ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
ท่านมีกระบวนการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
ท่านมีกระบวนการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
ยกตัวอย่างจาก กรณีที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สอนทางด้านเภสัชวิทยา จึงมีตัวอย่างมากมายที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องที่สอน ให้เห็นผลกระทบจากการใช้ยา ให้ นศ ได้ตระหนักถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
มอบหมายให้ นักศึกษาอ่าน หนังสือ หรือ บทความ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอน เช่น มุมมองของผู้ป่วยเมื่อได้รับผลข้างเคียงจากยา เป็นต้น และให้ นศ เขียนแสดงความรู้สึก/มุมมองของนักศึกษาเอง
ระหว่างจัดการเรียนการสอนครูสามารถสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมได้เมื่อเนื้อหาในแต่ละช่วงเอื้ออำนวยให้พูดถึงคุณธรรม จริยธรรมได้ และ ครูต้องไม่มองข้ามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรของนักศึกษาในชั้นเรียน ต้องเตือนและชี้แนะควรควร-ไม่ควร เพราะนักศึกษาอาจไม่ทราบ หรือทราบแต่ละเลย ครูต้องบอกนักศึกษาว่า สิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าทำ เมื่อทำแล้วไม่ดีทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่นหรือคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ครูต้องไม่เห็นว่าการเตือนนักศึกษาในห้องเรียนเป็นการเสียเวลาการจัดการเรียนการสอน
สอนให้นักศึกษายึดมั่นคุณธรรมพื้นฐาน 3 ประการ คือ วินัย เคารพ และอดทน
1 วินัย คือ มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา รู้หน้าที่
2 เคารพ คือ ให้เกียรติผู้อื่น อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คดโกง
3 อดทน คือ มีความมุ่งมั่น มุมานะ ไม่ย่อท้อ
ในการสอนจะมีการสอดแทรกทั้งคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรมเมื่อมีโอกาส (เมื่อนักศึกษาเริ่มง่วงหรอไม่สนใจในเนื้อหาที่เป็นวิชาการ) ส่วนมากเป็นการยกตัวอย่างที่เกิดในปัจจุบัน การเล่าเรื่องที่เป็นบาปบุญให้ฟัง และมีการจัดกิจกรรมเทอมละ 1 ครั้งโดยการพานักศึกษาไปปฏิบัติธรรมนอกสถานที่หรือในมหาวิทยาลัย ที่มีการสอนให้นั่งสมาธิ สวดมนต์ และทำทาน สอนให้นักศีกษารู้จักการแบ่งปัน มีความกตัญญู มีความอดทน ความพยายาม มีจิตอาสา และรู้จักการเสียสละค่ะ
ใช้กรณีศึกษาจากสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในสังคมเพื่อให้เห็นตัวอย่างทั้งที่ดีและไม่ดี ลองยกสถานการณ์สมมติขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมอภิปราย
งานสื่อสารการแสดง เป็นศิลปะร่วม ที่ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อทำให้ผลงานที่ร่วมใจกัน เป็นหนึ่งเดียว เพื่อฝึกเรียนรู้การทำงาน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น เหมือนการจำลองสังคมเล็กๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
ใช้ผู้สอนเป็นแบบอย่าง ทั้งในเรื่อฃการตรงต่อเวลาการให้คะแนนและการประเมิน รวมถึงคำพูดในการสอน
สอดแทรกเรื่องการคัดลอกงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะขัดต่อหลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องการตรงต่อเวลา ถ้าแค่นี้ทำไม่ได้ ก็อย่าหวังว่าจะทำอะไรมากกว่านี้เลย
มุ่งเน้นด้านวินัยและความซื่อสัตย์ เช่น จะให้คะแนนและคำชมเชย สำหรับงานที่นักศึกษาเขียนด้วยความคิดเห็นของตนเองมากกว่างานที่คัดลอกจากที่อื่นและมาตัดแปะ วิธีการตรวจสอบคือ การให้นักศึกษาพรีเซนต์งานของตนเองหน้าชั้นเรียน นักศึกษาที่สร้างสรรค์งานด้วยตนเองจะสามารถพูดได้อย่างมั่นใจและตอบคำถามได้ครับ
ตั้งคำถามสำคัญๆ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ อย่างเป็นรูปธรรม ต้องใช่กรณีตัวอย่างเป็นสื่อเพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรมครับ
