KM Day 2021
การบริหารจัดการของทีมความเสี่ยงในช่วงวิกฤต COVID-19
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ทญ.ทัชยา ศตวุฒิผู้บันทึก: ทพ.สิรวิชฐ์ เลิศชาตรีพงษ์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
อาจารย์ประจำ หัวหน้าสาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบริหารจัดการในองค์กรฯ โดยมีความเสียงในทุก ๆ การดำเนินงานของวิทยาลัยฯ การอุบัติขึ้นของโรค COVID-19 ส่งผลอย่างมากต่อการเรียนการสอน รวมไปถึงการฝึกสอนให้รักษาทางทันตกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงจากการฟุ้งกระจายที่อาจทำให้เกิดการระบาดได้ง่าย ความกังวลใจทั้งจากผู้ปกครองของนักศึกษาและผู้ป่วย ความต่อเนื่องของการให้การรักษา ทำให้วิทยาลัยต้องมีการบริหารจัดการในทุกระบบ เพื่อให้มีการป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยต้องป้องกันอย่างรอบด้าน และรอบคอบ
ความรู้เดิม
วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ
เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ และเรื่องใหม่ จำเป็นต้องมีการวางแผน และการเตรียมความพร้อมของทีม
จัดเตรียมทีม มีการเสริมกำลังคนที่มีความรู้ และเตรียมความพร้อมมากขึ้น นำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
การค้นคว้าหาข้อมูลที่ถูกต้อง จัดทำช่องทางการให้ข้อมูลสื่อสารที่เป็นทางการ และมีการอัพเดทตลอดเวลา เพื่อปรับปรุงให้ได้แนวทางจัดการที่ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับองค์กรกลาง
ดำเนินการปรับปรุงระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดการในคลินิกทันตกรรมเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้มากที่สุด
จัดทำคู่มือมาตรการและแนวทางปฏิบัติฯ ของนักศึกษา และบุคลากรทุกกลุ่ม รวมถึงคนไข้ที่มารับการรักษา และทำสื่อต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ชัดเจน และเข้าใจง่าย
มีการสั่งการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด
เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
การมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ พร้อมให้คำปรึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานของทีมฯ
การทำความเข้าใจในทีมฯ มีการจัดสรรบุคลากรในทีมเพิ่มขึ้นโดยให้มีตัวแทนครอบคลุมทุกสาขาวิชา เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี และก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจที่จะผ่านไปให้ได้
มองภาพกว้าง คำนึงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ พยายามจำลองสถานภารณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น แล้วประเมินเพื่อให้มาตรการต่าง ๆ เกิด win-win situation เป็นไปประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มคนส่วนใหญ่ หรือมีผลกระทบให้น้อยที่สุด โดยที่ยังคงมาตรฐานที่สอดคล้องกับหน่วยงานกลางไว้ได้
เนื่องจากทรัพยากรฯ ที่มีจำกัด และต้องจัดการอย่างเร่งด่วน ไม่สามารถที่จะสร้างระบบใหม่ทั้งหมดได้ จึงเริ่มด้วยการสำรวจค้นหาสิ่งใดบ้างที่เคยทำ หรือเตรียมไว้อยู่แล้ว นำมาปรับปรุง ดัดแปลงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ทางวิทยาลัยฯ มีการจัดเตรียมระบบหมุนเวียนอากาศ(Air Ventilation)ที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่ ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงดำเนินการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศช่วยเพิ่มเติมเฉพาะจุด เป็นต้น
มีการสื่อสาร ทำความเข้าใจ ประสานงานจากบนลงล่าง จากระบบที่มีอยู่แล้ว ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ team leader สำหรับนักศึกษาชั้นปีคลินิก
ผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น
ผู้บริหารฯ มีวิสัยทัศน์ ให้การสนับสนุนเชิงนโยบาย และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ
ทีมงาน ที่มีประสิทธิภาพ มีทัศนคติเชิงบวก มีความเสียสละ ช่วยกันแบ่งเบาภาระงานในทีมฯ
ครอบครัว ซึ่งกำลังใจ ความเข้าใจจากคนในครอบครัวเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นงานที่ใหญ่ ใหม่ เร่งด่วนและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว
การบริการจัดการ การสื่อสารกับคนหมู่มาก และหลายกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งบางครั้งก็มีความอ่อนไหว โดยพบว่าอาจไม่ได้รับความร่วมมือ ไม่เข้าใจ หรือมีเสียงวิพากวิจารณ์ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินมาตรการต่าง ๆ
ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ สภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
-