ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "การจัดการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียน"

 

หลักการและเหตุผล

          ในโลกแห่งการศึกษายุคปัจจุบัน ความสามารถที่สำคัญที่สุดกลายเป็น “ความสามารถในการเรียนรู้” เนื่องจากแนวคิดทางการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป (Paradigm shift) จากโครงสร้างการศึกษาเดิมที่ยึดติดกับเวลา สถานที่ ใช้กรอบของห้องเรียนและสถานศึกษาเป็นหลัก แหล่งข้อมูลหลักคือตำรา คาดหวังในเนื้อหาความรู้ที่แน่นอน ผู้เรียนเป็นผู้รับ ผู้สอนแสดงบทบาทหลักในการเป็นผู้ถ่ายทอดและคาดหวังว่าให้ผู้เรียนทุกคนจะได้รับเนื้อหาเหมือนกันหมดในความเร็วเท่ากัน สถาบันการศึกษาเป็นโรงงานผลิต และวัดผลด้วยการสอบครั้งสุดท้าย โดยได้เปลี่ยนมาใช้กรอบแนวคิดใหม่ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบไม่จำกัดเวลาและสถานที่ แหล่งข้อมูลที่ไม่จำกัด ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และผู้เรียนเป็นผู้ค้นหา แสวงหา และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ผู้สอนจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับคำถามที่น่าสนใจว่า ทำไมต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมี "การเรียนรู้ด้วยตนเอง" (Self - directed learning)  และจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
          การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) ซึ่งมีความเชื่อเรื่องความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดี มีความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง สามารถหาทางเลือกของตนเอง มีศักยภาพและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างไม่มีขีดจำกัด มีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในการวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผลความก้าวหน้าในการเรียนของตนเอง นอกจากนั้น ยังเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้ง ทำการตั้งเป้าหมายในการเรียน  แสวงหาผู้สนับสนุน  แหล่งความรู้  สื่อที่ใช้ในการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ผู้เรียนอาจได้รับหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ในการกำหนดพฤติกรรมตามกระบวนการก็ได้
          จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่คณาจารย์ทุกท่านควรให้ความสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้มีขึ้นในตัวผู้เรียน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้เรียนมีใจรักที่จะศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ ก็จะเกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และมีแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นไม่สิ้นสุด ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learner) หรือ บุคคลแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน (Learning person) อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา อีกทั้ง เป็นการสนองตอบต่อแนวปรัชญาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student Centered) 

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางและเทคนิคการจัดการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียน
          2. เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับประยุกต์ใช้สร้างแผนการสอนตามนโยบายมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ 

กลุ่มเป้าหมาย

          อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ จำนวน 60 คน

วิทยากร

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย : รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

วัน เวลา สถานที่

          วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2552 เวลา 13.00-16.30 น. ห้อง 11-704 ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ  มหาวิทยาลัยรังสิต

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1. อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางและเทคนิคการจัดการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียน
          2. อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับประยุกต์ใช้สร้างแผนการสอนตามนโยบายมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ


วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:45

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2009 เวลา 13:00 ถึง 16:30น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
สถาบันวิจัย
1) รังษิต บุญแต้ม
คณะวิทยาศาสตร์
2) ศิริรัตน์ คล่องพานิชภักดิ์
3) พิมพ์วิภา เอื้อศิลามงคล
4) สมเกียรติ แสงอุไร
5) ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม
6) รวมพร มณีโรจน์
7) วราภรณ์ โรจนศิริวงศ์
8) วัฒนา แซ่โหลว
9) ศิรินภัสร์ วนันท์หิรัญกุล
10) อภิธวัฒน์ จรินทร์ธนันต์
11) ธมลวรรณ ส่วนอรุณสวัสดิ์
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
12) พัชรี คำธิตา
13) สินี สุขกรมใส
คณะศิลปศาสตร์
14) สุรางศรี วิเศษ
15) สุนทรา ธรนากร
16) ศนิวาร วุฒฑกุล
สถาบันการบิน
17) สุนทร อารยะปรีชา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
18) สุชาติ เชษฐพันธ์
19) พรนภา แก้วลาย
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
20) ลือชา วนรัตน์
คณะพยาบาลศาสตร์
21) กรรณิกา สุขจิตร
22) ทีปภา แจ่มกระจ่าง
23) ปริยาภรณ์ มณีแดง
24) ปาริชาติ เทวพิทักษ์
25) พีรยา สุธีรางกูร
26) ภัทรวดี ผลโภค
27) วรรณไพร แย้มมา
28) วิมลรัตน์ บุญเสถียร
29) วิลาวัลย์ แก้วอ่อน
30) อาทิตยา สุวรรณ์
คณะบริหารธุรกิจ
31) ลัดดาวรรณ์ มัณยานนท์