KM Day 2021

Smart Camp Sart New Normal

สำนักงานกิจการนักศึกษา
ผู้เล่าเรื่อง: นายกรวิชญ์ ไทยฉาย
ผู้บันทึก: นางสาวกนกกร ชูแก้ว
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

สำนักงานกิจการนักศึกษา จัดโครงการเตรียมความพร้อมผู้นำนักศึกษา เป็นประจำทุกปี ซึ่งจัดมาแล้ว 35 ครั้ง ในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา จัดเป็นครั้งที่ 36 โดยในแต่ละปี จะเปลี่ยนหัวข้อ ซึ่งขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้นและให้สอดคล้องกับแผนพัฒนานักศึกษา เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มคน อาจเกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ทำให้สโมสรนักศึกษา ชมรม ยกเลิกกิจกรรม ทางฝ่ายกิจการนักศึกษา จึงมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้จัดกิจกรรมในรูปแบบ New Normal ในส่วนของสำนักงานกิจการนักศึกษา จึงได้คิดสร้างสรรค์โครงการตัวอย่าง เพื่อเสริมทักษะให้กลุ่มผู้นำนักศึกษาสามารถดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ New Normal ได้ในอนาคต ดังนั้น โครงการเตรียมความพร้อมผู้นำนักศึกษา Smart Camp ครั้งที่ 36 จึงจัดในหัวข้อ “เมื่อโลก(โรค)ขยับ นักกิจกรรมต้องปรับตัว” โดยแบ่งการจัดกิจกรรมเป็นรูปแบบการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการสร้างสรรค์เนื้อหาผ่านสื่อออนไลน์ และลงพื้นที่ชุมชนเกาะเกรีด จ.นนทบุรี เพื่อศึกษาเครื่องมือทางภูมิปัญญาตามวิถีชีวิตชนบทเพื่อใช้ประกอบการจัดทำกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์ในลำดับต่อไป
กิจกรรมที่ 1 : อบรมการใช้เทคโนโลยีหัวข้อ “IT Trends ในยุค COVID-19 และ Storytelling เรียนรู้ล้านเล่าให้เขาเข้าใจ” ในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ณ ห้อง 1-301 อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์
โดยกิจกรรมนี้ จัดเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมโดยใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ด้านเนื้อหาใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ความปกติใหม่ (New Normal) เช่น กิจกรรมให้ความรู้ในด้านเทคโนโลยีในแวดล้อมความปกติใหม่ และการให้ความรู้ในด้านการสร้างสรรค์เนื้อหาให้มีความน่าสนใจและตอบโจทย์ผู้รับสารในสถานการณ์ความปกติใหม่ (New Normal)
กิจกรรมที่ 2 : ภาคปฏิบัติลงพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน “Storytelling ชุมชนเกาะเกร็ด”วันที่ 17-18 ตุลาคม 2563 ณ ชุมชนเกาะเกร็ด ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
เพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้สร้างรายได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นความรู้ในการประกอบใช้สร้างสรรค์โครงการให้สอดคล้องกับความปกติใหม่และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบแต่มีเครื่องมือในรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรมที่ 3 : ระดมความคิดแบบกลุ่ม สร้างสรรค์ผลงานหรือรูปแบบกิจกรรมโดยใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์และนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบและแชร์ความคิด ณ สถานที่นำเสนอผลงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกลุ่มอื่นสามารถนำความคิดนั้นไปเสริม เติม แต่ง ในโครงการหรือรูปแบบกิจกรรมของตนในอนาคตได้

ความรู้เดิม

วิธีการ : ประชุมเพื่อวางแผน คิดหัวข้อ ประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมบุคลากรของสำนักงานกิจการนักศึกษา เพื่อเตรียมงานและหารือแนวทางปฏิบัติงาน จากนั้นเสนอผู้บริหารมอบหมายงานให้บุคลากรสำนักงานกิจการนักศึกษา รับผิดชอบและดำเนินการงานในแต่ละส่วน รวมถึงวางแผนการจัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
กระบวนการหรือทำให้งานประสบความสำเร็จ :
จัดประชุมกับนักศึกษากลุ่มที่ชอบทำกิจกรรมจิตอาสา ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อจะได้ทดสอบแนวคิดแล้วนำมากำหนดเป็นสาระในการจัดกิจกรรมในที่สุดจึงได้จัดเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ภาคการอบรม...เสริมสร้างแนวคิดและทักษะในด้านเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการทำจิตอาสา โดยเชิญวิทยากรทั้งในส่วนของการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี และด้านการเล่าเรื่องผ่านสื่อออนไลน์
ส่วนที่ 2 ภาคปฏิบัติ...ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมจริง ณ ชุมชนเกาะเกร็ด ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ถ่ายทำคลิปวิดีโอเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อให้เกิดกิจกรรมจิตอาสาโดยใช้สื่อออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ โดย แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นทั้งหมด 6 กลุ่ม เพื่อจัดทำคลิปวิดีโอเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก)
ปัญหาและอุปสรรค
ฝนตกในพื้นที่ ทำให้มีเวลาน้อย อย่างไรก็ตามนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้และมีความตั้งใจในการทำงานและเรียนรู้

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

การพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้นำหรือแกนนำในการจัดกิจกรรมในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal) พบว่าในการถอดบทเรียนการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้รับทักษะการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากแต่ละกิจกรรมมีความรู้สอดแทรกอยู่ ซึ่งนักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงขณะลงพื้นที่ รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องคิดเอง เพื่อแก้ปัญหาให้หน้าที่ของตนลุล่วงได้
2. นักศึกษาสามารถระดมความคิดในการแสวงหารูปแบบและแนวทางในการจัดกิจกรรมในรูปแบบความปกติใหม่ได้ ซึ่งเห็นเห็นได้จาก การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการทำกิจกรรมจิตอาสาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นและเผยแพร่ในช่องทางใหม่ได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงพบกระบวนการระดมความคิดในการคิดรูปแบบคลิปวิดีโอใหม่ ๆ ได้เช่นกัน
3. ผู้นำนักศึกษาสามารถสร้างเครือข่ายและคิดต่อยอดกิจกรรมให้มีประโยชน์สูงสุดในรูปแบบความปกติใหม่ได้ สามารถพบได้จากจำนวนการเข้าถึงวิดีโอในช่องทางออนไลน์ของแต่ละวิดีโอที่เผยแพร่ ได้รับจำนวนการเข้าถึงจำนวนมากซึ่งสามารถเห็นได้จากจำนวนการแสดงความรู้สึก (Engagement) ของแต่ละวิดีโอ ซึ่งสามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้จากการเข้าชมผ่าน URL นี้ http://bit.ly/rsusmartcamp36