KM Day 2021

ปลูกจิตสานึกที่ดีให้เยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟู สร้างประโยชน์ต่อท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการกิจกรรมกลุ่ม

คณะบัญชี
ผู้เล่าเรื่อง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศรา สุพยนต์
ผู้บันทึก: อาจารย์วัฒนี รัมมะพ้อ
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

ผู้เล่าเรื่องชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศรา สุพยนต์
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในตาแหน่งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวินัย คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต ประกอบด้วย งานการกากับดูแลโครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาของคณะ งานวินัยนักศึกษา งานสวัสดิการนักศึกษา งานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดระบบกลไกการดูแลให้คาปรึกษานักศึกษา การกากับดูแลการดาเนินการของสโมสรนักศึกษาคณะ งานสนับสนุนชมรมศิษย์เก่า งานสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัย
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในตาแหน่งกรรมการหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและอาจารย์ประจาหลักสูตร ทาหน้าที่ร่วมบริหารหลักสูตรตามนโยบายของคณะ งานด้านการเรียนการสอนในรายวิชาการบัญชีการเงินและการบัญชีต้นทุน รวมทั้งการผลิตผลงานทางวิชาการตามภารกิจ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นับว่ามีความสาคัญต่อการดาเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของประชากรในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองจนส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ต้นไม้ ทะเล แม่น้า ตลอดจนสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมโทรม จึงมีความจาเป็นในการส่งเสริมให้ประชากรมีจิตสานึกที่ดีและมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต มีความตระหนักหรือรู้ชัดแจ้งถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทาโครงการปลูกจิตสานึกรักษ์ป่า ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาคณะบัญชี มีจิตสานึกอันดี เข้าใจถึงความสาคัญและตระหนักถึงผลเสียหายที่เกิดจากการทาลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้สึกหวงแหน และเห็นประโยชน์ของ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพดี สามารถนาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากกระบวนการกิจกรรมนักศึกษาร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุงพื้นที่ สร้างประโยชน์ต่อชุมชน และนากลับมาปรับใช้ในการดาเนินชีวิตของตนเองต่อไป
ในการจัดกิจกรรมนักศึกษาเน้นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม/ท้องถิ่น และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ อีกทั้งยังคานึงถึงผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เข้าร่วมทากิจกรรม ดังนั้น ลักษณะของกิจกรรมที่กาหนดขึ้นในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อส่วนรวม กิจกรรมที่สร้างแนวความคิดเห็นที่ดีและมีความสนุกสนาน กิจกรรมที่เพิ่มความรู้และประสบการณ์ให้กว้างขวางมากขึ้น กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะเรียนรู้การทางานเป็นทีม และส่งเสริมให้เกิดความซาบซึ้งในความงดงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าควรแก่การหวงแหนให้อยู่ยั่งยืนตราบนานเท่านาน การจัดกิจกรรมนักศึกษาในเรื่องดังกล่าวอยู่บนฐานความคิดที่ว่า ข้อมูลความทรงจาและประสบการณ์ทุกด้านที่ได้เห็น ได้ยิน ได้พูด ได้ทา จะสามารถปลูกจิตสานึกที่ดีได้

