KM Day 2021

ความสำเร็จขององค์การที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับกลุ่มหรือในระดับบุคคล

สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์
ผู้เล่าเรื่อง: ดร.เฉลิมพร เย็นเยือก
ผู้บันทึก: ดร.เฉลิมพร เย็นเยือก
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ  มีหน้าที่รับผิดชอบด้านงานวิชาการของสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยให้เิดการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนการสอน อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า

จากการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการภายในของสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะที่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงคณาจารย์ และผู้บริหารของสถาบันฯ ในช่วงระยะที่ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลต่อนักศึกษา ในการจัดทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ต้องการคำแนะนำ อย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ อีกทั้ง จะต้องขับเคลื่อนให้สถาบันฯ ได้เกิดภาพลักษณ์ที่ได้จากภายนอก อันจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้ารับการศึกษาจากบุคคลภายนอกเพิ่มมากขึ้นของสถาบันฯ แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อจำกัดสำคัญของสถาบันฯ ด้านทรัพยากรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องจัดสรรให้กับทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และเหมาะสมกับคุณลักษณะของแต่ละหน่วยงานนั้น จึงทำให้สถาบันฯ ต้องมีการระดมความคิดจากคณาจารย์ และผู้บริหารสถาบันฯ ในการดำเนินการบริหารจัดการสถาบันฯ ให้ประสบความสำเร็จ ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของสถาบันฯ โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์หลักของมหาวิทยาลัยรังสิต  คือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณค่าออกสู่สังคมเป็นสำคัญ

คณาจารย์และผู้บริหารสถาบันฯ จึงได้ประชุมหารือร่วมกันถึงแนวทางการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุดในการบริหารจัดการสถาบันฯ โดยนอกจากทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแล้ว คณาจารย์ของสถาบันฯ ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับกายอมรับในระดับสากล ก็ถือเป็นทรัพยากรสำคัญของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะต้องใช้ศักยภาพของทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ ในการเอื้อให้การดำเนินงานของสถาบันฯ เป็นไปอย่างราบรื่น สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อไป

ความรู้เดิม

1)เดิม การบริหารงานของสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มีองค์ประกอบสำคัญ คือคณาจารย์ที่มีจำนวนมากกว่า 5 คน และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของสำนักงานสถาบันฯ จำนวน 3 คน โดยให้บริการนักศึกษาในหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อสถาบันฯ มีจำนวนนักศึกษาลดลง ซึ่งส่งผลต่อความสอดคล้อง เหมาะสมของจำนวนผู้ให้บริการกับจำนวนนักศึกษา

2)คณาจารย์ของสถาบันฯ จึงได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อวางแผนกำหนดความเหมาะสมของทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากจำนวนนักศึกษาที่ลดลง และการกระจายทรัพยากรของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด โดยปัจจุบัน สถาบันฯ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการนักศึกษา 2 คน ซึ่งประจำหลักสูตรมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ซึ่งสามารถให้บริการนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

3)สถาบันฯ ได้ใช้หลักการบริหารที่เป็นธรรม โปร่งใส่ และมีผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคคลากรที่ชัดเจน ตรวจสอบได้ และมีการกำหนดตัวบ่งชี้ร่วมกันในการประเมินผล จึงทำให้ จำนวนทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ เป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการให้บริการนักศึกษา ให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้อย่างมีคุณค่า

4)นอกจากนี้ ในการใช้ทรัพยากรด้านงบประมาณของสถาบันฯ ได้คำนึงถึงความเหมาะสม และความคุ้มค่าในการจัดการใช้ทรัพยากรงบประมาณเป็นสำคัญ โดยได้มีการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณด้วยการใช้ศักยภาพของอาจารย์ประจำของสถาบันฯ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมตามภาระงานที่กำหนด เพื่อลดการใช้งบประมาณส่วนเกินออกไปได้เป็นจำนวนมาก จากการวางแผนกำหนดภาระงานสอนให้กับคณาจารย์ของสถาบันฯ และยังสามารถทำให้การดำเนินงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย คือ การสร้างสรรค์บัณฑิตที่มีคุณค่าต่ออย่างเหมาะสม

