KM Day 2021

ENG4FUN สอนภาษาน้องๆ เครือข่ายโรงเรียนในหลักหก

วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้เล่าเรื่อง: อาจารย์อำพร พัวประดิษฐ์
ผู้บันทึก: อาจารย์อำพร พัวประดิษฐ์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

เป็นผู้สอนและสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา 6 สาขาใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

นักศึกษาหลากหลายเช่ื้อชาติจากเอเซีย ยุโรป และแอฟริกา ได้ตระหนักและเข้าใจในปัญหาสังคม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านกิจกรรม ENG4FUN โดยการเป็มทีมอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนชั้น ป.3 ป.4 และ ป.5 ในโรงเรียนวัดรังสิต ซึ่งในชีวิตของนักเรียนเหล่านี้แทบไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติ เนื่องจากทางโรงเรียนขาดงบประมาณ นักเรียนมีความสุขและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษและต่อครูชาวต่างชาติ ยอมรับว่าทุกคนเหมือนกับต่างกันที่เชื้อชาติและภาษา นักเรียนมีทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มเด็กพิเศษเรียนร่วมห้องเดียวกัน กิจกรรมจึงท้าทายนักศึกษาผู้สอนแบบ "No on left behind" ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นักเรียนกล้าแสดงออกกับนักศึกษาต่างชาติและมีการตอบสนองดีและสนุกสนานในชั้นเรียน ซึ่งโดยปกติครูประจำชั่้นบอกว่าจะนั่งนิ่งเงียบเวลาเรียนภาษาอังกฤษ

 

มหาวิทยาลัยรังสิตร่วมกับจังหวัดปทุมธานีในโครงการต้นแบบ "พลิกโฉมตำบลหลักหก" เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้การบูรณาการการเรียนการกสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นเติบโต่อย่างยั่งยืน

วิทยาลัยนานาชาติได้ใช้ศักยภาพ ความเป็นพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาแบ่งปันความรู้เพื่อพัฒนาชุมชน โดยสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดรังสิต

ความรู้เดิม

-กิจกรรมต้องใช้สรรพกำลังสนับสนุนจากหลายฝ่าย โดยรองคณบดีทั้ง 3 ฝ่ายในการเป็น Supervisor ของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม รวมทั้งร่วมเดินทางไปสำรวจสถานที่และประชุมร่วมกันกับผู้บริหารของโรงเรียน ทำให้ได้รับคำชมเชยจากผู้อำนวยการของโรงเรียนในด้านการประสานงานได้ดี มีประสิทธิภาพ และคณบดีให้แนวทางในการทำในประเมินที่ชัดเจนผลออกมาจับต้องได้แบบ OKR

-การคัดเลือกสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาอาสาสมัคร ทำโดยให้นักศึกษาทุกคนส่ง VDO Clip แสดงวิธีการสอนหรือเล่นเกมส์ โดยอาจารย์จะช่วยกันแยกคนให้เหมาะสมและสมดุลกันในกลุ่ม ปัจจัยข้อนี้ถือได้ว่าสำคัญเพราะนักศึกษที่มีภาวะผู้นำเข้มแข็ง จะเป็นผู้นำทีมได้มีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างให้นักศึกษาคนอื่นๆ ในกลุ่ม

-นักศึกษาต้องเรียนรู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเองในกรณีนักเรียนไม่มีการตอบสนอง นั่งนิ่ง ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการสอนใหม่ เป็นเกมส์ที่มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

-ครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชาอยู่ในห้องตลอดเวลา เพื่อสังเกตพฤติกรรมการสอนและพฤติกรรมของเด็กที่เปลี่ยนไปและให้ Feedback แก่นักศึกษาและ Supervisor เพื่อแก้ไขได้ทันท่วงทีในชั่วโมงถัดไปหรือในวันต่อมา

ปัญหาและอุปสรรค

-อุปกรณ์การสอนของโรงเรียนขัดข้องแช่น ไมโครโฟนไม่ดัง

-สภาพอากาศที่ร้อน

-ต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากโควิด

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

-การจัดกิจกรรมนักศึกษาและการบริการวิชาการ หากต้องการความต่อเนื่องและประสิทธิภาพ และมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัดด้านงบประมาณ ควรคำนึงถึงสถานที่และลักษณะกิจกรรมที่เอื้อต่อสถานการณ์และคำนึงถึงความต้องการของผู้รับเช่นชุมชนในท้องถิ่น

-นักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรมทั้ง 6 สาขามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ได้รับประสบการณ์การทำงานเพื่อสังคมรู้จักแบ่งป้นให้แก่ผู้ด้อยโอกาส เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ การตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน

-ผู้บริหารในโรงเรียน ครู นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม และเสนอให้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนไม่มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์เรียนภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติมาก่อน ยอดนักเรียนมาโรงเรียนในวันทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 270 คน จากเดิมที่มาโรงเรียนแค่ 240 คนต่อวัน

-การวัดผลแบบ OKR ทั้งแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และติดสติกเกอร์ ให้ผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมกว่า KPI