ความรู้เดิม

กระบวนการทางานเพื่อปลูกจิตสานึกที่ดีให้แก่เยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟู สร้างประโยชน์ต่อท้องถิ่น ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจทั้งจาก ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา นักศึกษาของคณะบัญชี และชุมชน/ท้องถิ่น ในการทางานโครงการให้ประสบความสาเร็จ ดังนี้
1) สารวจความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น ที่ต้องการให้ลงพื้นที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุงพื้นที่
2) ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์และคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะบัญชี สรุปสถานที่และแนวทางในการดาเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
3) การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย แผนและผลของการจัดกิจกรรม การประสานงานกับชุมชน/ท้องถิ่นที่จะลงพื้นที่ การคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในขณะดาเนินกิจกรรม การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบด้านต่าง ๆ ให้แก่ทีมงาน โดยมีคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะบัญชีเป็นกลไกสาคัญในการเชื่อมโยงกิจกรรมที่จัดขึ้นกับนักศึกษาของคณะ ภายใต้การกากับดูแลของรองคณบดีและคณาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาของคณะบัญชี รวมทั้งการคานึงถึงและปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
4) การดาเนินกิจกรรมตามโครงการที่วางแผนให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนี้
- กิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- กิจกรรมที่สร้างแนวความคิดเห็นที่ดี เพิ่มความรู้ ประสบการณ์ให้กว้างขวางมากขึ้น
- กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและส่งเสริมทักษะเรียนรู้การทางานเป็นทีม
- กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความซาบซึ้งในความงดงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าควรแก่การหวงแหนให้อยู่ยั่งยืน
5) สรุปผลการเรียนรู้เพื่อสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม และสิ่งที่จะนาไปปฏิบัติในชีวิตประจาวัน เพื่อสะท้อนผลการจัดกิจกรรมต่อการปลูกจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้กระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษา ในการสร้างจิตสานึกที่ดีให้เยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นับว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยประเมินจากการสังเกต และการสรุปผลการเรียนรู้ ดังนี้
1) ผลประเมินจากการสังเกต ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมเดินทางมาตรงเวลาตามที่กาหนด สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ตกลงร่วมกัน ขณะที่วิทยากรอธิบายในแต่ละฐานการเรียนรู้ ผู้เรียนก็ให้ความสนใจ พูดคุย และถามตอบกับวิทยากรซึ่งเป็นตัวแทนชุมชนและปราชญ์ป่า ตลอดช่วงของการพูดคุยจากสถานการณ์จริงที่พบเจอ
2) ผลประเมินจากการสรุปผลการเรียนรู้ เกี่ยวกับความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม และสิ่งที่จะนาไปปฏิบัติในชีวิตประจาวัน เพื่อสะท้อนผลการจัดกิจกรรมต่อการปลูกจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1) ผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- การเก็บขยะบริเวณชายหาดแหลมแม่พิมพ์ จังหวัดระยอง นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกใน
การร่วมลงมือช่วยกันแสดงถึงพลังสามัคคี ทาให้ชายหาดสะอาดขึ้น ทาให้ไม่อยากทิ้งขยะไม่เป็นที่เพราะถ้าไม่ได้ไปเป็นคนเก็บเองก็ไม่รู้หรอกว่ามันเหนื่อยขนาดไหน รู้สึกไม่ดีที่เห็นขยะเกลื่อนกลาดทาให้ทะเลไม่สวย ขยะที่พบเห็นล้วนแล้วแต่เป็นกล่องโฟม พลาสติก อวนประมง ที่แตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ มากมายที่เกิดจากการทากิจกรรมของมนุษย์ รู้สึกว่าการมีส่วนร่วมลงมือครั้งนี้ควรปรับแก้ที่ต้นเหตุที่ตัวเราในการทิ้งขยะให้เป็นที่ แยกขยะ ประหยัดให้เป็นนิสัยใช้ให้คุ้มค่า ทาให้มีความคิดว่าขยะเก็บที่ไหนก็ได้ถ้าเห็นเพียงหนึ่งชิ้นก็ควรเก็บทิ้งให้เป็นที่โดยไม่ต้องรอ
2.2) กิจกรรมที่สร้างแนวความคิดเห็นที่ดี เพิ่มความรู้ ประสบการณ์ให้กว้างขวางมากขึ้น - การพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมอนุรักษ์กับตัวแทนชุมชนจังหวัดชุมพร ส่งเสริม
ทัศนคติที่ดี นักศึกษารู้สึกถึงสิ่งที่ควรทาและไม่ควรทาง่าย ๆ ใกล้ตัวที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การให้อาหารปลาในแหล่งน้าธรรมชาติที่เคยชอบทาก่อนมาร่วมโครงการฯ แท้จริงแล้วส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์เป็นอย่างมาก หรือการทาประมงเกินขนาดไม่ใช้วิถีประมงแบบดั่งเดิมทาลายทรัพยากรชายฝั่งอย่างมาก วิถีประมงแบบดั่งเดิมที่พออยู่พอกิน ทาให้ปริมาณสัตว์น้าเกิดทดแทนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
- การบรรยายประวัติการต่อสู้เพื่อผืนป่าใจกลางเมืองของคณะกรรมการป่าชุมชนและ
ปราชญ์ป่า จังหวัดระยอง นักศึกษามีความรู้สึกว่าคนกลุ่มเล็ก ๆ ก็สามารถต่อสู้เพื่อรักษาผืนป่าไว้ได้ไม่ตกเป็นของนายทุน ทาให้ได้ข้อคิดในเรื่องของความสามัคคี การเห็นประโยชน์ส่วนรวมเพื่อที่จะรักษาสิ่งหนึ่งไว้จากกลุ่มนายทุน อีกทั้งเรียนรู้จากผู้นาชุมชนในการน้อมนาศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปปฏิบัติอย่างได้ผล ทาให้รู้สึกมีพลังเข้าเป็นแนวร่วมการอนุรักษ์ฯ
2.3) กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและส่งเสริมทักษะเรียนรู้การทางานเป็นทีม
- กิจกรรมการเดินป่า การทาประโยชน์จากป่าสู่อาหารและอาชีพ โดยนาพืชพื้นถิ่นมาทา
ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมอาชีพชุมชน อาทิ น้าชะมวง น้าพริกชะมวง เป็นต้น นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ว่า การได้เดินป่าทาให้รู้สึกถึงความร่มรื่น เห็นพืชพันธ์นานาชนิดที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เห็นคุณค่าของพืชพันธ์ที่สามารถนามาใช้ทากิน นามาต่อยอดทาให้มีมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้ทาให้ชีวิตดีขึ้น อีกทั้งได้เรียนรู้จากคุณลุง คุณป้าในชุมชน สอนให้ทาแชมพู สบู่ น้าชะมวง ที่เป็นพืชพื้นถิ่นให้เกิดประโยชน์สนุกมาก
- กิจกรรมการเรียนรู้และเข้าใจวิถีชาวประมงผ่านการลงมือออกตกหมึกด้วยวิธีแบบดั่งเดิม
ที่ไม่ส่งผลทาลายทรัพยากรทางทะเลเพราะไม่ทาประมงที่เกินขนาด กิจกรรมอนุรักษ์สวมชูชีพลงเรือสารวจปะการัง ปลาประเภทต่าง ๆ ที่อาศัยบริเวณบ้านปลาที่พวกเราสร้างขึ้น กิจกรรมสร้างบ้านปลาหรือซั้งเชือก เพื่อเสริมสร้างแหล่งอาศัยสัตว์น้าบริเวณกลางน้าให้กับชุมชนประมงชายฝั่ง ตามแนวคิดของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดาริ โดยกิจกรรมนี้เป็นการฝึกวินัยและความรับผิดชอบใน
การทางานเป็นทีมให้สาเร็จ
- กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความซาบซึ้งในความงดงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าควรแก่การหวงแหนให้อยู่ยั่งยืน ได้แก่ กิจกรรมการพูดคุย รู้จักปลาในแนวปะการังที่ได้พบเห็นในทะเลชุมพร