5)สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ ได้มีการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ในสถาบันฯ ถึงความเหมาะสมสอดคล้องระหว่างทรัพยากรที่ได้รับ และความจำเป็นในการใช้จ่าย รวมถึงจำนวนนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสถาบันฯ เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันฯ เป็นไปตามปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัย ตามตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก โดยเน้นความสอดคล้องกับกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ พันธกิจ และวิสัยทัศน์หลักของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ ตามนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น จึงได้มีการวางแผนการรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น ด้วยการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด ที่เข้มแข็งจากการใช้ศักยภาพของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ของสถาบันฯ เป็นปัจจัยหลักในการสร้างการรับรู้ สร้างแรงกระตุ้น และแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป และให้เกิดการบอกต่อเพื่อให้เข้ามารับการศึกษาในสถาบันฯ เพิ่มมากขึ้น ในการนี้ สถาบันฯ ได้วางแผนการจัดสัมมนาท้องที่ เพื่อมุ่งแสวงหาผู้เรียนในระดับท้องที่มากขึ้นจากเดิมที่มีผู้เรียนเป็นระดับท้องถิ่่นเป็นสำคัญ โดยการจัดสัมมนาดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 เพื่อเตรียมพร้อมรับผู้เรียนที่เข้าเรียนในภาคเรียน S/2564

6)สถาบันฯ มีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งกับสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย ทำให้ได้รับการสนับสนุนในการจัดกิจกรรมสัมมนาร่วมกันในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยรังสิตแล้ว จะยังทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตได้จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกด้วย

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และความรู้ใหม่ที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว

1)สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มีจำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2)นักศึกษาทั้งระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ได้รับการบริการจากสถาบันฯ ได้อย่างเหมาะสม ช่วยเพิ่มระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสถาบันฯ มากยิ่งขึ้น ดังปรากฏ พบว่า ขอร้องเรียนในการบริหารจัดการอของสถาบันฯ ลดลงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเปลี่ยนผ่านที่ผ่านมา

3)ความสำเร็จในการบริหารจัดการของสถาบันฯ เกิดจากความสำเร็จในการวางแผนร่วมกันในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาประกอบการปฏิบัติงาน สมาชิกในทีมงาน สามารถทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณบดี และคณบดีสามารถสื่อสาร มอบหมายงานต่างๆ ให้กับสมาชิกในทีมได้ทุกทีทุกเวลา ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จากการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ ช่วยลดอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาด้านสภาพแวดล้อม การจราจร แต่ถึงแม้จะอยู่ที่ใด สมาชิกทุกคนในทีมงานสามารถประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันได้ตลอดเวลาและยังเป็นการบันทึกรายงานการประชุมไปในตัว โดยไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรสาธารณูปโภค ต่างๆ ให้มหาวิทยาลัยเพิ่มเติมอีกด้วย

4)ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การมีผู้นำคือคณบดีที่มุ่งเน้น สนับสนุน ใส่ใจ สร้างให้สมาชิกในทีมคณาจารย์ของสถาบันฯ ได้ร่วมวางแผน คิด วิเคราะห์ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงทีี่มีคุณค่า พัฒนาศักยภาพ และคุณค่าทั้งตัวคณาจารย์ และมุ่งพัฒนาบัณฑิต ให้สำเร็จการศึกษาเป็นดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง โดยพบว่ากลยุทธ์สำคัญของการบริหารจัดการของผู้นำ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ ในที่นี้คือ กลยุทธ์ความไว้วางใจ (Trust strategic) ที่เกิดจากความเชื่อมั่น มั่นใจ ในการดูแล รักษา คณาจารย์ของสถาบันฯ ให้เป็นไปอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และทั่วถึง รวมถึงการให้การสนับสนุน ในความก้าวหน้าเติบโต ของสมาชิกในทีมงาน และกำลังใจที่ดีรวมถึง keep contract อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

5)ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่ส่งเสริมให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถาบันฯ เป็นไปอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างแท้จริง คือ การได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากท่านอธิการบดี แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลระดับสากล จึงทำให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการในภาพรวมเป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้นไป