ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "การเสริมสร้าง ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้"

 

หลักการและเหตุผล

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนามนุษย์ ว่า องค์ประกอบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มี 3 ด้าน คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา การที่บุคคลจะพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้น จึงต้องมีมิติการพัฒนาที่ครบถ้วนทั้ง 3 ประการ ประการแรก คือ ศีล หรือ การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม หมายถึง การพัฒนาพฤติกรรมทางกายและวาจา ให้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง ในที่นี้คือ สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือ เพื่อนมนุษย์ และ สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ คือ ปัจจัย 4 เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้ง เทคโนโลยี และสิ่งทั้งหลายที่มีในธรรมชาติ ประการที่สอง คือ สมาธิ หมายถึง การฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจิตใจเป็นฐานของพฤติกรรม เนื่องจากพฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นจากความตั้งใจ หรือ เจตนา และเป็นไปตามเจตจำนงและแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลัง ถ้าจิตใจได้รับการพัฒนาให้ดีงามแล้ว ก็จะควบคุมดูแลและนำพฤติกรรมไปในทางที่ดีงามด้วย แม้ความสุข ความทุกข์ ในที่สุดก็อยู่ที่ใจ ยิ่งกว่านั้น ปัญญาจะเจริญงอกงามได้ ต้องอาศัยจิตใจที่เข้มแข็ง สู้ปัญหา เอาใจใส่ มีความเพียรพยายามที่จะคิดค้น ไม่ท้อถอย ยิ่งเรื่องที่คิดหรือพิจารณานั้นยากหรือละเอียดลึกซึ้ง ก็ยิ่งต้องมีจิตใจที่สงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย คือต้องมีสมาธิจึงจะคิดได้ชัดเจน เจาะลึกทะลุได้ และมองเห็นทั่วตลอด จิตที่ฝึกดีแล้ว จึงเป็นฐานที่จะให้ปัญญาทำงานและพัฒนาอย่างได้ผล ประการที่สาม คือ ปัญญา หมายถึง การพัฒนาปัญญา ซึ่งมีความสำคัญสูงสุด เพราะปัญญาเป็นตัว นำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด คนเราจะมีพฤติกรรมอะไร อย่างไร และแค่ไหน อยู่ที่ว่าจะมีปัญญาชี้นำหรือบอกทางให้เท่าใด และปัญญาเป็นตัวปลดปล่อยจิตใจ ให้ทางออกแก่จิตใจ เช่น เมื่อจิตใจอึดอัดมีปัญหาติดตันอยู่ พอเกิดปัญญารู้ว่าจะทำอย่างไร 
จากสาระที่ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวไว้ข้างต้น เห็นได้ว่า ศีล สมาธิ และปัญญา หรือรวมเรียกว่า ไตรสิกขา ที่ประกอบเข้าด้วยกันอย่างสอดคล้องและสมดุล คือ แกนหลักในการพัฒนาตนเองของมนุษย์ ทั้งนี้ ในแง่มุมด้านการศึกษา ศีล สมาธิ และปัญญา ล้วนแล้วแต่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุผลสำเร็จ เนื่องจาก การที่ผู้เรียนจะเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรายวิชาและผ่านเกณฑ์การวัดผลได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมอยู่ในระเบียบวินัย มีความอุตสาหะ พากเพียร สุจริต มีสมาธิมุ่งมั่น และมีปัญญาในการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ผู้สอน จึงควรได้รับความรู้ความเข้าใจ และมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการเสริมสร้าง ศีล สมาธิ และปัญญา แก่ผู้เรียน อันจะส่งผลให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาตนเต็มตามศักยภาพ เกิดความสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษา มีวุฒิภาวะทางความคิด รู้จักใช้วิจารณญาณในการพิจารณา กลั่นกรอง และตัดสินใจ บนพื้นฐานของหลักธรรมาธิปไตยที่จะสร้างสังคมให้สุขสงบอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมการสัมมนา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการเสริมสร้าง ศีล สมาธิ และปัญญา ให้แก่ผู้เรียน
2. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมการสัมมนา มีเวทีในการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ จำนวน 60 คน

วิทยากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมสุดา ผู้พัฒน์ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

วัน เวลา สถานที่

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552 เวลา 9.00 - 12.00 น. ห้อง 11-401 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. อาจารย์ผู้เข้าร่วมการสัมมนา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการเสริมสร้าง ศีล สมาธิ และปัญญา ให้แก่ผู้เรียน
2. อาจารย์ผู้เข้าร่วมการสัมมนา มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้


วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:43

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2009 เวลา 09:00 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
1) ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด
2) ศศิรินทร์ แลบัว
3) วนิดา โอศิริพันธุ์
4) กิ่งกมล ลีลาจารุวรรณ
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
5) สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาศัย
6) ต่อศักดิ์ อุทัยไขฟ้า
7) นพพร แสงสุวรรณ
8) ลาวัณย์ วิจารณ์
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
9) ยุพา เต็งวัฒนโชติ
คณะวิทยาศาสตร์
10) ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม
11) นิดสัน นนศิริ
12) วราภรณ์ โรจนศิริวงศ์
13) วัฒนา แซ่โหลว
14) ศิรินภัสร์ วนันท์หิรัญกุล
15) เพ็ญนภา มานิตย์โชติพิสิฐ
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
16) ดลฤทัย บุญประสิทธิ์
สถาบันการบิน
17) พินิจ ชาติไทย
สถาบันภาษาอังกฤษ
18) ปรีติ ปิยภัทร์
19) สุกัญญา โพธิสิทธิ์
20) จิตติมาน เกียรติวชิรพันธ์
21) มาลี รุ่งไหรัญ
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
22) ปิ่นประภา ประวิตรสกล
23) ชัชชญา พีระธรณิศร์
องค์กรอาสาสมัคร
24) อรุณรัตน์ เทพฉิม
25) ทิวาพร สมภิพงษ์
26) วิมล งามราศรี
27) อริสรา กลิ่นเกษร
คณะเทคนิคการแพทย์
28) ธรรมนิตย์ นิตย์คำหาญ
29) อุษณี ทรัพย์เจริญกุล
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
30) นิศากร จุลรักษา
31) ประกายจันทร์ กมลทิพย์สุคนธ์
32) ศิริวรรณ วาสุกรี
33) สุมามาลย์ ปานคำ
34) วุฒิพงษ์ ชินศรี
35) วิไลลักษณ์ ตรีพืช
คณะบริหารธุรกิจ
36) จันทนา ก้อนทอง
37) เบญจมาศ ชาญสมร
38) ลัดดาวรรณ์ มัณยานนท์
วิทยาการการออกแบบ
39) คงรัฐ สุนทรโรจน์พัฒนา
40) พิสิษฐ์ โพธิ์แก้ว
41) ศิรดา ศรีแก้ว
42) ชินภัศร์ กันตะบุตร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
43) ปาริสุทธิ์ เลิศคชาธาร
คณะศิลปศาสตร์
44) ชลาศัย กันมินทร์