KM Day 2021
เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ Q1 Q2
สถาบันภาษาอังกฤษ
ผู้เล่าเรื่อง: อ. ณธกร เสถียรชยากรผู้บันทึก: ผศ.ดร.พนิตนาฏ ชูฤกษ์ และ อ. ภูวกร ศรีกาญจนา
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการและฝ่ายทดสอบวัดผล ประจำสถาบันภาษาอังกฤษ
มีหน้าที่ จัดบริการโครงการวิชาการภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย แบบที่มีรายได้และไม่มีรายได้ ติดตามผลโครงการ และรายงานผลโครงการให้กับผู้อำนวยการทราบ
ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
ผู้เล่าได้เล่าประสบการณ์การเรียนรู้ เกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ และ อธิบายเรื่องดัชนีที่ใช้วัดคุณภาพวารสารและผลงานวิจัยสำหรับการตีพิมพ์ เรียกว่า Journal Quartile เพื่อให้นักวิจัย อาจารย์ หรือบุคคลที่สนใจ ใช้ประกอบการพิจารณาเบื้องต้น ในการนำ ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยการค้นหาว่า วารสารที่เลือกตีพิมพ์ จัดอันดับอยู่ Quartile หรือ Q ใด ประกอบด้วย Q1, Q2, Q3 และ Q4 โดยที่ Q1 มีระดับสูงสุด ตามด้วย Q2, Q3 และ Q4 ตามลำดับ
ผู้เล่าได้เขียนบทความวิจัยจำนวน 4 ชิ้น ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับ Q1 และ Q2 ดังนี้
1) Journal: Journal of Multilingual and Multicultural Development (Q1)
Title: Contextualizing English Language Teaching in Thailand to Address Racialized and “Othered” Inequities in ELT
2) Journal: Discourse and Interactions (Q2)
Title: Deconstruction of the Discourse of Femininity: A case of Thai Girls’ Schools
3) Journal: Reflection (Q4)
Title: Integrating Seamless Leaning within a Peer-Assisted Learning Center to Develop Student English Academic Writing Skills
4) Journal: Thailand TESOL Journal
Title: Collaborative Autoethnography: Challenging Experiences as Course Developers and Trainer for English Communication For the Front Office
ผู้เล่าเรื่อง หรือผู้สร้างผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ ระดับ Q1 Q2 Q3 Q4 ต้องการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ตรงของตนเอง รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ และแนวทางการแก้ไข ให้แก่คณาจารย์ บุคลที่สนใจ สามารถนำความรู้ของผู้เล่าเรื่องไปใช้ประโยชน์ ด้านการพัฒนาการเผยแพร่ผลงานวิจัยในอนาคต
จุดเริ่มต้นของความสนใจในการเขียนบทความของผู้เล่า คือ เริ่มต้นจากการเขียนผลงานวิจัยตอนเรียนปริญญาโท เมื่อส่งไปแล้ว ได้รับ comment จาก reviewer ค่อนข้างหนักมาก แต่แนวคิดจากข้อตำหนิเหล่านั้นทำให้มุมานะ และอยากจะสู้ จึงเขียนมาเรื่อยๆ จนสามารถส่งบทความได้ถึง 4 ชิ้น
ความรู้เดิม
วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
- การเริ่มต้นทำวิจัย
- การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
- การหาวารสาร (Journal) สำหรับการตีพิมพ์
6.1 การเริ่มต้นทำวิจัย
6.1.1 ต้องหาหัวข้อของการทำวิจัย ว่าต้องการทำเรื่องใด โดยการอ่านหนังสือ Applied Linguistic Book เป็นจำนวนมาก และเลือกหัวข้อที่สนใจ เช่น SLA, ELT,Discourse Analysis, or Pragmatic โดยเลือกมา 1 หัวข้อ และหาช่องโหว่ในหัวข้อนั้นๆหรือเป็นหัวข้อที่ยังไม่มีผู้ใดทำวิจัย
6.1.2 เลือกรูปแบบและเครื่องมือในการทำวิจัย เช่น Quantitative หรือ Qualitative หรือ Mix Methodology
6.2 การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
การเขียนงานวิจัยในระดับนานาชาติ จำเป็นต้องดำเนินตามรูปแบบ IMRD Format ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
IMRD Format: 1) Introduction
Ideal
Problems
Gaps
Fill in the gaps with this study
Purpose
RQs
2) Literature
a. How to indicate what is known and unknown
b. How to write each section and how to connect to the others
3) Method
4) Results
5) Discussion
6) Conclusion
ผู้เล่าเน้นย้ำว่า ส่วนที่สำคัญที่สุดในการได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ คือ ส่วน Introduction และ Literature เพราะ Reviewer จะดูความสอดคล้องของทั้งสองส่วนเป็นสำคัญ โดยการเขียน Introduction จะเป็นส่วนแรกที่จะทำให้ Reviewer เห็นอย่างชัดเจนว่าภาพรวม (Ideal) ปัญหา (Problem) และช่องโหว่ (Gaps) คืออะไร และผู้วิจัยพยายามตอบปัญหานั้นๆ หรือปิดช่องโหว่นั้นอย่างไร (Fill in the gaps with this study) หลังจากนั้นจึงเล่าวัตถุประสงค์ (Purpose) และตามด้วยคำถามวิจัย (RQs) ขั้นตอนการเขียนทั้งหมดต้องสามารถพิสูจน์ให้ Reviewer รู้ถึงปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาที่จะได้จากงานวิจัย และเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้วิจัย และสังคม ในส่วน Literature ผู้วิจัยจำเป็นต้องหาข้อมูลจากทั่วโลกว่ามีใครทำวิจัยในเรื่องเดียวกันบ้าง และผู้วิจัยต้องหาช่องโหว่ เพื่อหาหัวข้อสำหรับทำวิจัยในเรื่องนั้นๆ ซึ่งอาจยังไม่มีผู้ใดเคยทำมาก่อน
