ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "Social Networking กับ การจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง"

 

หลักการและเหตุผล

“Time’s Person of the Year : You”  ประเด็นนี้เคยโด่งดังเป็น Talk of the town สำหรับผู้คนทั่วโลก เพราะเมื่อปลายปี 2006 นิตยสารไทมส์ได้ประกาศให้ “You” หรือให้ “คุณ”  ทุกๆ คนได้เป็นบุคคลแห่งปี โดยไทมส์ได้กล่าวไว้ว่าพลังของมวลชนจากส่วนเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลกนั้น ได้มีส่วนร่วม ช่วยกันสร้างสังคมขนาดมโฬหารขึ้นมาในโลกไซเบอร์ ซึ่งมันไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไปเท่านั้น แต่มันยังเปลี่ยนวิถีทางที่ทำให้โลกนี้เปลี่ยนแปลงด้วย และล่าสุด Mark Zuckerberg ชายหนุ่มวัย 26 ปี ผู้ก่อตั้งและเป็น CEO ของ Facebook ก็ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ให้เป็นบุคคลแห่งปี ประจำปี 2010 สิ่งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในปรากฏการณ์ระดับสากลที่ยืนยันถึงอิทธิพลอันมหาศาลของ Social Networking หรือ สังคมออนไลน์ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน   My Space, Hi5, Facebook, Twitter, YouTube,  Flickr, Multiply, Digg,   del.icio.us, Zickr , skype , BitTorrent, WikiPedia, Sanook, Hunsa, Kapook, Pantip และอื่นๆ อีกมากมาย คือเว็บไซต์สังคมออนไลน์ยอดนิยมทั้งไทยและเทศ ที่เป็นแหล่งรวบรวมทั้งองค์ความรู้และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น ที่คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัย ต่างสาขาอาชีพ เข้าไปใช้บริการกันอย่างถ้วนหน้า เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าโลกไซเบอร์เหล่านี้ ได้ถูกหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้คนไปแล้ว  และกำลังแพร่ระบาดกลายเป็นวัฒนธรรมสากลที่เชื่อมโยงพลเมืองในส่วนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกให้มารู้จัก พูดคุย ใกล้ชิด สนิทกัน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์  Social Networking นั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความร่วมมือ การแบ่งปัน การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยเล็กๆ ที่เชื่อมโยงกันจนเกิดเป็นสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่  ที่ได้เปลี่ยนวิถีทางในการเปลี่ยนแปลงโลกของเรา ทั้งนี้ ในแง่มุมทางด้านการศึกษา บรรดาผู้สอนและผู้เรียนต่างไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่า ชีวิตของท่านได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมออนไลน์ไปแล้วอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ไม่ว่าอาจารย์หรือนักศึกษาในวันนี้ต่างก็ต้องพึ่งพาและใช้งานสังคมออนไลน์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งประโยชน์ของสังคมออนไลน์ในมิติของการสร้างให้ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้นั้นมีมากมาย หากอาจารย์ผู้สอนรู้จักใช้งานให้เป็น สังคมออนไลน์จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่ามหาศาลในการเจียรนัยลูกศิษย์ของท่านให้เป็นเพชรที่เปล่งประกาย กลายบัณฑิตที่มีศักยภาพ “เมื่อเทอมที่ผ่านมา อาจารย์ที่สอนวิชา E-Business ได้กำหนดโจทย์ว่า ให้เลือกนำเสนอเรื่องใดก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับ E-Business โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มให้ไปหาข้อมูล แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้น ในคลาสมีอยู่ทั้งหมด 16 กลุ่ม แต่ละกลุ่มก็เลือกเรื่องที่น่าสนใจมานำเสนอกัน เช่น Internet Banking, Online Money, Internet Marketing และเรื่องอื่นๆ ส่วนกลุ่มของผมทำเรื่อง eBay ครับ ในวันที่นำเสนอ มีเพื่อนในคลาสตั้งประเด็นคำถามว่า ทำยังไงถึงจะขายของใน eBay ได้อย่างประสบความสำเร็จ เราก็พูดคุยแตกประเด็นกันไปมากมาย และสุดท้ายอาจารย์ก็แชร์ความเห็นว่า พวกคุณ เชื่อไหม นอกจากใน eBay แล้ว Facebook  ก็ช่วยทำให้คุณขายของได้ ? ประโยคนั้นจุดประกายความสงสัยในความคิดพวกเรา อาจารย์บอกว่ามันทำได้จริงๆ ถ้าพวกเราอยากรู้วิธีให้ลองไปค้นหาด้วยตัวเอง แล้วค่อยมาคุยกับอาจารย์ว่าเราไปศึกษาอะไรเพิ่มเติมมาด้วยความอยากรู้ พวกเราเลยไปเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับการขายของผ่าน Internet กัน ซึ่งที่นั่นทำให้เรารู้ว่ามีช่องทางการขายที่หลากหลายมากใน Social Networking ที่จะช่วยให้เราขายของได้ เราต่างก็ทึ่งไปตามๆ กัน และนั่นทำให้เรารู้ว่า สังคมออนไลน์มีบทบาทมากขนาดไหน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อย่างไร…..” นี่คือคำบอกเล่าบอกนักศึกษาคนหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการใช้สังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งแน่นอนว่ายังมีรูปแบบ อื่นๆ อีกหลากหลายที่สามารถทำได้ ฝ่ายวิชาการ โดยศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนแก่อาจารย์ จึงได้จัดโครงการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับ Social Networking แก่อาจารย์ผู้สอน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อทำให้อาจารย์ได้รับคำตอบว่า จะทำอย่างไรในการใช้สังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนเพื่อขยายศักยภาพในการเรียนรู้และเสริมสร้างนักศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการใช้สังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนเพื่อขยายศักยภาพการเรียนรู้และเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  

