หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการกำหนดสาระที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ดังปรากฏในมาตรา 24 (5) คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และมาตรา 30 ที่กำหนดให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ระดับการศึกษา การทำงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ในปัจจุบันนั้น นักวิจัยส่วนใหญ่นักวิจัยจะใช้แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงานวิจัย แต่ปัญหาที่พบมากที่สุดจากการใช้แบบสอบถามในการวิจัย ก็คือ “จะสร้างแบบสอบถามอย่างไร จึงจะได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด” ทั้งนี้ การสร้างแบบสอบถามที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้วัดในสิ่งที่จะวัดจะส่งผลให้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการ และไม่ตอบปัญหาการวิจัยอย่างแท้จริง ทำให้ผลงานวิจัยที่ออกมาขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้น การสร้างแบบสอบถามให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพจึงมีความจำเป็นและสำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการสนองตอบต่อนโยบายหลักทางการศึกษาของชาติดังกล่าว ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการผลักดันให้มีการผลิตงานวิจัยทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยการส่งเสริมด้านการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและ เพื่อให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย และสามารถนำเครื่องมือนั้นมาใช้ในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์ผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการ ของการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย
2. เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าอบรม สามารถสร้างแบบสอบถามที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
3. เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าอบรม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการสร้างแบบสอบถามระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบอม
กลุ่มเป้าหมาย
คณาจารย์จากคณะวิชา ของมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 60 คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
เนื้อหาการฝึกอบรม
1. ประเภท และความสำคัญของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
2. หลักการสร้าง แบบวัดความรู้ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดพฤติกรรม
3. เทคนิค กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการสร้างแบบสอบถาม
4. ข้อควรคำนึงในการสร้างแบบสอบถาม
5. การฝึกปฏิบัติการสร้างแบบสอบถาม วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วัน เวลา และสถานที่
วันพุธที่ 8 กันยายน 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ ห้อง 11-805 ชั้น 8 อาคาร รัตนคุณากร (อาคาร 11) มหาวิทยาลัยรังสิต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. คณาจารย์ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการ ของการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย
2. คณาจารย์ผู้เข้าอบรม มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย ที่ถูกต้องตามหลักการ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองได้
กำหนดการ
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน วันพุธที่ 8 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุม 11- 805 อาคารรัตนคุณากร (อาคาร 11)
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 – 10.30 น. การบรรยาย เรื่อง ประเภท และความสำคัญของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดจน หลักการสร้าง แบบสอบถามประเภทวัดความรู้ วัดทัศนคติ และวัดพฤติกรรม
10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง เทคนิค กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. การฝึกภาคปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย
14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.00 น. การฝึกภาคปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการวิจัย (ต่อ) หมายเหตุ ระยะเวลาการฝึกอบรมอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:58