KM Day 2021

โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษ: การเตรียมความพร้อมเพื่อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้เล่าเรื่อง: อ.ดร. พิชญา โพธินุช
ผู้บันทึก: นางสาวเหมือนฝัน เชียงกา
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

ประธานคณะทำงานการพัฒนาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร มีหน้าที่ในการจัดทำแผนการและดำเนินงานโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษา พร้อมประเมินและสรุปผล

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

ภาษาอังกฤษมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก ผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษนั้นย่อมมีทางเลือกในการสมัครงานและได้ทางานในองค์กรที่ดี อย่างไรก็ตาม นักศึกษาไทยยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจาวัน จึงไม่ให้ความสาคัญในการเรียนรู้ และไม่มีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นความสาคัญของภาษาอังกฤษที่มีประโยชน์ต่อนักศึกษา และได้จัดให้มีการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ RSU2-test ซึ่งดาเนินการโดยสถาบันภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานทางภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับนโยบายยกระดับภาษาอังกฤษของระดับอุดมศึกษา ทั้งยังเป็นการเพิ่มความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและมหาวิทยาลัย ดังนั้นทางวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร จึงเล็งเห็นความสาคัญและได้ดาเนินการจัดโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สาหรับการส่งเสริมและทบทวนการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัยและระดับสากลต่อไป

ความรู้เดิม

ขั้นตอน 1 การวางแผนดำเนินงาน

คณะกรรมการด าเนินงานพัฒนาภาษาอังกฤษของวิทยาลัยฯ  จัดประชุมเพื่อวางแผนแนวทางการจัดโครงการฯ 
และวางแผนการด าเนินงานร่วมกับสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต  ในการจัดท าแผนปฏิบัติงาน (Action 
Plan) ที่มี ความเหมาะสมและชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ

ขั้นตอน 2 การดำเนินงาน

1) จัดประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อรับทราบแนวทางในการด าเนินงานและก าหนดรายละเอียดต่างๆ ของ โครงการ 
พร้อมทั้งกระจายงานให้คณะกรรมการฯ แต่ละคนรับผิดชอบ

แนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย

- สร้างหลักสูตรการอบรมฯ ร่วมกับสถาบันภาษาอังกฤษ


- จัดทำช่องทางเพื่อให้นักศึกษาลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมอบรมในโครงการฯ โดยกลุ่มนักศึกษาเป้าหมาย คือ 
นักศึกษาชั้นปี  3 และ 4 ของคณะนวัตกรรมเกษตร  และคณะเทคโนโลยีอาหาร  
ซึ่งสังกัดวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและ เทคโนโลยีอาหาร

ช่องทาง

- จัดการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษก่อนการอบรม (Pre-test)

- ดำเนินการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ

- จัดการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษหลังการอบรม (Post-test) ด้วยข้อสอบ RSU2-Test 2) การดำเนินโครงการฯ เป็นลักษณะต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

- จัดการประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยแจ้งแก่นักศึกษากลุ่มเป้าหมายโดยตรงและแจ้งผ่านสื่อออนไลน์ทุก

- ให้นักศึกษาลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจัดเตรียมสถานที่และบริการด้านต่างๆ

- ชี้แจ้งหลักสูตรในการอบรมและแจ้งกำหนดการของวันทดสอบก่อนอบรม (pre-test) ให้แก่นักศึกษาทุกคน

รับทราบและปฏิบัติเพื่อประเมินตัวเองและเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ

- ดำเนินการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก 
สถาบันภาษาอังกฤษ โดยจะเน้นการเรียนคำศัพท์ ไวยากรณ์ ฝึกการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นต้น 
ทั้งนี้เพื่อทบทวน ความรู้เดิม พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 
และเตรียมความพร้อมในการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของตัวเอง

- นักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องทำการทดสอบหลังอบรม (post-test) เพื่อดูพัฒนาการของตัวเอง 
และประเมินตัวเองเพื่อพัฒนาตนเองในส่วนที่ยังขาดเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอั
งกฤษ ระดับสากลต่อไป

 ขั้นตอน 3 การตรวจสอบการดำเนินงาน มีตัวชี้วด 3 เรื่อง ดังนี้

ดัชนีชี้วัด    1. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ             

เป้าหมาย   จำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ อย่างน้อย 30 คน

ดัชนีชี้วัด    2. จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่าน RSU2-Test (นักศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องผ่านระดับ B1 ขึ้นไป) 

เป้าหมาย   จำนวนนักศึกษาสอบผ่าน RSU2-Test อย่างน้อยร้อยละ 40 (KPI 1.5 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่สอบผ่าน ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สถาบันก าหนด ปี 2563)

ดัชนีชี้วัด    3. คะแนนความพึงพอใจของนักศึกษา                             

เป้าหมาย   ระดับดี-ดีมาก

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโครงการวัดได้จากจานวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการซึ่งมีทั้งหมด 82 คน คิดเป็นร้อยละ 88.2 ของจำนวนนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่าน RSU2-Test (ได้ระดับคะแนนตั้งแต่ B1 ขึ้นไป สาหรับนักศึกษาปริญญาตรี) มีจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 56.1 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดโครงการฯ อยู่ในระดับดีมาก (4.13) ความสำเร็จของการดำเนินในครั้งนี้นั้นเกิดจากความร่วมมือของคณะกรรมการฯ ของวิทยาลัยฯ คณาจารย์จากสถาบันภาษาอังกฤษ และนักศึกษาทุกคน โดยเริ่มต้นจากการวางแผนร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับความสะดวกและสไตล์การเรียนที่ทำให้เกิดความตื่นตัวของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาไม่คิดว่าการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นภาระเพิ่มเติม สิ่งสาคัญที่สังเกตได้คือ ความรับผิดชอบในการร่วมเข้าโครงการฯ อาจเป็นเพราะนักศึกษาเริ่มตระหนักได้ว่าภาษาอังกฤษและการเตรียมความพร้อมในการวัดระดับการใช้ภาษาอังกฤษของตัวเองจะมีผลต่อการเรียนและการทำงานในอนาคต