KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

เราสามารถสอดเเทรกธรรมาธิปไตย ผ่านกิจกรรมการรับน้องใหม่ของเเต่ละคณะได้หรือไม่

2ถึง3ปีมานี้มีวิชาธรรมมาธิปไตยเกิดขึ้นในมอรังสิต จึงอยากเสนอข้อคิดเห็นว่าควรบูรณาการวิชานี้หรือควบรวมเข้ากับกิจกรรมรับน้องใหม่ของเเต่ละคณะไปเลย มีการให้เกรดให้คะเเนนเหมือนปกติ เพื่อจะกระตุ้นให้เด็กเห็นประโยชน์จากการทำกิจกรรมรับน้องในเชิงสร้างสรรค์ใหม่ๆ จัดครูผ้ดูเเลกิจกรรมเป็นโค้ชอยู่ห่างๆลงสอนหรือร่วมกิจกรรมเป็นบางครั้ง สร้างความผุกพันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องจากวิชาธรรมมาธิปไตยนี้ไปเลยครับ

บัณฑิต เนียมทรัพย์ (คณะศิลปะและการออกแบบ) เมื่อ 2019-05-20 14:42:32 Like 0

เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ค่ะ

แต่โดยส่วนตัว คิดว่าอาจจะไม่สามารถให้เกรดกับเรื่องการรับน้องได้ เพราะการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิทธิที่เด็กสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าร่วมหรือไม่

การรับน้องเป็นกิจกรรมแรกที่นักศึกษาใหม่จะได้พบกับสังคมใหม่ที่เค้าจะต้องเจอ ถ้าการรับน้องมีความสนุก น่าสนใจ สร้างความสามัคคีในระดับที่พอเหมาะพอสมควร คิดว่านักศึกษาจะไม่ต่อต้าน

ในขณะเดียวกัน อาจารย์ควรเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทางและขอบเขตอย่างกว้างๆ ให้กับรุ่นพี่ ซึ่งในแต่ละคณะก็มีวิถีหรือการทำกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป

เช่น วิทยาลัยดนตรี มีคอนเสิร์ตที่นักศึกษาจะต้องจัดกันตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตที่อยู่ในวิชาเรียน (การสอบโดยการเล่นคอนเสิร์ต), คอนเสิร์ตประจำปีที่จัดเป็นธรรมเนียมแต่ไม่ได้อยู่ในวิชาเรียน (เช่น คอนเสิร์ตงานเข้าลานแบร์), คอนเสิร์ตอื่นๆ (เช่น งานเทศกาลต่างๆ ของมหาวิทยาลัย) เป็นต้น

ซึ่งงานคอนเสิร์ตเหล่านี้ ต้องสละเวลาและใช้คนจำนวนมาก ทั้งนักดนตรี ทีมเครื่องเสียง ทีมงานจัดเวที ฯลฯ และที่ผ่านมา นักศึกษาที่ทำกิจกรรมดังกล่าว มักจะเป็นนักศึกษากลุ่มเดิมที่ช่วยงานอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งคนช่วยงานมีพอ บางครั้งมีไม่พอ ทำให้นักศึกษาที่ช่วยงานอยู่เป็นประจำเริ่มหมดกำลังใจ

จากปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าเราปลูกฝังนักศึกษาเข้าใหม่ตั้งแต่ตอนทำกิจกรรมรับน้อง ให้เด็กคุ้นชินกับการร่วมกิจกรรมเหล่านี้ตั้งแต่แรก คาดว่าจะทำให้นักศึกษาเกิดความเคยชินกับทำงานเพื่อส่วนรวม และไม่คิดว่าการช่วยกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง

การแก้ปัญหาที่กล่าวมา ทางวิทยาลัยดนตรีไม่ได้แก้อย่างปุบปับ แต่จะใช้วิธีค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป โดยการที่อาจารย์ผู้ดูแลกิจกรรมนั้นๆ จะลงไปช่วยดูแลกิจกรรมเท่าที่ทำได้ มีการลงพื้นที่จริง ให้คำปรึกษา หรือทำให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง รวมถึงพูดคุยกับเด็กอย่างเป็นกันเองค่ะ ไม่เพียงแต่อาจารย์ในคณะ แต่คณบดีจะลงมาช่วยดูแลกิจกรรมของนักศึกษาด้วยตัวเองอยู่เสมอ พวกเราดูแลกันเหมือนครอบครัวมากกว่าการใช้วิธีการให้คะแนนหรือให้เกรดค่ะ อาจจะทำให้เด็กทั้งคณะเข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้ก็จริง แต่เริ่มจากทำเท่าที่ทำได้ค่ะ

ด้วยความเคารพ

ภาศิณี สกุลสุรรัตน์ (วิทยาลัยดนตรี)

ภาศิณี สกุลสุรรัตน์ (วิทยาลัยดนตรี) เมื่อ 2019-05-28 09:36:21 Like 1


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet