หลักการและเหตุผล
ในปี ค.ศ.1950 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก หรือ Problem Based Learning ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในระบบการเรียนการสอนสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ณ โรงเรียนแพทย์ Case Western Reserve University School of Medicine มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา แต่ไม่แพร่หลาย จนกระทั่งปี ค.ศ.1969 โรงเรียนแพทย์ที่ McMaster University รัฐออนตาริโอ แคนาดา ได้นำเอาไปใช้เป็นหลักสูตรทั้งหมดของโรงเรียนแพทย์ จึงทำให้ PBL เป็นที่รู้จักแพร่หลายมานับแต่นั้น
PBL เป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น โดยอาศัยปัญหาจริงในการปฏิบัติการของวิชาชีพนั้นๆ เป็นตัวแกน และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้และทักษะด้วยตนเอง โดยผ่านขั้นตอนการแก้ปัญหาที่จัดไว้ให้โดยอาศัยเครื่องมือการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ที่ถูกกำหนดไว้ตามหลักสูตร บทบาทการเรียนการสอนจะเน้นที่ผู้เรียนไม่ใช่ผู้สอน ในระบบ PBL การใช้วิธีบรรยายและการป้อนความรู้แบบอื่นแทบจะไม่มีหรือมีน้อยมาก ผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมในรูปของโจทย์ปัญหา จัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ ให้ เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการเรียนรู้เท่านั้น
ปัจจุบัน PBL ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลสัมฤทธิสูงทางการศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพในแขนงอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องด้วย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในหลากหลายสาขา ดังนั้น ทางฝ่ายวิชาการ โดยศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน จึงได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “PBL กับ การจัดการสอนทางแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะแก่อาจารย์ผู้สอน ให้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการ ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
2. เพื่อให้คณาจารย์รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของผู้สอนและผู้เรียน ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
3. เพื่อให้คณาจารย์ได้ทราบถึงแนวทางการสร้างหลักสูตรและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
4. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้รับประสบการณ์ เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการสอนในรายวิชาของตนเอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
วันเวลาและสถานที่
วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2551 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ ห้องสัมมนา 1-302 ชั้น 3 อาคาร 1 (อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์)
ผู้เข้าร่วมโครงการ
คณาจารย์จากกลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก โดยได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นวิทยากรในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนหลายรุ่น นอกจากนั้น ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ PBL แก่สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนอีกหลายแห่ง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:19
# | รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม |
---|---|
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก | |
1) | วัฒนา ชยธวัช |
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ | |
2) | รังษิต บุญแต้ม |
3) | วรชน ยุกตานนท์ |
4) | สุชาดา วุฑฒกนก |
คณะเทคนิคการแพทย์ | |
5) | เครือวัลย์ คุ้มครอง |
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ | |
6) | ปิยนุช ทองผาสุก |
7) | สุภวรรณ บุญระเทพ |
8) | ปฐม โสมวงศ์ |
คณะวิทยาศาสตร์ | |
9) | พัตรา สุนทรฐิติเจริญ |
10) | ศิริรัตน์ คล่องพานิชภักดิ์ |
11) | สุธารทิพย์ เรืองประภาวุฒิ |
12) | กาญจนา จันทร์ประเสริฐ |
13) | กนกพร ฉายะบุระกุล |
14) | บุษบา พิพิธพร |
15) | ปถมาพร สุกปลั่ง |
16) | อัจฉราวรรณ ทองมี |
17) | นันทนิตย์ หงษ์ศรีจินดา |
18) | เสมา สอนประสม |
19) | ทัศนีย์ ปัญจานนท์ |
20) | สมพิศ อิ่มใจ |
21) | อินทิรา แถมพยัคฆ์ |
22) | ธเนศ พงศ์ธีรรัตน์ |
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน | |
23) | กชพร ต้นสินธุ์ |
24) | สมบัติ พุฒตาล |
25) | อดิศร สิริสี |
26) | อธิวัฒน์ กัณหเวก |
27) | สมบุญ นาคพรม |
28) | เบญจพร เกาะแก้ว |
29) | เกษสุดา ไชยวงศ์ |
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ | |
30) | วราพร ลักษณลม้าย |