KM Day 2021

พัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ตอบโจทย์ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

คณะศิลปศาสตร์
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

การใช้สื่อออนไลน์ ในการเรียนและพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่น

ของคณะวิชา: คณะศิลปศาสตร์

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

พัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ตอบโจทย์ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

อาจารย์วรพล มหาแก้ว   รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์  คณะศิลปศาสตร์ 

2.3 ที่มาของความรู้
Facebook ของ อ.วรพล เจ้าของความรู้
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

 1. ศึกษารูปแบบสื่อออนไลน์ โปรแกรม แอพพลิเคชั่นต่างๆ จากผู้รู้ คลิปความรู้ เปิดรับข่าวสารจากกลุ่มครูอาจารย์ผู้สอนในสถานการณ์โควิด ที่จะมีการนำเสนอเทคนิคต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเรียนรู้ข้อดี ข้อด้อยของสื่อแต่ละประเภท  ทำให้พบคลิปวิดีโอของ อาจารย์วรพลที่นำสื่อออนไลน์ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ในสถานการณ์โควิด ทำให้เล็งเห็นประโยชน์และมีความมั่นใจมากขึ้นในการใช้สื่อดังกล่าวมาปรับใช้กับการเรียนการสอนรายวิชาภาษาญี่ปุ่นที่ตนเองรับผิดชอบ  ในภาคเรียนที่ 2/2663  ได้แก่รายวิชา JPN 152  (ภาษาญี่ปุ่น 2)  และ รายวิชา JPN 342 (ฟัง-พูด 4)

 2. วิเคราะห์และคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับชั้นเรียนของตนเอง ในแต่ละประเภท ทั้งนี้เลือกจากความถนัดและความมั่นใจของผู้สอนเป็นหลัก ในที่นี้ผู้สอนใช้โปรแกรม Google Classroom สอนผ่าน Google Meet และทำแบบทดสอบโดยใช้ Google Form เป็นหลัก เพราะเป็นโปรแกรมที่มหาวิทยาลัยจัดหามาให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว 

 3.  ออกแบบและวางแผนการสอน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียนโดยใช้โปรแกรม และแอพพลิเคชั่นเสริม รวมทั้งข้อมูลและสื่อจาก เว็บไซต์ต่างๆ 

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

      ข้อดีของการใช้เทคนิดดังกล่าว

1.  สามารถตั้งเวลาแจ้งเตือนการเข้าเรียน กำหนดช่องทางการส่งงาน ตั้งเวลาเปิด-ปิดการทำแบบทดสอบได้  

           2.   กรณีสอนหลายกลุ่ม สามารถโพสต์ข้อมูลพร้อมกันได้ในคราวเดียว

           3.   สามารถแชร์ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพ ไฟล์ คลิปวิดีโอ ได้ทุกที่ทุกเวลา

           4. ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้สะดวก แบบสองทาง ต่างจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ผู้เรียนมักไม่ค่อยกล้าถาม

5. ผู้สอนสามารถตรวจประเมินผลงานต่างๆ การบ้าน รายงานของผู้เรียน พร้อมทั้งให้ข้อมูลสะท้อนกลับได้แบบรายบุคคล เอกสารไฟล์ต่างๆ รวมทั้งผลประเมิน ข้อมูลทุกประเภทจะยังคงเก็บไว้ไม่หายไปไหน สามารถเรียกกลับมาดูได้ใหม่ทุกเมื่อ

6.  ผู้เรียนสามารถเรียกดูข้อมูล  เอกสาร บทเรียนต่างๆ เพื่อทบทวนเนื้อหา ทำซ้ำได้เรื่อยๆ อย่างไร้ข้อจำกัด

 

ข้อจำกัดของการใช้เทคนิดดังกล่าว

               1. ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องใช้สมาธิมากขึ้นกว่าปกติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สอนจะต้องพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับชั้นเรียนตลอดเวลา

                2. ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดของการทำแบบทดสอบ ที่ไม่สามารถแทรกไฟล์เสียงได้  ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการทดสอบฟังใหม่

                3.  การควบคุมและการป้องกันการทุจริตในการทำแบบทดสอบ อาจทำได้ไม่ทั่วถึงและครอบคลุม

 

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

ด้วยคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา  ตอบโจทย์ของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ทำให้การเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดอยู่แค่เฉพาะชั่วโมงเรียนในชั้นเรียนอีกต่อไป ระบบการตั้งเวลา เปิด ปิด รับส่งงาน ทำให้ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องความตรงต่อเวลามากขึ้น เนื่องจากระบบจะแสดงหลักฐานต่างๆ ว่า ผู้เรียนส่งงานหรือไม่ เมื่อใด  ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในระบบ จะมีความถูกต้องแม่นยำ  แต่ทั้งนี้ ผู้สอนจะต้องชี้แจงข้อมูล กำหนดกติกา หรือข้อตกลงกับผู้เรียนอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกก่อน  

                                สถานการณ์โควิดทำให้ทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียนต่างต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเรียนรู้เปิดกว้างมากขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด  ซึ่งทักษะการเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่องนี้ นับเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งการอยู่ในสังคมยุคดิจิตอลนี้