KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

จุดกำเนิด Sunsato 4.0 สาโทแห่งสุริยะ

ในงานปลูกข้าว ของชุมชนหนองสาหร่าย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561  ทางคณะเทคโนโลยีอาหาร โดยรศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล ได้นำสาโทแดงที่ดำเนินการวิจัยไว้ไปเสริฟในงานครั้งนี้ด้วย  จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจจากคนในพื้นที่  ต่อมาในงานเทศกาลข้าวไทยที่จัด ณ ลานคนเมือง ระหว่างวันที่ 19-24 ธันวาคม  2561 กรมข้าวติดต่อขอให้นำสาโทแดงไปออกบูธและจำหน่ายเพื่อสร้างบรรยากาศแก่งาน ก็ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานจำนวนมากรวมถึงจากผู้แทนจากชุมชนหนองสาหร่ายที่มาออกบูธใกล้ๆกัน  จากนั้นได้มีการติดต่อผ่านทาง ดร.สุทัศน์ สุรวาณิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและอาหารได้ขอให้ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างจริงจังสู่ชุมชนหนองสาหร่าย โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก ศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการวิทยาลัย  อ.พีระพงศ์ สาคริก รองอธิการฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา  และผศ.ดร.วราพร ลักษณลม้าย คณบดีคณะเทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต
 

สร้างรอยยิ้มชาวนา เพิ่มมูลค่าข้าวไทย
สร้างรอยยิ้มชาวนา เพิ่มมูลค่าข้าวไทย

สาโทแดงนี้ มีความพิเศษและแตกต่างจากสาโทแดงที่เคยรู้จักกันทั่วไป  เพราะเป็นสาโทที่ไม่ได้ผลิตจากข้าวเหนียว  ไม่ได้ใช้ข้าวเหนียวดำที่ทั้งราคาแพงและหมักช้า  แต่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากข้าวเจ้าเม็ดแข็งที่มีราคาถูก และใช้ปลายข้าวซึ่งเป็นส่วนที่เป็นผลพลอยได้ที่แทบจะไม่มีราคาเลยมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักและทำให้เกิดสีแดงด้วยการเติมหัวเชื้อราที่แยกจากอังคัก   เมื่อข้าวมีสีแดงแล้วก็จะนำมาใช้หมักเป็นสาโท  ดังนั้น ไม่ว่าจะปลูกข้าวเจ้าสายพันธุ์อะไรก็สามารถเอามาใช้เป็นวัตถุดิบหมักราแดงได้  อยู่ท้องที่ใดก็ทำได้   แต่งานวิจัยที่ถ่ายทอดไปยังมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีกขั้นตอนหนึ่ง  เนื่องจากชุมชนหนองสาหร่ายมีแปลงนาข้าวเจ้าปทุมธานี 1อินทรีย์ของตนเอง สามารถเลือกเก็บเกี่ยวข้าวระยะสุกงอมได้ไม่ต้องรีบเกี่ยวขายโรงสี   รศ.ยุพกนิษฐ์ ได้ขอความร่วมมือกับคุณแรม ผู้นำชุมชนหนองสาหร่ายให้เอาข้าวเปลือกที่พ้นระยะพักเมล็ด 1 เดือนมาเตรียมเป็นมอลต์ก่อนเพื่อให้ข้าวเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมือนข้าวเหนียว คือ มีความหวานจากน้ำตาลที่ย่อยด้วยอินเนอร์เอนไซม์ระหว่างการเพาะงอก พร้อมกับสร้างและสะสมสารไบโอฟังชั่นนอลไว้ในเมล็ด ได้แก่ สารกาบาสารฟีนอลิกส์ สารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหารละลายน้ำและกลุ่มวิตามินบีทั้งหมด ซึ่งทางชุมชนก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่   เพราะรู้ว่ากำลังจะได้ผลิตภัณฑ์เจ๋งที่น่าตื่นเต้นไม่เพียงแค่สาโท แต่ยังหมายรวมถึงอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่จะทำเพื่อบริโภคให้แข็งแรงในครัวเรือนก็ได้หรือจะทำจำหน่ายก็ยังไหว

สาโทแห่งสุริยะ (SUNSATO) สาโทแดงจากข้าวเจ้าปทุม
สาโทแห่งสุริยะ (SUNSATO) สาโทแดงจากข้าวเจ้าปทุม

ผู้มีส่วนร่วม คือ กลุ่มนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอาหารชั้นปีที่ 3 ในวิชา FTH341 เทคโนโลยีการหมักที่ร่วมศึกษาคัดเลือกสายธุ์ราแดงที่เหมาะสมในการหมักข้าวปทุมธานี  ให้มีสีแดงเข้มและเต็มไปด้วยสารไบโอฟังชันนอล  นักศึกษาวิชา IS และ special project ที่ร่วมกันวิจัยจนได้ฐานข้อมูลการหมักเป็นสาโทคุณภาพดีทั้งแบบมีและแบบไม่มีแอลกอฮอล์ในระยะเวลาอันสั้น เป็นวิธีที่ไม่สลับซับซ้อน เหมาะกับการนำไปขยายผลใช้กับชุมชน  พัฒนาจนเป็น Sunsato 4.0 สาโทแห่งสุริยะ ที่มีรสชาติดี ผู้บริโภคในการยอมรับ
 

ธฤต อภิสิทธิวงศ์ (คณะเทคโนโลยีชีวภาพ) เมื่อ 2019-06-26 17:14:03 Like 2

เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันสร้างผลงานสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อหลายๆ ฝ่าย เช่น อาจารย์ นักศึกษาและเกษตรกร เป็นต้น และน่าจะใช้เป็นโมเดลสำหรับการเรียนการสอนเพื่อสร้างประโยชน์ให้ดับสังคมต่อไป

พิชญา โพธินุช (คณะเทคโนโลยีชีวภาพ) เมื่อ 2019-06-28 07:49:37 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet