KM Day 2021

การเพิ่มพูน/พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของนักศึกษา

วิทยาลัยแพทยศาสตร์
ชื่อเรื่อง/กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้

Bedside teaching

ของคณะวิชา: ภาควิชาสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ

2. ข้อมูลความรู้ชัดแจ้งเดิม ที่นำมาปรับปรุง/ประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
2.1 ชื่อความรู้

การเพิ่มพูน/พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของนักศึกษา

2.2 ชื่อเจ้าของความรู้/สังกัด

ผศ.พิเศษ พญ.มิรา โครานา / สังกัดภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

2.3 ที่มาของความรู้
ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้KM Rangsit University
3. รายงานการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการดำเนินงาน
3.1 วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม

ชั่วโมงการเรียนรู้ที่นำเทคนิคการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ เป็นการสอนข้างเตียงผู้ป่วยหรือ Bediside teaching ซึ่งจะเป็นการเรียนการสอนที่เน้นถึงความสามาถทางด้านคลินิกในรูปแบบของการอภิปรายถึงปัญหาของผู้ป่วย แนวทางการรักษา มีการอธิบาย การสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นระยะ และการถามตอบกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมง และสุดท้ายหลังการเรียนจะมีการรับฟังเสียงสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษา

กระบวนการของกิจกรรมคือ

1)แจ้งนักศึกษาแพทย์ถึงรายละเอียดการเรียนโดยมีเงื่อนไขว่าใช้ภาษาอังกฤษตลอดการเรียนการสอน

2)ในชั่วโมงเรียน ใช้ภาษาอังกฤษตลอดการเรียน ยกเว้นการซักประวัติผู้ป่วย และการสรุปการเรียนรู้เป็นภาษาไทยเพื่อทวนความเข้าใจ

3)หลังการเรียน สรุปผลและให้ข้อมูลป้อนกลับสองทาง

3.2 ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

พบว่า สามารถกระตุ้น และสามารถพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งนักศึกษาแพทย์ให้ข้อมูลป้อนกลับว่าทำให้ได้มีโอกาสฝึกการใช้ภาษาอังกฤษ แต่ควรสรุปการเรียนเป็นภาษาไทยด้วยเพื่อความเข้าใจตรงกัน

3.3 รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

เมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกที่นำเทคนิคการสอนเป็นภาษาอังกฤษมาสอน Bedside teaching ในนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 โดยนักศึกษาแพทย์ให้ข้อมูลป้อนกลับว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ทำให้ได้มีโอกาสฝึกการใช้ภาษาอังกฤษ แต่ควรสรุปการเรียนเป็นภาษาไทยด้วยเพื่อความเข้าใจตรงกัน ปีการศึกษานี้จึงมีการดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการเช่นเดิม โดยเพิ่มเติมขั้นตอนการสรุปท้ายชั่วโมงเป็นภาษาไทยเพื่อทบทวนความเข้าใจของนักศึกษาแพทย์