KM Day 2021

เทคนิคการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของสถาบันภาษาอังกฤษในปัจจุบัน

สถาบัน Gen.Ed.
ผู้เล่าเรื่อง: อาจารย์ณธกร เสถียรชยากร/ อาจารย์วีรภา พงษ์พานิช
ผู้บันทึก: -
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

อ.ณธกร เสถียรชยากร ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายทดสอบและบริการวิชาการประจำสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต รับผิดชอบรายวิชาต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละปีการศึกษา

อ.วีรภา พงษ์พานิช อาจารย์ประจำสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต รับผิดชอบรายวิชาต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละปีการศึกษา

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

การเรียนการสอนในภาษาอังกฤษในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่มีการสอนให้ท่องจำหลักไวยากรณ์หรือหลักภาษา ยังต้องสอนให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง อีกทั้งตอนนี้เทคโนโลยีต่างๆยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เกดประสิทธิภาพสูงสุด และต้องจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)

ความรู้เดิม

ได้นำมาปรับใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างไรในกระบวนการดำเนินงาน ผู้มีส่วนร่วม อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางการแก้ไข

กระบวนการที่ทำให้งานประสบความสำเร็จสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ

ก่อนเรียน คือ จะมีการประชุมสร้างหลักสูตร ปรับปรุงเนื้อหา รวมไปถึงกำหนดกิจกรรมและวิธีการสอนให้เข้ากับรายวิชาและบทเรียนนั้นๆ

ระหว่างเรียน คือ การนำกิจกรรมหรือวิธีการจริงมาใช้จัดกิจกรรมจริงในห้องเรียน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ให้แก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับและหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

หลังเรียน คือ การสรุปผลการสอนที่ผ่านมา รวมไปถึงอุปสรรคปัญหาต่างๆที่พบเจอใน 1 ภาคเรียน อีกทั้งพูดคุยถึงการปรับหรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและเนื้อหาบางเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมแก่นักศึกษา

อุปสรรคในการทำงาน

ทีเกี่ยวข้องกับนักศึกษา

เนื่องจากการเรียนการสอนหลายๆแบบที่เราใช้นั้น นักศึกษาที่เรียนต้องมีความกระตือรือร้น และมีความพร้อมในการเรียนรู้อยู่เสมอ แต่หากนักศึกษาไม่ให้ความร่วมมือนั้น อาจจะยากที่จะสอนให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

ด้านอุปกรณ์

การเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีนั้น สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่พบเจอได้มากที่สุด คือ สัญญาณอินเตอร์เน็ต เนื่องจากบางที่สัญญาณเข้าไม่ถึง หรือสัญญาณไม่แรงพอที่จะให้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่าย อีกทั้งนักศึกษาบางคนอาจมีอุปกรณ์ไม่พร้อมในการเรียนออนไลน์ เช่น คอมพิวเตอร์, iPad หรือ Laptop เป็นต้น

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

จากการเทคนิคการเรียนการสอนดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น สามารถเห็นได้ว่า หากนักศึกษามีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาจะมีความกล้าและมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างมาก โดยไม่มีความกลัวที่จะพูดผิดหรือถูก และทำให้เห็นการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น และด้วยการประเมินที่มุ่งให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการแสดงความสามารถที่แท้จริงผ่านกิจกรรมและชิ้นงานที่หลากหลายนั้นเป็นตัวชี้วัดที่ได้ประสิทธิผลกว่าการสอบแบบ multiple choices ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์สมุติฐานได้เลยว่าความสามารถการใช้ภาษาเกิดจากนักศึกษาจริงๆ