KM Day 2021

การพัฒนาระบบการจัดการคลินิกทัศนมาตรศาสตร์

คณะทัศนมาตรศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: อาจารย์เอกชัย โภไคศสวรรค์
ผู้บันทึก: -
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

อาจารย์ประจำคณะทัศนมาตรศาสตร์ รับผิดชอบงานสอนและเป็นอาจารย์ผู้จัดการดูแลคลินิกทัศนมาตรศาสตร์ในส่วนของร้านแว่นทัศนมาตร โดยนอกเหนือจากงานสอน มีหน้าที่ในการจัดการคลินิก ดูแลการนัดผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจกับนักศึกษา การลงทะเบียนจนถึงผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ ดูแลเรื่องการจ่ายเลนส์และกรอบแว่นตาให้กับผู้ป่วย ควบคุมดูแลนักศึกษาในส่วนของการฟิตติ้งแว่นตาให้กับผู้ป่วย ดูแลขั้นตอนการตัดเลนส์ของนักศึกษา การจัดเก็บแว่นตา Stock สินค้าในร้านแว่น การทำบัญชีรายรับรายจ่าย รวมถึง การจ่ายแว่นตาให้กับผู้ป่วยและทำแบบประเมินผลความพึงพอใจ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

ระบบการจัดการคลินิกทัศนมาตรศาสตร์ ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการทางคลินิก โดยนำความรู้และทักษะทางการปฏิบัติการ มาใช้ตรวจกับผู้ป่วยจริง โดยนักศึกษาจะต้องเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจ การจัดการคลินิก การเลือกจ่ายเลนส์ การจัดการร้านแว่น การจัดการกับผู้ป่วยที่ต้องเจอในร้านแว่น รวมถึงการดูแลและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยหรือผู้ที่มาเข้ารับการบริการ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ความรู้เดิม

จากระบบการจัดการทางคลินิก ที่ได้ดำเนินการโดยมีการทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มาเข้ารับการบริการการตรวจสายตาและสุขภาพตาของนักศึกษา ทางคณะพบว่าผลของการประเมิน เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาคณะเป็นอย่างมาก โดยผู้มีส่วนร่วมคืออาจารย์และนักศึกษาต่างได้เรียนรู้ข้อบกพร่องและมีการวางแผนเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดการคลินิกต่อไป โดยอุปสรรคที่พบคือ

เรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ ที่อาจารย์ผู้ตรวจในบางฐานไม่เพียงพอ จึงทำให้ผู้ป่วยที่มารับบริการต้อง

รอนานหรือในบางกรณี ต้องมาเข้ารับการตรวจซ้ำในวันอื่นอีกครั้งเพื่อให้นักศึกษาสามารถเก็บเคสได้ครบ

เนื่องจากนักศึกษาที่ขึ้นคลินิกในปีการศึกษานี้ มีจำนวนมากกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมาถึง 2 เท่า ทำให้

ผู้ป่วยที่มาเข้ารับการบริการมีจำนวนมากขึ้นไปด้วย ปัญหาที่เกิดคือ การดูแลผู้ป่วยทุกท่านได้อย่าง

ไม่เต็มประสิทธิภาพ และการจัดการคลินิกร้านแว่นในเรื่องของกรอบแว่นตา เลนส์ และการจัดการบัญชี

ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มาเข้ารับการบริการ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของระยะเวลาการตรวจ

นักศึกษาผู้ตรวจ อาจารย์ผู้ควบคุมในฐานต่างๆ และในส่วนของผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการด้วยโดยผลคะแนนส่วนมากค่อนข้างเป็นที่น่าพึงพอใจแต่ในส่วนของคะแนนที่ไม่พึงพอใจเมื่อมีการตรวจเช็ค พบว่าผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้า และต้องใช้ยาอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ทราบว่าการจัดการแม้ทำได้ดีเพียงใด

จากปัญหาที่พบทางคณะได้วางแผนการเปิดรับตำแหน่งอาจารย์มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระงานของอาจารย์คลินิก

ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านระยะเวลาที่ใช้กับผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการ และ ช่วยควบคุมดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ปัญหาเรื่องความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการบริการ สิ่งที่ทำได้คือการพัฒนาการบริการของตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ ได้นำประสบการณ์ที่ได้จากการจัดการคลินิกในด้านต่างๆ มาพัฒนาระบบการจัดการทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบบประเมินความพึงพอใจเป็นข้อมูลที่สำคัญมากของการพัฒนาการจัดการคลินิกในด้านต่างๆ ซึ่งทางคณะได้เรียนรู้และวางแผนการจัดการ ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยให้เกิดความพึงพอใจทุกคน ได้เรียนรู้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า เราอยากจะให้ทุกคนบนโลกชอบเรา เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งตรงกับการดูแลผู้ป่วยให้     พึงพอใจทั้งหมดทุกคน ย่อมเป็นไปไม่ได้ เป็นธรรมดาของโลก สิ่งที่ทำได้คือการพัฒนาการจัดการทางคลินิกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป พัฒนาที่ตัวเอง โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น ถ้าได้รับคำชมก็ให้รับมาและนำไปพัฒนาต่อไป ถ้าได้คำติก็ให้รับมาและนำไปพัฒนาต่อไปเช่นกัน สิ่งใดที่ปล่อยวางได้ให้ปล่อยและอย่าเอามาเก็บเพื่อให้เป็นตัวถ่วงจิตใจและเป้าหมาย     และจดจ่ออยู่กับการพัฒนาที่ตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไป