KM Day 2021

จากทักษะนักวิชาการสู่นักเขียนนิยายรางวัล

สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
ผู้เล่าเรื่อง: ดร. ณัฏฐ์ธีรตา วิทิตวิญญูชน
ผู้บันทึก: อาจารย์ ณัฐธนนท์ กาญจนศิลาโรจน์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

อาจารย์ประจำและรองคณบดีสถาบันการทูตและการต่างประเทศ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

บทวนงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึง
และนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงความคิดและเขียนออกมาให้เป็นงานที่มีประเด็นน่าสนใจ แปลกใหม่
รวมถึงใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในการสื่อสารผ่านตัวหนังสือ ดังนั้น
จึงสามารถนำเอาทักษะการเป็นนักวิชาการที่ดี ไปประยุกต์ใช้กับผลงานสร้างสรรค์อย่างเช่น
งานเขียนนิยายหรืองานสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ ได้
 

ความรู้เดิม

วิธีการ/ขั้นนตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ

1. ศึกษากฎเกณฑ์รวมถึงวัตถุประสงค์ของการประกวดรางวัลโดยละเอียด
2. ทบทวนวรรณกรรมของงานประกวดในปีที่ผ่าน เพื่อหาแนวเรื่องที่ไม่ซ้ำกับที่เคยส่งและได้รางวัลมาแล้ว
3. วางพล็อตเริ้องในการเขียนให้ชัดเจน
4. เก็บข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อมูลดิบที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ในงานเขียน
เพราะการเขียนนิยายไม่ได้ใช้แต่จินตนาการอย่างเดียว
5. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมบาบ๋าย่าหยาและวิถีชีวิตของผู้คนในจังหวัดภูเก็ตเมื่อราว ๗๐ปีก่อนจากปากคำของคนรอบข้าง และเอกสาร บันทึกต่างๆ
6. ลงมือเขียนโดยกำหนดเวลาสำหรับการเขียนและการทบทวนงาน ๒ เดือน

 เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
1. การเขียนงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของรางวัล
2. งานเขียนที่ไม่ซ้ำซาก
3. การใช้สำนวนภาษาที่มีวรรณศิลป์ ถูกต้องตามไวยากรณ์

อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางแก้ไข
1. มีความรับผิดชอบหลายอย่างทั้งงานบริหาร และอาจารย์ผู้สอน
จึงต้องแบ่งเวลาทำงานให้มีประสิทธิภาพโดยไม่ให้เบียดบังเวลาของงานอาจารย์ซึ่งเป็นงานประจำ
2. มีเวลาจำกัด จึงต้องมีวินัยในการทำงานเพื่อให้สำเร็จตามแผน

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

1. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (อันดับที่ 1) จากงานประกวดรางวัลชมนาดครี้งที่ 9  2563
2. ผู้เล่าเรื่องได้เรียนรู้ว่าประสบการณ์การทำงานวิชาการในฐานะอาจารย์
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการผลิตผลงานสร้างสรรค์ประเภทนิยายได้อย่างลงตัว และช่วยให้ได้รางวัลได้
แม้จะเป็นการเขียนนิยายเรื่องที่สองในชีวิตก็ตาม