KM Day 2021
การออกแบบการสอน แบบทลายกาแพงวิชา / Integrated Course Design
คณะบัญชี
ผู้เล่าเรื่อง: อ.วัฒนี รัมมะพ้อ และผศ.นภาพร เตรียมมีฤทธิ์ผู้บันทึก: ผศ.ดร. นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและผู้สอน รายวิชาที่ถูกกาหนดให้บูรณาการการสอน
ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
การจัดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ด้วยการออกแบบการสอนแบบทลายกาแพงวิชา หรือทั่วไปเรียกว่า “Integrated Course Design” ได้เกิดขึ้นแล้วในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต เกิดจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาการบูรณาการความรู้ที่นักศึกษาได้เรียนมาในวิชาภาษีอากร วิชาหลักการบัญชี และการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางการบัญชี เพื่อนามาใช้ในการจัดทาบัญชีธุรกิจ และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนาหลักการและวิธีการทางบัญชี ภาษีอากร ผสมผสานกับ เทคโนโลยีทางวิชาชีพบัญชีไปใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญในการเตรียมความพร้อมก่อนสหกิจศึกษาหรือการทางานหลังสาเร็จการศึกษา
ความรู้เดิม
ขั้นตอนกระบวนการ
1.การนาข้อมูลป้อนกลับจากผู้ให้การฝึกงานในโครงการสหกิจและการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งสรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต พิจารณาประเด็น ความรู้และทักษะวิชาชีพที่ต้องการของหน่วยงานต่อบัณฑิตจบใหม่
2. วิเคราะห์เนื้อหารายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่สามารถบูรณาการเข้ากันได้อย่างกลมกลืนและสอดคล้องกับความรู้และทักษะวิชาชีพที่ต้องการของหน่วยงานต่อบัณฑิตจบใหม่
3. นารายวิชาเป้าหมาย ซึ่งทีมงาน ได้สรุปว่า เป็นวิชาวิชาสัมมนาภาษีอากร และการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางการบัญชี วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ใหม่ เพื่อวางแผนการสอนและการพัฒนาสื่อการสอน รวมทั้งวางกลยุทธ์ในการวัดและประเมินผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กาหนด โดยใช้ เทคนิค The Share Model กล่าวคือ การบูรณาการเนื้อหาระหว่างวิชาที่แตกต่างกัน (distinct disciplines) โดยพิจารณาเนื้อหาสาระแนวคิดที่คาบเกี่ยวกัน นามาวางแผนการสอนร่วมกันในส่วนที่คาบเกี่ยวกัน อาจจัดเป็นหัวข้อร่วมกัน หรือทาโครงงานร่วมกันส่วนเนื้อหาที่ไม่คาบเกี่ยวกันก็สอนแยกกันตามปกติ
4. ดาเนินการสอนตามแผน รวมทั้งการติดตามประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
5. นาผลการประเมิน มาใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีต่อไป
ปัญหาและอุปสรรค ที่สาคัญ
1. การวางแผนด้านเวลาที่จะให้ความรู้ด้านระบบบัญชีกับบัญชีภาษีอากร กับการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางการบัญชี จะต้องสัมพันธ์กันพอดีในเวลาที่กาหนด เพื่อให้นักศึกษาได้มีเวลาเพียงพอเหมาะสมกับการทากรณีศึกษา
2. การพัฒนากรณีศึกษาเพื่อใช้ในการทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
แนวทางการแก้ไขหรือลดอุปสรรค
1. หลักสูตรจะต้องจัดแผนการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านหลักการบัญชี ก่อนที่จะมาเรียนวิชาเป้าหมายการบูรณาการ
2. ผู้สอนทั้งสองรายวิชา กาหนดผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรม และพัฒนากรณีศึกษา วางปมปัญหาที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นปมปัญหาทางบัญชีและภาษี ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
3. วางแผนการสอน และผู้สอนต้องประสานงานกัน
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาอาจารย์
อาจารย์ได้เรียนรู้วิธีการในการออกแบบการบูรณาการรายวิชามาใช้ได้จริง สามารถกาหนดหัวข้อสอน กิจกรรมพัฒนานักศึกษา กรณีศึกษา ที่สอดคล้องกันโดยมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ เมื่อติดตามประเมินผลพบว่ายังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงพัฒนา ได้แก่ กรณีศึกษาที่เอื้อต่อการจาลองสถานการณ์ทางธุรกิจ การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนเชิงบูรณาการกับกิจกรรม
ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาหลักสูตร
ในการปรับปรุงหลักสูตร ได้นาประสบการณ์หรือบทเรียนที่ได้จากการออกแบบการสอนแบบบูรณาการรายวิชา มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร ทาให้หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีความทันสมัยด้วยนวัตกรรมการสอนที่แตกต่างจากสถาบันอื่น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
1. นักศึกษาสามารถนาความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปมปัญหาที่วางไว้ในกรณีศึกษาได้มากกว่า 60 %
2. นักศึกษาได้ทักษะการทางานเป็นทีม และร่วมมืออย่างดีในการทางานภายใต้ความกดดันด้านเวลา
3. นักศึกษามีความรู้และเข้าใจการทาบัญชีธุรกิจด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางการบัญชี และมีความพร้อมในด้านความรู้การทาบัญชีธุรกิจ และทักษะเทคนิคทางวิชาชีพก่อนสหกิจศึกษา