KM Day 2021

เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ scopus

วิทยาลัยครูสุริยเทพ
ผู้เล่าเรื่อง: ผศ.ดร.นพรัตน์ ธนานุรักษากุล
ผู้บันทึก: ผศ.ดร.อัญชลี ชยานุวัตร
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

ผู้เล่าเรื่องดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษาและการสอนภาษาอังกฤษ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

ผู้เล่าเรื่องมีบทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS ระหว่าง ปี ค.ศ.2009-2019 จำนวน 6 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร  1)Teaching English with Techonology   2) Journal of Applied Linguistics และ 3)Journal of Intercultural Communication  ดังนี้

Tanauraksakul, N. (2019).  Influences of teacher power and the use of phonetics wevsite over EFL undergraduate students' attutudes toward speaking English intelligibly.  Teaching English with Technology, 19(4), 27-36.

Tanauraksakul, N. (2017).  Building up Thai EFL students' positive attitudes toward their non-native English accented speech with the use of phonetics website.  Teaching English with Technology, 17(4), 52-63.

Tanauraksakul, N. (2016).  Blended e-learning: A requirement for teaching EFL in a Thai academic context.  Teaching English with Technology, 16(4), 48-55.

Tanauraksakul, N. (2015a).  The effect of online dictionaries usage on EFL undergraduate students' autonomy.  Teaching English with Technology, 15(4), 3-15.

Tanauraksakul, N. (2015b).  Interre lationship between linguistic identity, perception, psychological wellbeing and context: Use of global English in and Australian context.  Teaching English with Technology, 6.2, 143-163.

Tanauraksakul, N. (2009).  An exploratory investigation of Asian students' sense of dignity in a non-native English language learning context: A case study.  Journal of Intercultural Communication, Issue 19.  Https://immi.se/intercultural/nr19/noparat.htm

ผู้เล่าเรื่องมีประสบการณ์การเขียนบทความเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฟษด้วยการใช้เทคโนโลยี และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทต่างๆ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติฐานข้อมูล SCOPUS ในฐานะอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจึงควรพัฒนางานให้มีคุณภาพเชิงวิชาการสามารถแข่งขันระดับนานาชาติได้ ทั้งในปัจจุบัน สถาบันการศึกษาและแวดวงวิชาการทั้งในและต่างประเทศให้ความสำคัญกับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติฐานข้อมูล SCOPUS ที่ยังแบ่งออกเป็น Q1 Q2 Q3 และ Q4 อีกด้วย ผู้เล่าเรื่องจึงต้องการผลิตผลงานให้มีเกณฑ์สูงขึ้นกว่าที่เคยทำมาแล้ว

ความรู้เดิม

ในขณะที่ผู้เล่าเรื่องศึกษาระดับปริญญาโทสาขา Interantional Communication และปริญญาเอก สาขา Linguistics ที่ Macquarie University, Australia ซึ่งสนับสนุนให้นักศึกษาทุกคนเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบบทความวิจัย ผู้เล่าเรื่องได้เริ่มเขียนบทความและส่งไปยังวารสารที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัยหลายวารสาร แต่ได้รับการปฏิเสธการตีพิมพ์ ประสบการณ์ที่ได้มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะบางวารสารปฏิเสธการตีพิมพ์ผลงานโดยให้คำวิจารณ์ที่ทำให้หมดกำลังใจ แต่มีวารสาร 2 ฉบับที่ให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์และเปิดโอกาสให้ผ้เล่าเรื่องได้แก้ไขงานทำให้ผู้เล่าเรื่องได้เรียนรู้วิธีการอภิปรายผลวิจัยเชิงคุณภาพให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมในวงการการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทการสืื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในออสเตรเลีย

ผลที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ผู้เล่าเรื่องมีความภาคภูมิใจคือได้ตีพิมพ์บทความที่เขียนจากวิทยานินพธ์ปริญญาโท 1 เรื่องและบทความที่เขียนจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก 1 เรื่อง ปี ค.ศ.2009 จากนั้นผู้เล่าเรื่องมีความมั่นใจที่จะผลิตผลงานวิชาการในรูปแบบบทความวิจัยมากขึ้นและได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติอีกหลายฉบับ

กระบวนการที่ทำให้ผู้เล่าเรื่องประสบความสำเร็จในการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติคือ 1)วางแผนในขณะที่ทำงานวิจัยว่าจะนำไปตีพิมพ์ที่ใด 2)ดำเนินการตามแผนที่วางไว้โดยศึกษารูปแบบการตีพิมพ์บทความฉบับที่ผ่านมาและเขียนบทความให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนด สิ่งนี้สำคัญห้ามละเลยเพราะฐานข้อมูลระดับ SCOPUS มีบทความให้เลือกมาก

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ผู้เล่าเรื่องมีความมั่นใจมากขึ้นและมีเป้าหมายชัดเจนในการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารในฐานข้อมูลตามเกณฑ์ กพอ. ความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว คือ 1)การวางแผนการตีพิมพ์มีความสำคัญมากเพราะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-12 เดือน จึงจะรู้ผลการตอบรับ 2)การเพิ่มคุณค่าของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเนื่ืองจากเป็นเกณฑ์ที่กำหนดโดย สกอ.