ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการฝึกอบรมคณาจารย์ เรื่อง "การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทางสถิติ"

 

หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา มีการกำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงานปริญญานิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอขอสำเร็จการศึกษา  ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ความสามารถด้านการทำงานวิจัย ตลอดจนมีทักษะเกี่ยวกับการใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัย เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานปริญญานิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ ให้แก่นักศึกษาได้ นอกจากนั้น การทำงานวิจัยยังเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของอาจารย์ผู้สอนในการสร้างผลงานทางวิชาการ รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและของสถาบันการศึกษา  นอกจากนั้นฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ยังได้ให้การสนับสนุนคณาจารย์ในการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ได้แก่ งานวิจัยในชั้นเรียน และงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนประเภทต่างๆ  ซึ่งในกระบวนการทำงานวิจัยต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพและรูปเชิงปริมาณ โดยข้อมูลในรูปเชิงปริมาณ ผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อช่วยในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ดังนั้น ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมนี้ขึ้น เพื่อเสริมสร้างให้คณาจารย์มีความรู้และทักษะในการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ตลอดจนมีความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทางสถิติได้อย่างถูกต้อง 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทางสถิติได้อย่างถูกต้อง 
2. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมมีเวทีในการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานวิจัยของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 60 คน



วิทยากร

รองศาสตราจารย์ ดร. บุญเรียง ขจรศิลป์ 
: รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

วัน เวลา สถานที่

วันพุธที่ 3 มีนาคม 2553 เวลา 9.00-16.00 น. ห้อง 11-401 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ  มหาวิทยาลัยรังสิต

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทางสถิติได้อย่างถูกต้อง 
2. อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรม มีเวทีในการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานวิจัยของตนเองได้


กำหนดการโครงการฝึกอบรมคณาจารย์ 
เรื่อง การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทางสถิติ
วันพุธที่ 3 มีนาคม 2553 เวลา 9.00 - 16.00 น.
ห้อง 11-401 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยรังสิต

*****************************************

08.30 – 09.00 น.   ลงทะเบียน
09.00 – 10.30 น.   การบรรยาย เรื่อง การเลือกใช้สถิติพื้นฐานในการวิจัย และขั้นตอนพื้นฐานในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window
10.30 – 10.45 น.   รับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง การแปลผลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ในการคำนวณค่าสถิติพื้นฐาน และไคว์สแควร์ Frequencies, Descriptive, Mean, Crosstab, Multiple Response

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น. การบรรยาย เรื่อง การแปลผลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ในการหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์
14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.00 น. การบรรยาย เรื่อง การแปลผลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มสองกลุ่ม Independent Sample T Test, Paired Sample T Test


หมายเหตุ ระยะเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:49

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพุธที่ 3 มีนาคม 2010 เวลา 09:00 ถึง 16:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
2) ทัศนีย์ ปัญจานนท์
3) วิริยา พันธ์ขาว
4) ศศิพร พนโสภณกุล
5) ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม
6) พรพิมล เกียรติภาพันธ์
7) พิศมัย จินันทุยา
8) เนาวรัตน์ ธาราทรัพย์
9) วนิดา พงศ์สถาพร
10) ทองใบ จันสีชา
11) รณรงค์ พละศูนย์
12) จีรนันท์ ทองแป้น
คณะบัญชี
13) จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล
14) วัฒนี รัมมะพ้อ
15) อัครวัฒน์ พิมพ์แสง
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
16) ชนินทร รัตตสัมพันธ์
17) ลาวัณย์ วิจารณ์
18) เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์
19) อังคณา พันธ์หล่อ
คณะเทคนิคการแพทย์
20) กาญจนา สุริยะพรหม
21) กิตติศักดิ์ แถวนาชม
22) ณัฐวุฒิ วงษ์ดีไทย
23) ปราณีรัตน์ แสงเกษตรชัย
24) สิริมา กิจวัฒนชัย
25) ปราณี ศรีราช
26) สุดาภรณ์ เก่งการ
สถาบันภาษาอังกฤษ
27) กาญจนา ชีวาสุขถาวร
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
28) นิศากร จุลรักษา
29) ประกายจันทร์ กมลทิพย์สุคนธ์
30) นิธิภา อาจฤทธิ์
31) อรนุช ปุณยกนก
32) ศิริวรรณ วาสุกรี
33) วุฒิพงษ์ ชินศรี
34) วิไลลักษณ์ ตรีพืช
คณะพยาบาลศาสตร์
35) กรรณิกา สุขจิตร
36) ปาริชาติ เทวพิทักษ์
37) ภัทรวดี ผลโภค
38) ประภา รัตตสัมพันธ์
39) ดาริณี สุวภาพ
40) ดวงพร ผาสุวรรณ
41) ปราณี ทัดศรี
42) ศศิพินธุ์ ศุภมนตรี
คณะศิลปศาสตร์
43) นัยนา คำแดง
44) นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์
45) ศิริมน ศรีนพรัตน์
46) จอมแก้ว วิเศษชลหาร
47) ลาตีฟะ กิตติธรรมรัตน์
48) ชลาศัย กันมินทร์
สถาบันวิจัย
49) มีนมาส พรานป่า
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
50) แน่งน้อย บุญยเนตร
51) สยัมวรา เชื้อทิน
วิทยาการการออกแบบ
52) จุฑาทิพย์ กาญจนไตรภพ
53) ชุติมา อาจไชยชาญ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
54) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์