KM Day 2021

การบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอน : บูรณาการอย่างไรเพื่อเพิ่มศักยภาพของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

คณะศิลปศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ฐนวิชณ์ ไกรเพิ่ม
ผู้บันทึก: ฐนวิชณ์ ไกรเพิ่ม
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

หัวหน้าภาควิชาภาษาฝรั่งเศส

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

การบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนถือเป็นพันธกิจหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาสังคม ชุมชน ด้วยการส่งเสริมทางวิชาการและวิชาชีพ ให้มีศักยภาพในการยกระดับคุณภาพของพื้นที่ โดยสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสได้นำนโยบายมาจัดดาเนินงานอยู่เสมอในทุกปีการศึกษาและบูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตร เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภายนอก สังคม และชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็งในการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ จนได้แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อจัดกิจกรรมและดำเนินงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะทางด้านภาษาฝรั่งเศสกับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเสมอมา ดังนั้นสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสจึงขอนำเสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่อง การบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอน : บูรณาการอย่างไรเพื่อเพิ่มศักยภาพของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ความรู้เดิม

1) กำหนดแนวทางและรูปแบบการบริการวิชาการ

                                1.1) การบริการวิชาการแก่สังคมที่จัดโดยภาควิชาภาษาฝรั่งเศส

                                                - จากโครงการบริการวิชาการที่กำหนดไว้ในแผนของมหาวิทยาลัยรังสิต

                                                1) โครงการบริการวิชาการ Vive le français (มหกรรมภาษา)

                                                2) โครงการศิลปวัฒนนธรมฝรั่งเศส

                                                - จากกิจกรรม/โครงการวิชาการซึ่งกำหนดโดยคณะศิลปศาสตร์

                                                1) โครงการครูภาษามาหาถึงห้องเรียนแก่โรงเรียนมัธยมศึกษา 12 แห่ง

- จากกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการจากการสนับสนุนของเครือข่ายความร่วมมือด้านภาษาฝรั่งเศสของสาขาวิชาฯ ได้แก่

1) จากสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย

2) จากสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

3) จากองค์กรความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศสมาชิกผู้พูดภาษาฝรั่งเศส (AUF) และศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยภาษาฝรั่งเศสแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต (CNFp de Rangsit)

                                                1) โครงการอบรมครูภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                                                2) โครงการเสวนาการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย

1.2) การบริการวิชาการแก่สังคมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกซึ่งภาควิชาภาษาฝรั่งเศสเข้าร่วมเป็นทีมวิทยากร

                1) โครงการติวภาษาฝรั่งเศส PAT 7.1 ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

                2) การนำทัวร์ให้แก่นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสของอาจารย์ในสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

ทั้งนี้ แนวทางการกำหนดกิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมและการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการนั้นจะพิจารณาจากองค์ประกอบที่สำคัญคือ

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกิจกรรมที่จะให้บริการวิชาการ

ระดับของการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ

                2) วิเคราะห์องค์ความรู้ที่จะเกิดขึ้นจากการบริการวิชาการ

3) เลือกรายวิชาในหลักสูตรหรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอน

4) ระบุกิจกรรมใน มคอ. 3 เพื่อให้แผนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความชัดเจน ซึ่งจากการบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนนั้น พบว่าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสได้ดำเนินการ 2 รูปแบบคือ

                                4.1) การบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยทางตรง

- คัดเลือกหรือเปิดรับสมัครนักศึกษาที่จะเข้าร่วมการจัดบริการวิชาการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่เกิดจากประสบการณ์และความชำนาญของอาจารย์

- ประชุมหารือร่วมกันระหว่างทีมงานที่จะจัดการบริการวิชาการแก่สังคม (อาจารย์และนักศึกษาผู้เข้าร่วมการบริการวิชาการ) เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการบริการวิชาการ ตลอดจนศึกษาข้อมูลและเนื้อหาการเรียนรู้ที่จะใช้ในการจัดบริการวิชาการแก่สังคม

                                4.2) การบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยทางอ้อม

                                                - พิจารณาเลือกอาจารย์ที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในการจัดบริการวิชาการแก่สังคม

                 4) ดำเนินการจัดการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน

- ในการจัดการบริการวิชาการนั้น ในแต่ละครั้ง ผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริการวิชาการจะมีหน้าที่และบทบาทที่แตกต่างกันออกไป คือ มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในกับกลุ่มเป้าหมาย หรือ อาจจะเป็นผู้สังเกตการณ์และจดบันทึกผลการถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

                 5) ผู้เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้

5.1) หากเป็นการบูรณาการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยตรงนั้น หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมแล้ว อาจารย์และกลุ่มผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการจะประชุมหารือและกำหนดรูปแบบในการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นให้แก่เพื่อนคนอื่นในชั้นเรียน ในกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนนั้น จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมการบริการวิชาการจะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ผ่านกิกจรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป อาทิ การทำโครงการ หรือการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน

5.2) หากเป็นการบูรณาการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยทางอ้อมนั้น หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมแล้ว อาจารย์จะสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ใช้และที่ได้จากการบริการวิชาการ เพื่อนำมาจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนและถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นๆ แก่ผู้เรียนในชั้นเรียน

                3) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการบริการวิชาการแก่สังคม

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

นอกจากการบริการวิชาการแก่สังคมจะช่วยสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทุกระดับแล้วนั้น การบริการวิชาการแก่สังคมยังช่วยพัฒนาองค์ความรู้ของอาจารย์ที่เป็นวิทยากรและร่วมกิจกรรมบริการวิชาการอย่างมากด้วย ตลอดจนยังเป้นบ่อเกิดของการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่งานวิจัย แต่กระนั้น ผลประโยชน์โดยตรงของการบริการวิชาการแก่สังคมคือการนำองค์ความรู้นั้นมาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  กิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมที่ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมกับอาจารย์จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อันเกิดจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของอาจารย์ จากการบูรราการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนที่ผ่านมาของสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสพบว่าการบริการวิชาการที่นักศึกษาได้เข้าไปมีส่วนร่วมนั้นจะเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในประสบการณ์ภาษาที่แท้จริง                                          

                โดยสรุปแล้ว การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนนั้น ทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ดีที่จะเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส ผู้เรียนรู้สึกสนุกมากขึ้นที่จะเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ตรงและจากการจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม ประสบการณ์ตรงของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมทำให้นักศึกษาสนใจเรียนภาษาภาษาฝรั่งเศส และเพิ่มเติมองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาในห้องเรียนแบบดั้งเดิม