KM Day 2021
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมของ ASEAN Foundation
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
ผู้เล่าเรื่อง: อาจารย์จิระโรจน์ มะหมัดกุลผู้บันทึก: น.ส. พัทธ์ธีรตา นภัทรศักดิ์เมธี
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและผู้สอนรายวิชา IPE331 ASEAN Integration เป็นที่ปรึกษากิจกรรม
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
ได้เล็งเห็นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากการบูรณาการการเรียนการสอนกับกิจกรรมนอกห้องเรียนใ
นประเด็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ในการนี้รับทราบมาว่ากิจกรรมของ ASEAN Foundation
มีลักษณะที่ช่วยสร้างความตื่นรู้ให้กับนักศึกษาในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและการสร้างเครือข่ายในอาเซียน
โดยในปีการศึกษา 2563 นักศึกษาชาวพม่าชั้นปีที่ 2 ของสถาบันฯจำนวนหนึ่ง
ได้รวมตัวกันเพื่อขอให้อาจารย์จิระโรจน์ (ผู้เล่า) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมเพื่อจะส่งทีมเข้าประกวดในโครงการ
the 6th ASEAN Foundation Model ASEAN Meeting (AFMAM) 2020 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ ประเทศเวียดนาม
(ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมออนไลน์แทนเนื่องจากโรคระบาด COVID 19)
โครงการ AFMAM ในปี 2020
มีวัตถุประสงค์ให้เยาวชนจากประเทศอาเซียนเกิดความตระหนักและใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้า
งสังคมอาเซียนที่สะอาดและเขียวขจี โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุอย่างยั่งยืน
โดยมีหัวข้อในการแข่งขันคือ “The Role of ASEAN Youths in Promoting Networking and Cooperation
to Build a Clean and Green ASEAN Community through Sustainable Use of Natural Resources
and Protection of the Environment”
ซึ่งนักศึกษาจะต้องเขียนบทความและจัดทำวีดีโอนำเสนอการรักษาสิ่งแวดล้อมจากหัวข้อที่กำหนด
โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา
นักศึกษาพม่าของสถาบันฯ ร่วมกับนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ
และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้งทีม โดยใช้ชื่อทีมว่า ECO Warriors (Myanmar Team)
และร่วมกันเขียนบทความและทำวีดีโอ presentation เพื่อส่งเข้าประกวดร่วมกับเพื่อนๆในชาติอาเซียนกว่า
ถึงแม้ว่าท้ายที่สุด ทีมจากสถาบันฯจะมิได้รับการคัดเลือกจากทีมที่สมัครร่วมร้อยทีมในภูมิภาคอาเซียน
แต่นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะมานำเสนอในรูปแบบวีดีโอเกี่ยวกับบทบ
าทของเยาวชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมทำให้นักศึกษาเกิดความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมและความร่วมมือ
สร้างสังคมอาเซียนให้สะอาดปราศจากมลภาวะต่างๆ
ความรู้เดิม
ขั้นตอนปฏิบัติงาน
1. วางแผนระดมความคิดกับทีมงาน
2. กำหนดประเด็นที่จะนำเสนอที่สอดคล้องกับหัวข้อในการประกวด
3. จัดทำร่างบทความเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจทานเนื้อหาและการใช้ภาษาอังกฤษ
4. ถ่ายทำวีดีโอสั้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาของทีมและตรวจทาน
5. อัพโหลดไฟล์วีดีโอใน Youtube เพื่อส่งผลงานให้กับคณะกรรมการพิจารณา
กระบวนการที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
ความสำเร็จในที่นี้มิใช่เป็นทีมที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมงาน ASEAN Simulator Meeting แต่เป็นการที่นักศึกษาได้มีความคิดริเริ่มในการส่งผลงานเข้าประกวด อีกทั้งในกระบวนการส่งผลงานเข้าประกวดนั้น นักศึกษาได้ฝึกฝนการใช้ทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะการประชุม ทักษะการค้นคว้าหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการนำเสนอ ตลอดจนทักษะในการเขียนบทความ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพและทักษะที่จำเป็นแก่นักศึกษาในศตวรรษที่ 21
อุปสรรค
สิ่งที่เป็นอุปสรรค คือ ด้วยกับสถานการณ์ COVID 19 การสื่อสารกับสมาชิกในทีมซึ่งอยู่ต่างที่กัน เช่น สมาชิกบางคนอยู่เชียงใหม่ ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปอย่างยากลำบาก การสื่อสารจึงต้องอาศัยการประชุมออนไลน์ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การเป็นทีมจากประเทศพม่าแต่นักศึกษาทั้งหมดกำลังศึกษาในประเทศไทยทำให้การเป็นตัวแทนทีมพม่านั้นมีความไม่ชัดเจนและเป็นจุดอ่อน
แนวทางในการแก้ไข
เพิ่มการพปปะประชุมแบบเห็นหน้าระหว่าสมาชิกในทีมและอาจารย์ทีปรึกษาร่วมอภิปรายจุดแข็งจุดอ่อนก่อนส่งผลงานเข้าประกวด
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการส่งผลงานเข้าประกวด นักศึกษาได้เรียนรู้การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้จริง กล่าวคือ นักศึกษามีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลมาเขียนบทความในประเด็นบทบาทของเยาวชนต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม นักศึกษาเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมระหว่างกัน โดยเฉพาะปัญหามลภาวะเป็นพิษ โลกร้อน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ในชั้นเรียนเรื่องอาเซียน โดยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค