KM Day 2021
การสร้างProfileของนักวิจัยหน้าใหม่เพื่อมีตัวตนบน Platform Online
คณะบริหารธุรกิจ
ผู้เล่าเรื่อง: ดร. ปิยะรัตน์ จันทรยุคลผู้บันทึก: ดร. ปิยะรัตน์ จันทรยุคล
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
อาจารย์ประจาคณะบริหารธุรกิจ และรองประธานกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต
ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
ผู้เล่าเรื่องเป็นอาจารย์ทางสายสังคมศาสตร์ที่เพิ่งเริ่มทาวิจัยและนาเสนอผลงานวิจัยของตนเองในวารสาร(ที่ไม่รวมผลงานระดับปริญญาเอก หรือผลงานร่วมกับนักศึกษาในฐานะการเป็นที่ปรึกษา) ผู้วิจัยค้นพบว่าเราควรสร้างprofileของเราเพื่อให้ตัวเราอยู่ในโลกการวิจัย และสามารถเชื่อมโยงผู้คนที่มีความเชี่ยวชาญ หรือความสนใจประเด็นการศึกษา ค้นหาความรู้ในองค์ความรู้เดียวกัน หรือศาสตร์ที่เราแสดงตัวตนไว้ได้
หากนักวิจัยมือใหม่กาลังเข้าสู่โลกของการค้นหาข้อมูลทางการวิจัย และเริ่มมีผลงานวิจัยที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบบทความทางวิชาการ หรือบทความวิจัยแล้ว ก็สามารถสร้างตัวตนในโลกการวิจัย เป็นProfileของตนเองและองค์กรที่สังกัด ในชุมชนของนักวิจัยได้
Social Media Platform ที่แนะนาสาหรับนักวิจัยมือใหม่ คือ
1. Academia.edu
2. ResearchGate.com
เป็น Platform ที่กล่าวว่า “Connect researchers with common interests” นักวิจัยสามารถต่อยอดองค์ความรู้จากความรู้เดิมของเราได้มากมาย โดยAcademia.edu และ ResearchGate.com สามารถเชื่อมโยงนักวิจัยจากทุกมุมโลกที่มีความสนใจร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
3. Google Scholar เป็นพื้นที่ฟรีให้นักวิจัยแสดงผลงงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นบทความ วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ โดยผู้สนใจจะสามารถค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง โดยสามารถค้นหาในสาขาวิชา หรือศาสตร์ที่สนใจจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จาก Google Scholar Platform หากมีนักวิจัยอื่นอ้างอิงผลงานเรา ระบบก็จะนับจานวนอ้างอิงและเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ได้อีกด้วย
ความรู้เดิม
การสร้างProfile: ผู้ใช้ต้องสร้างโปรไฟล์ขึ้นมาก่อน สมัครเป็นสมาชิกในPlatform Online ดังกล่าว ด้วย email@rsu.ac.th จากนั้นใส่รายชื่อผลงาน-กิจกรรมของตนเองลงไป อัพโหลดสาเนาต้นฉบับงานเขียน และระบบจะเชื่อมโยงงานของเรากับผู้เขียนร่วม ผู้เขียนที่เรานางานของเขามาใช้เป็นบรรณานุกรมรายการอ้างอิง การ
เชื่อมโยงถึงกันแบบนี้เป็นในลักษณะเดียวกันกับเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ ResearchGate และ Academia.edu จะจัดทารายงานส่งมาที่ emailผู้วิจัยทุกสัปดาห์ เช่น จานวนผู้ที่สนใจงานวิจัยที่เข้ามาอ่านบทความที่เราเผยแพร่ออนไลน์ไว้ จานวนการอ้างอิง นอกจากนี้จะมีข้อมูลคร่าวๆเพิ่มเติม เช่น Impact factor องค์กรที่ผู้อ่านสังกัด ประเทศที่ผู้อ่านลงทะเบียน ทั้งนี้ถ้าผู้วิจัยต้องการได้ข้อมูลเชิงลึกกว่านั้น จาเป็นต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
นักวิจัยสามารถติดตามนักวิจัยคนอื่นๆที่เรามีความสนใจผลงานทางวิชาการในศาสตร์เดียวกัน โดยระบบจะมีการเตือน แนะนาบทความใหม่ๆที่คาดว่าเป็นหัวข้อที่เราสนใจส่งมาที่emailของเราบ่อยครั้ง ในทางกลับกับ และเป็นประเด็นที่สาคัญ นั่นคือ ผลงานวิชาการของเราก็มีโอกาสเผยแพร่ไปยังนักวิจัยคนอื่นๆได้เช่นกัน นั่นคือ นักวิจัยหน้าใหม่สามารถสร้างตัวตน สร้างProfileตัวเองได้ใน Platform Online ผลก็คือนักวิจัยจะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ได้อับเดทความรู้สม่าเสมอ อีกทั้งกระตุ้นให้นักวิจัยหน้าใหม่เกิดแรงบันดาลใจในการวิจัยทั้งๆที่แต่เดิมอาจไม่ให้ความสนใจมากนัก