุตร และว่างงาน แต่ไม่สามารถนามาใช้เป็นทุนเพื่อสร้างความงอกเงยให้แก่รายได้หรือทางเลือกในการประกอบอาชีพ หรือลดเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่มีเหตุปัญหามาจากการะบาดของโควิด-19 คนงานก็ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนใดได้แม้แต่เงินกองทุนประกันสังคมที่ตามกฎหมายเป็นเงินของผู้ประกันตนทุกคน แต่อีกด้านหนึ่ง พบว่า เงินกองทุนประกันสังคม 70% ถูกรัฐบาลยืมไปใช้โดยการออกพันธบัตร ซึ่งไม่มีข้อมูลชัดเจนว่านาไปใช้อะไรบ้าง อีก 40% นาไปซื้อหุ้น ซื้อหุ้นกู้ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ แต่คนงานกลับไม่มีสิทธิที่จะกู้ยืมกองทุนนี้
ดังนั้น จากเหตุปัจจัยเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของแนวคิด “การสร้างธนาคารแรงงาน” ด้วยการใช้เงินกองทุนประกันสังคมเป็นฐานในการสร้างทุนให้แก่คนงาน เพื่อให้คนงานเข้าถึงแหล่งทุนเช่นเดียวกับเกษตรกรที่มีธนาคาร ธกส. หรือนายทุนที่เข้าแหล่งทุนได้ทั้งธนาคารพาณิชย์และในตลาดหลักทรัพย์

ความรู้เดิม

ความรู้หรือแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์การเมืองที่ใช้ในการดาเนินงานขับเคลื่อนการจัดตั้งธนาคารแรงงาน คือ “แนวคิดทุนมวลชน” คือ เป็นทุนที่มวลชนเป็นเจ้าของ ใช้ประโยชน์เพื่อมวลชน และผลประโยชน์ตกอยู่กับมวลชน เงินกองทุนประกันสังคม เป็นเงินที่ลูกจ้างเป็นเจ้าของ ดังนั้น จะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้เจ้าของทุนก้อนนี้มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ และมีสิทธิได้รับประโยชน์จากเงินก้อนนี้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ขั้นตอนดาเนินงาน
1. ศึกษารูปแบบการจัดตั้งทุนมวลชนจากประสบการณ์ของประเทศต่างๆ เช่น กรามีนแบงค์ของบังคลาเทศ ธนาคารแรงงานของญี่ปุ่น ธนาคารสหกรณ์ในเยอรมัน ราโบแบงค์ของเนเธอร์แลนด์ เป็นธนาคารเกษตรที่มีเกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้น 99% 2. ยกร่างแนวคิดและรูปแบบธนาคารแรงงานที่ใช้ฐานเงินทุนจากประกันสังคม (ตามแผนภาพ) โดยใช้แนวคิด “การใช้หนี้พัฒนาคน” และรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ และผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย ซึ่งผู้จะเสียประโยชน์หากธนาคารแรงงานเกิดขึ้น ก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จึงเป็นกลุ่มหลักที่ขัดขวางการเกิดขึ้นของธนาคารแรงงาน
3. เผยแพร่แนวคิดและรูปแบบธนาคารแรงงานสู่สาธารณะ และลงสู่คนงานฐานราก ผ่านสหภาพแรงงาน กลุ่มและองค์กรแรงงาน เครือข่ายผู้ประกันตน และเครือข่ายทางสังคมอื่นๆ
4. การขับเคลื่อนทางกฎหมายในรัฐสภา จนกระทั่ง ธนาคารแรงงานได้ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 289 ที่ระบุว่า "ให้มีการจัดตั้งธนาคารแรงงาน" (แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกไป)
5. ปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ความตกต่าทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 และคนงานอยู่ในภาวะยากลาบาก บางส่วนตกงาน บางส่วนโดนลดค่าจ้าง บางส่วนหยุดงานไม่ได้ค่าจ้าง จึงเป็นตัวกระตุ้นให้สานักงานประกันสังคม มีแนวคิดที่จะใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในยามวิกฤติ โดยทางสานักงานประกันสังคมได้เชิญ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ให้เข้าร่วมในการนาเสนอเรื่อง "ธนาคารแรงงาน" เพื่อนาเงินกองทุนประสังคมมาใช้เพื่อคนงาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการยกร่างรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อเสนอต่อไปยังคณะกรรมการประกันสังคม และรัฐมนตรีแรงงานต่อไป

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

7.1 ทาให้คนงานยากจนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ที่ตนเองเป็นเจ้าของ
7.2 การเข้าถึงแหล่งทุน เป็นการเปิดโอกาสให้คนมีทางเลือกในอาชีพและรายได้
7.3 ทาให้คนงานสามารถปลดเปลื้องพันธนาการของดอกเบี้ยนอกระบบอัตราสูง
7.4 ทาให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ที่ทาให้คนเล็กคนน้อยมีโอกาสมีสิทธิทางเศรษฐกิจมากขึ้น
7.5 เป็นทางเลือกในเชิงนโยบาย ในการสร้างสถาบันทุนให้แก่คนจน คนเล็กคนน้อย ที่มิใช่รูปแบบธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว
7.6 เป็นการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้าในสังคม