KM Day 2021

มาตรการรับมือโรคระบาด COVID 19

วิทยาลัยนานาชาติจีน
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

การบริหารจัดการดูแลนักศึกษาต่างชาติในช่วงสถานการณ์
COVID-19

ของคณะวิชา: วิทยาลัยนานาชาติจีน

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

มาตรการรับมือโรคระบาด COVID 19

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

ดร.กัญจน์นิตา สุเชาว์อินทร์    วิทยาลัยนานาชาติจี

2.3 ที่มาของความรู้
ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้KM Rangsit University
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

ด้วยในปี การศึกษา 2563 เรายังอยู่ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด 19 ส่งผลให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหาร
จัดการและดูแลนักศึกษาต่างชาติ รวมถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ต้องคำนึงความปลอดภัยด้านสุขภาพและคุณภาพ
การเรียนการสอนของนักศึกษาทุกคน จากเดิมที่ในภาคเรียนที่ 2/2562 ช่วงหลังจากที่วิทยาลัยนานาชาติได้หยุดให้
นักศึกษาจีนเดินทางกลับไปฉลองตรุษจีนกับครอบครัวประมาณ 10 วันและยังไม่สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศไทย
ได้ ขณะนั้นประเทศไทยก็พบกับสถานการณ์โควิด 19 ที่รุนแรงขึ้น จนกระทั่ง มหาวิทยาลัยได้ประกาศให้เริ่มจัดการ
เรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนนี้ วิทยาลัยฯได้ติดตามสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อ เป็น
ข้อมูลในการตัดสินใจวางแผนงานในปี การศึกษา 2563 ซึ่งเมื่อถึงภาคเรียน S/2563 สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น ในภาคเรียน
ที่ 1/2563 วิทยาลัยนานาชาติจีนจึงประกาศให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต่อเนื่อง และเมื่อใกล้สิ้นสุดภาคเรียนที่
1/2563 วิทยาลัยฯได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระยะเวลาที่
ผ่านมา พร้อมทั้งสำรวจความพร้อมในการเดินทางกลับเข้าประเทศไทยของนักศึกษาต่างชาติ ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขของ
การเดินทางเข้าประเทศยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ระยะเวลาในการกักตัว ค่าใช้จ่ายสำหรับการกักตัวและค่าตั๋ว
เครื่องบินสูง (รวมประมาณ 200,0000 บาท/คน) และเงื่อนไขการขอวีซ่านักศึกษาเข้าประเทศ โดยเก็บข้อมูลเหล่านี้เพื่อ
เตรียมวางแผนการทำงานในภาคเรียนที่ 2/2563

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

จากการให้นักศึกษาทำแบบสอบถามดังกล่าว พบว่า นักศึกษาร้อยละ 42.31 รู้สึกว่าการจัดเรียนการสอนออน
ไลน์ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการเรียนรู้เนื้อหารายวิชานั้นๆ และร้อยละ 39.42 รู้สึกว่ามีผลกระทบเล็กน้อย แต่ยังสามารถ
เรียนรู้เนื้อหาหลักของแต่ละรายวิชาได้ ร้อยละ 63.46 ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในภาคเรียนที่
2/2563 ต่อไป และร้อยละ 36.54 ต้องการกลับมาเรียนที่ห้องเรียนเหมือนเดิม ส่วนความคิดเห็นเรื่องความพร้อมที่จะ
เดินทางกลับเข้าประเทศไทยแบ่งออกเป็น ร้อยละ 44.23 รู้สึกมีความกังวลมาก อยู่ที่บ้านตนเองปลอดภัยกว่า และร้อยละ
39.42 มีความกังวลเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์จำนวนผู้ที่ติดเชื้อ นอกจากนี้นักศึกษายังได้ระบุเหตุผลที่ทำให้ไม่
สามารถเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทยได้คือ
1. สถานการณ์และจำนวนผู้ติดเชื้อไม่แน่ชัด คิดเป็นร้อยละ 62.02
2. ตั๋วเครื่องบินราคาสูง คิดเป็นร้อยละ 69.71
3. ค่าใช้จ่ายในการกักตัวสูง คิดเป็นร้อยละ 83.17
4. ผู้ปกครองเห็นว่าไม่ปลอดภัยและไม่สนับสนุนให้เดินทางกลับเข้ามา คิดเป็นร้อยละ 40.38
จากข้อมูลข้างต้น วิทยาลัยฯได้นำมาประกอบการตัดสินใจ ประกาศให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต่อ
ไป ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากนักศึกษา เพราะนักศึกษาเห็นว่าวิทยาลัยฯและมหาวิทยาลัยเข้าใจสถานการณ์และพิจารณา
ความกังวลของนักศึกษาประกอบ
ส่วนแผนการในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยฯได้ประเมินจากสถารณ์ภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะใน
ประเทศจีนที่มีการได้รับวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการกักตัวลดลงตามจำนวนวันกักตัวที่ลดลงด้วย จึง
เป็นที่มาว่าในภาคเรียน S/2564 และภาคเรียนที่ 1/2564 มีการจัดการเรียนการสอบแบบผสมผสานคือมีทั้งแบบออน
ไลน์และแบบในชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัย โดยระหว่างนี้ให้นักศึกษาเตรียมตัวกลับเข้าประเทศไทย และในภาคเรียนที่
282564 จะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยเต็มรูปแบบ

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

ภายใต้สถานการณ์ที่ข้อมูลหลายอย่างไม่ชัดเจน การบริหารจัดการโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดง
ความคิดเห็นและนำมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจส่งผลในทางบวก เป็นการบริหารงานเพื่อ ให้เกิดการทำงานที่มี
ประสิทธิภาพสูงสุด