2.  เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับประยุกต์ใช้สร้างกิจกรรมการสอนตามนโยบายมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ จำนวน 60 คน วิทยากร ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์  : ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

วัน เวลา สถานที่

อังคารที่ 18  มกราคม 2554  เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 1-308  อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการใช้สังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนเพื่อขยายศักยภาพการเรียนรู้และเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  

2. อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับประยุกต์ใช้สร้างกิจกรรมการสอนตามนโยบายมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ 

กำหนดการ

โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Social Networking กับการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ”

12.30 – 13.00 น.  ลงทะเบียน และ รับอาหารว่าง

13.00 - 15.30 น. การบรรยาย เรื่อง Social Networking กับการจัดการเรียนการสอน โดย.  ดร.อัจฉริยา  อักษรอินทร์    ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรม NECTEC       

15.30 – 16.00 น. การตอบข้อซักถาม และปิดการสัมมนา


วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 11:07

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันอังคารที่ 18 มกราคม 2011 เวลา 13:00 ถึง 16:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) สุธารทิพย์ เรืองประภาวุฒิ
2) สมเกียรติ แสงอุไร
3) วิรุฬห์ วิชัยบุญ
4) สุเมธ วจนรจนา
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
5) กชพร ต้นสินธุ์
6) สมบัติ พุฒตาล
7) อดิศร สิริสี
8) เดชฤทธิ์ อุดคำมี
9) นฤชา เชยกลิ่นเทศ
10) เสกศักดิ์ เหมือนสุวรรณ์
11) เบญจพร เกาะแก้ว
12) ลิขิต นีรนาทภูรี
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
13) ศุภกิตติ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์
คณะศิลปศาสตร์
14) อดิศักดิ์ นุชมี
15) ศนิวาร วุฒฑกุล
สถาบันวิจัย
16) มีนมาส พรานป่า
17) สรณ์ศิริ หาเรือนชีพ
วิทยาลัยดนตรี
18) สุขชัย ภวการค้าดี
คณะนิติศาสตร์
19) รพีพร สายสงวน
20) สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี
วิทยาการการออกแบบ
21) พิพัฒน์ ลิ้มประไพพงษ์
22) อำพรรณี สะเตาะ
ศูนย์ e-Learning
23) ไชยรัช เมฆแก้ว
24) สุวารี รินรส
25) ธันวภา กงเชิญ
26) ผกาวรรณ พวงผกา
สถาบันร่วมผลิตแพทย์
27) ณัฐวีณา สารพิพัฒน์
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
28) ประพนธ์ จิตตะปุตตะ
29) สิริวุฒิ รัศมีฉาย
Chinese Business
30) ศริตา ศุกลธรรม
ศูนย์ข่าวอาร์เอสยูนิวส์
31) มุฑิตา รัตนมุสิทธิ์
สำนักงานทะเบียน
32) ธงชัย บุญเกิด
33) ปัญญา ต้นสินธุ์
สำนักงานรับนักศึกษา
34) วิรงรอง ศิริพากษ์
35) ดิลก แดงนิ่ม
สำนักหอสมุด
36) พรศรี สุขการค้า
37) นฤมล พฤกษศิลป์
38) ดาวรัตน์ แท่นรัตน์
39) กาญจนา เพ็งคำศรี
40) ประทีป ชินบดี
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
41) วนิดา โอศิริพันธุ์
42) สุเทพ ชูช่วย
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
43) ชัชชญา พีระธรณิศร์
ฝ่ายพัฒนาบุคคล สำนักงานบุคคล
44) นิษฐา วีระชน
45) รัชดา วิวัฒน์สกุลเจริญ
สำนักอธิการบดี
46) ลักขณา วิโรจน์ธีระกุล
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
47) วุฒิพงษ์ ชินศรี
48) วิไลลักษณ์ ตรีพืช