เพื่อฝึกฝนนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้นปีที่ 2 ให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ดังนั้นคณะเทคนิคการแพทย์จึงได้สร้างรายวิชาทักษะการสื่อสารสำหรับเทคนิคการแพทย์ Communicative skills for medical technology (MTH 203) เข้าไปอยู่ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555 โดยมีจำนวนหน่วยกิต 2(1-2-3) วิชา MTH203 โดยเน้นในเรื่องของทักษะการสื่อสารทั้งในชีวิตประจำวัน และภาษาอังกฤษที่ใช้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ โดยเน้นการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ การนำเสนอบทความ และการเรียนรู้จากสื่อทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ขั้นตอนในการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1: การเตรียมการเพื่อเปิดสอน ขั้นที่ 2: ขั้นที่ 3: ประเมินผลการสอน และ ขั้นที่ 4: พัฒนาการเรียนการสอน
จากผลการประเมิน และข้อเสนอแนะในปีที่ผ่านมา จึงได้ทำการพัฒนาการสอนวิชา MTH 203 ในปี 2557 คือ จัดทำโครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ทักษะการสื่อสารสำหรับเทคนิคการแพทย์ ให้กับคณาอาจารย์ผู้ร่วมสอน มีการเพิ่มจำนวนอาจารย์ผู้ร่วมสอน จากเดิม 12 ท่าน เป็น 16 ท่าน มีการปรับปรุงเนื้อหาใน Laboratory book เพื่อใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติการ มีการอบรมหรือดูงานเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมยังต่างประเทศ และจัดทำ websites รายวิชา ด้วย google sites เพื่อให้วิชานี้มีความทันสมัยมากขึ้น ด้าน เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ในการสอนวิชานี้ใช้เทคนิคการสอนแบบ activity based learning โดยวางแผนการสอนเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเรียน มีเนื้อหาหลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้ ในการสอนจะเน้นในเรื่องของความหมายของคำศัพท์ และการแก้ไขปัญหาต่างๆในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ในการสอนวิชานี้ยังได้นำเอา PPP model และ 3-stage model มาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว จากบทเรียนผู้สอนต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ลำดับการสอนอย่างถ่องแท้ถึงจะสามารถนำข้อมูลให้กับนักศึกษาได้อย่างถูกต้องโดยประยุกต์บทเรียนจากตำราสู่การปฏิบัติอย่างยิ่งยวดเพื่อประโยชน์กับตัวนักศึกษาเอง ควรมีการประชุมเพื่อระบุแผนการสอนอย่างชัดเจน นอกจากนี้นักศึกษามีพื้นฐานภาษาไม่เท่ากัน จึงกล้าแสดงออกไม่เท่ากัน ต้องมีการกระตุ้นให้ทุกๆคนมีส่วนร่วม c]t บทเรียน active learning ต้องมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน และมีการพัฒนาผู้สอนให้เข้าใจแนวทางการสอนอย่างสม่ำเสมอ จากการวัดผลโดยใช้ Class GPA พบว่า ได้เท่ากับ 3.23 นักศึกษาได้ผลการเรียนค่อนข้างดี และมีผู้ที่ได้เกรด A 1 ใน 3 ของนักศึกษาทั้งหมด (ร้อยละ 32.1) แสดงถึงความตั้งใจและเอาใจใส่ของนักศึกษา และอาจารย์ผู้สอน