ใส่ใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่นการหยิบชิ้นงานแทนเพื่อน ซึ่งไม่เข้าห้องตรงเวลา และชิ้นงานนั้นเป็นตัวระบุการเข้าเรียน แนะนำนักศึกษาเสมอว่าการเป็นผู้นำต้องมีธรรมาธิปไตยอย่างไร และตั้งโจทย์คำถามอย่างเนืองๆ ให้นักศึกษาคุ้นกับสิ่งที่ตนเองต้องประพฤติปฎิบัติในฐานะสมาชิกที่เป็นที่พึ่งได้ของสังคม
ฉัตรวรัญ องคสิงห์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
โดยปกติจะสอทแทรกกับระบบการสอนอยู่แล้ว เช่นการเชคชื่อเพื่อให้นักศึกษามีความรับผิดชอบตรงต่อเวลา. การเคารพในผลงานของผู้อื่นและไม่ละเมิดลิขสิทธ์โดยการไปคัดลอกและเอามาใช้ .. สอนวิธีและมารยาทในการดึงเอาไอเดียมาใช้ในงานของตนและรู้จักให้เครดิต แค่นอกตากนี้ก็จะเป็นการใช้เคสสตัดดี้มาเล่าสู่กันฟังในห้อง ให้นักศึกษาลองคิดเอาใจเขามาใส่ใจเรา เล่าเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงในโลกนอกรั้วมหาวิทยาลัย ในสิ่งแวดล้อมของการทำงานจริงๆ ชี้ให้เห็นถึงผลเสียในระดับองค์กร สืบเนืาองมาจากการขาดวินัยเล็กๆของพนักงาน เพียงคนเดียว
การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนมีความหลากหลายดังนี้ อาทิ
1. เรื่องการตรงต่อเวลา เน้นในเรื่องตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น
2. เรื่องความซื่อสัตย์ เน้นในเรื่องการไม่ลอกงานของเพื่อน การไม่ลอกงานโดยไม่มีการอ้างอิง เป็นต้น
3. ความอดทน เน้นในเรื่องการอดทนต่อการทำงานหนักที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น
การบูรณาการการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
2.1 ผู้สอนเป็นกุญแจที่สําคัญ
การพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะด้านจิตใจที่จะนําไปสู่พฤติกรรมที่ดีนั้นมีหลาย รูปแบบ หลายแนวทางขึ้นอยู่กับแนวคิด และศักยภาพของผู้สอนแต่ละคนที่จะจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักศึกษา และสิ่งสําคัญที่สุดก็คือ ผู้สอนจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีเช่น เรื่องความมีน้าใจ ผู้สอนจะต้องมีพฤติกรรมที่บ่งชีถึงความมีน้าใจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การช่วยเหลือ
- ให้คําแนะนําตักเตือนด้วยความรัก ความหวังดี
- ให้ความรวมมือช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
- ให้เวลาแก่ผู้เรียนทั้งในและนอกเวลาด้วยความเต็มใจ
- บริจาคเงินสิ่งของแก่ผู้ประสบความเดือดร้อน
- จัดหาทุนการศึกษาแกผู้ที่ขาดแคลน
2. การให้กำลังใจ
- แสดงความเห็นอกเห็นใจ ด้วยคําพูดสีหน้าท่าทาง
- ให้ขวัญและกำลังใจในการทำกิจกรรมรวมกัน
- ปลอบโยนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
- ให้อภัยและให้โอกาสในการแก้ตัวใหม่
3. การแสดงความเอื้ออาทร
- ไต่ถามทุกข์สุข ด้วยความห่วงใย
- ดูแลเอาใจใสผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีลักษณะด้อย
- ติดต่อ สอบถาม เยี่ยมเยียนผู้เรียนที่เจ็บป่วย หรือขาดเรียนมากกว่าปกติ
4. การชื่นชมยินดีในความดีงามของผู้อื่น
- ่ ยกยองชื่นชม ผู้ที่ทําความดีหรือประสบความสําเร็จ ด้วยความจริงใจ
- ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงความเป็นมิตรกับทุกคนอย่างสม่ำเสมอ
- แสดงความยินดีต่อผู้ที่ทําความดีหรือประสบความสําเร็จ ด้วยวาจา บัตร ช่อดอกไม้ ของขวัญตามความพร้อม ในโอกาสที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมยกยองผู้ทําความดีหรือประสบความสําเร็จ
มักใช้กรณีศึกษาร่วมกับคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ โดยอธิบายควบคู่ไปกับการวิเคราะห์กรณีศึกษา
การปลูกฝังคุณธรรมเเละจริยธรรมนี้ควรเริ่มที่ครูอาจารย์นี้เเหละ ตัวอย่างที่ดีย่อมมีผลสะท้อนส่งไปถึงศิษย์ ครูมาสอนเลท ครูอาจารย์ที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางไม่รับฟังความเห็นของเด็กจะสอนจริยธรรมคุณธรรมได้ดีเเค่ไหน ถ้าไม่ทำตัวเป็นเเบบอย่างที่ดีเสียก่อน
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet