KM Day 2021

การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณค่าของนักศึกษาในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต

สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ดร.เฉลิมพร เย็นเยือก
ผู้บันทึก: ดร.เฉลิมพร เย็นเยือก
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ

มีหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการสำหรับนักศึกษาทั้งระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ให้สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณค่าแก่สังคม ตามเป้าหมายสำคัญของสถาบันฯ

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

คณาจารย์ทุกท่านของสถาบันรัฐประศาสนศาตร์และนโยบายสาธารณะ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยในระดับมหาบัณฑิตและระดับดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณค่า ให้กับนักศึกษา โดยที่ผ่านมาสถาบันฯ ได้มีความพยายามในการจัดกิจกรรม workshop ให้กับนักศึกษาและจากการพบปะพูดคุยกับนักศึกษา จึงทำให้ทราบถึงระดับความพร้อมในการทำวิจัยที่แตกต่างกันของนักศึกษา ถึงแม้จะเป็นนักศึกษาที่อยู่ในรหัสปีเดียวกันก็ตาม จึงได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาที่มีระดับความพร้อมในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่แตกต่างกัน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ  

1.กลุ่มที่ได้ประเด็นแล้ว แต่ยังไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้

2.กลุ่มที่ได้หัวข้อแล้ว ถ่ายทอดออกมาได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถจำแนกข้อมูล หรือกลุ่มตัวอย่างได้

3.กลุ่มที่ยังไม่สามารถเขียนสรุปและอภิปรายผลได้อย่างมีคุณค่า

ทั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญคือ จะได้ให้คำแนะนำในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยได้สอดคล้องกับระดับความพร้อมของนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการดังกล่าว ที่คณาจารย์ได้สังเกตและประชุมร่วมกันของคณาจารย์สถาบันฯ ยังพบข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า มีสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนการทำวิจัย ที่นักศึกษายังต้องเรียนรู้เพิ่มเติมถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เพื่อให้สมบุรณ์และได้รับการยอมรับในระดับสากลเพิ่มขึ้น  ดังนั้น คณาจารย์ของสถาบันฯ จึงได้หารหือร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์มาสร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น จนได้ข้อสรุปถึงแนวทางการจัดสัมมนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

ความรู้เดิม

1.จากเดิมสถาบันฯ มีการจัด work shop ให้กับนักศึกษาเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงให้กับสังคม แต่อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยที่ผ่านมา อาจไม่ได้เติมเต็มในกระบวนการวิธีวิจัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยที่เกิดขึ้น คณาจารย์ของสถาบันฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวและเล็งเห็นว่า การจัด workshop แต่เพียงอย่างเดียว อาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษา จึงได้ประชุมเพื่อหารือ ถึงแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในองค์ความรู้ด้านกระบวนการวิจัยให้เป็นไปอย่างมีคุณค่าและได้รับการยอมรับในระดับสากล

2.คณาจารย์ของสถาบันฯ ได้ข้อสรุปร่วมกัน เป็นสำคัญคือ นอกเหนือจากการจัดกิจกรรม workshop ด้านการวิจัย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายการจัดให้กับนักศึกษาในทุกภาคเรียนอยู่แล้ว สถาบันฯ ได้เพิ่มกิจกรรมการจัดสัมมนาวิทยานิพนธ์ และสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ ให้กับนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยได้ดำเนินการในรูปแบบของการสัมมนา จากกรณีศึกษาหรือผลงานวิจัยที่นักศึกษามีความพร้อม เตรียมขออนุมัติสอบเค้าโครง หรือสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ ดังมีขั้นตอนตอ่ไปนี้

-นักศึกษาที่มีความพร้อมในการสอบเค้าโครง หรือ สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ ส่งข้อมูลที่จะขออนุมัติขึ้นสอบให้กับหลักสูตรฯ และหลักสูตรฯ นำส่งต่อไปยังคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณาร่วมกัน

-หลักสูตรนัดคณาจารย์ทุกท่าน เพื่อกำหนดวันสัมมนา แล้วทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้นักศึกษาที่มีความสนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ โดยมีคณาจารย์ทุกท่านของสถาบันฯ เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใหักับนักศึกษาในการพัฒนา ปรับปรุงผลงาน ก่อนขึ้นสอบจริง กล่าวได้ว่า เป็นการจัดสัมมนาโดยนำผลงานของนักศึกษาเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างให้กับนักศึกษาท่านอื่น ที่เข้าร่วมรับฟังการสัมมนา ได้ถอดบทเรียนเพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับผลงานวิชาการของแต่ละคน และยังป็นการช่วยลดความดื่นเต้นของนักศึกษาก่อนเข้าสอบจริงอีกด้วย เนื่องจากบรรยากาศในการจัดนำเสนอ (สัมมนา) สถาบันฯ ได้จำลองการจัดการนำเสนอให้เป็นบรรยากาศแบบในห้องสอบจริงนั่นเอง

-นักศึกษานำข้อเสนอแนะจากคณาจารย์กลับไปปรับปรุงเพิ่มเติมและสถาบันฯ กำหนดวันสอบจริง โดยมีคณะกรรมการจากภายนอกที่เป็นกรรมการสอบมาเป็นประธานกรรมการสอบ

3.จากผลการจัดกิจกรรมการสอบดังกล่าว ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการสอบและสามารถผ่านการสอบได้ด้วยดีทุกท่านแบะสามารถปรับปรุงพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณค่าสอดคล้องกับการศึกษาทั้งในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตต่อไป

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

นักศึกษามีความมั่นใจในการนำเสนอผลงานวิชาการ เพิ่มเติมมากขึ้น และคณาจารย์ได้ระดมสมองนำเสนอข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ให้นักศึกษาได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้นักศึกษาเกิดความผ่อนกลายและมีความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เป็นไปอย่างมีคุณค่ามากขิ่งขึ้น จนทำให้นักศึกษษในแต่ละรุ่น หรือนักศึกษาที่มีความพร้อม สามารถนำเสนอผลงานและสามารถทำให้จำนวนนักศ฿กษษสำเร็จการศึกษาเพิ่มจขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและจากการที่ได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษานำผลงานของนักศึกษามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้เพื่อนๆ ได้แชร์ประสบการณ์ ในห้องกิจกรรม ทำให้นักศึกษาได้แนวคิดไปจัดทำดุษฎีนิพนธ์ได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ดังประเมินผลได้จากความก้าวหน้าของการจัดทำดุษฎีนิพนธ์ ที่มีความเข้มข้น สมบูรณ์มากยิ่งขึ่้น