ทั้งนี้ ผู้เล่าเน้นย้ำว่า งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนหรือผู้ทำวิจัยควรจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่ดีใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา และสำหรับงานเขียนฉบับแรก ผู้เล่าแนะนำว่าควรมีผู้ทำวิจัยร่วม โดยเฉพาะผู้ทำวิจัยร่วมในฉบับแรกควรจะเป็นชาวต่างชาติที่เป็น English Native-Speaker จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้วิจัย เพื่อให้ชาวต่างชาติได้มีส่วนช่วยในเรื่องการ Proof Reading ในงานวิจัยนั้น
6.3 การหาวารสาร (Journal) สำหรับการตีพิมพ์
6.3.1 การหา Journal ที่เหมาะกับการวิจัยของผู้ทำวิจัย ผู้เล่าแนะนำให้ตรวจสอบได้ที่ website: www.journalfinder.elsevier.com โดยแบ่งเป็น Journal ระดับชาติ คือ TCI (Thailand Citation Index) ซึ่งมีมาตรฐาน Tier 2 ในระดับ Standard และ Tier 1 ในระดับ Advance นอกจากนี้ Journal ระดับนานาชาติ โดยแบ่งมาตรฐานออกเป็น Q1-Q4 โดย Q1 มีมาตรฐานสูงที่สุด และผลงานที่ได้ตีพิมพ์ใน Journal ระดับ Q1-Q4 จะเข้าไปในระบบฐานข้อมูล Scopus เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำวิจัยสามารถนำผลงานวิจัยในระบบฐานข้อมูลดังกล่าว มาใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหรืออ้างอิง
วิธีการหา Journal ที่เหมาะสมในการส่งบทความวิจัย มีวิธีการดังนี้
a) เข้า website: www.journalfinder.elsevier.com
b) ใส่ชื่อเรื่อง และ เนื้อหา Abstract ในช่องค้นหา “Paper title” และ “Paper abstract” เพื่อหา Journal ที่เหมาะสม
c) กด “Find journal”
d) Website จะแสดง Journal ต่างๆ ที่เหมาะสมกับบทความวิจัย โดยแสดงเป็นลำดับตั้งแต่ 10-1 ในรูปของจำนวนเปอร์เซ็นต์ (ลำดับ 10 = 90% ถึง 99% ของความเหมาะสม)
6.3.2 หลังจากหา Journal สำหรับการตีพิมพ์ได้แล้ว ผู้เล่าแนะนำว่าควรตรวจสอบระดับความน่าเชื่อถือของ Journal นั้นๆ ผ่านทาง BEALL’S LIST
6.3.3 ผู้เล่ายังได้อธิบายถึงตัวชี้วัดคุณภาพของ Journal นั้นๆ ว่าอยู่ในกลุ่มใด มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับใด โดยดูจาก Journal Quartile Score ซึ่งเป็นการวัดการประเมินและจัดอันดับวารสารนั้นๆ เช่น SJR (Scimago Journal Ranking) จากฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น Q1, Q2, Q3, Q4 โดย Q1 มีมาตรฐานสูงที่สุด ซึ่งถือว่าเป็น Journal ระดับนานาชาติ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด
Q1 = Top position (เป็นกลุ่มวารสารที่ดีที่สุดในสาขา)
Q2 = Middle-high position
Q3 = Middle-low position
Q4 = Bottom position
6.3.4 ผู้เล่ายังได้แนะนำวิธีการตรวจสอบระดับ Journal ว่าอยู่ในระดับใด ระหว่าง Q1-Q4 โดยตรวจสอบจาก website: www.scimagojr.com โดยมีวิธีการดังนี้
a) เข้า website: www.scimagojr.com
b) ใส่ชื่อ Journal ในช่องค้นหา
c) คลิก Quartiles หลังจากนั้น website จะแสดงผลว่า Journal ฉบับนี้อยู่ในระดับใด ระดับ Q1-Q4 โดยค่าระดับจะมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาแต่ละปีที่มีการจัดลำดับ
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
ผู้เล่าได้รับความสำเร็จในการตีพิมพ์งานวิจัยจำนวน 4 ชิ้น และผู้เล่า เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว ว่า ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเขียนผลงานวิจัยเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในระดับ Q1-Q4 ให้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับ Q4-Q3 ก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยพัฒนาไปเป็นระดับ Q2-Q1 ตามลำดับขั้น เนื่องจากผู้เล่า ได้รับประสบการณ์การ comment จาก reviewer ค่อนข้างหนักมาก ผู้เล่าจึงได้แนะนำผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการเขียนผลงานวิจัยเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ ในขั้นตอนและเทคนิคต่างๆ และนำไปใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเรื่องการเขียนบทความวิจัยให้ได้ตีพิมพ์ระดับชาติ และในระดับนานาชาติ ในภายภาคหน้า