ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการ RSU e-Learning Fest Phase IV

 

หลักการและเหตุผล


                   โครงการ RSU e-Learning Fest  เป็นงานซึ่งทางศูนย์  e-Learning ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการระดมประชาสัมพันธ์ สร้างความตื่นตัวและการมีส่วนร่วม แก่คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงบุคคลทั่วไป ให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ e-Learning  และการนำ e-Learning มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนั้น ยังทำให้ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้รับทราบถึงนโยบายและกิจกรรมของศูนย์ e-Learning  ในช่วงปีที่ผ่านมา  ตลอดจนกระบวนการและแนวทางการสนับสนุนอาจารย์ผู้สอนในการผลิตบทเรียน e-Learning  รวมถึงการขอทุนสนับสนุนเพื่อการผลิตสื่อ e-Learning  

                        และทั้งนี้เนื่องจากตลอดปีที่ผ่านมา ทางศูนย์ e-Learning ได้ร่วมมือกับศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ในการสนับสนุนการดำเนินงานจัดทำสื่อการสอน e-Learning เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นภารกิจที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 อันเป็นผลสืบนื่องจากคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยรังสิต      มีนโยบายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปดำเนินการจัดทำสื่อการสอน e-Learning เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา สถานที่ และจำนวนครั้งในการเรียนรู้ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สื่อดังกล่าวเป็นแหล่งเนื้อหาเชิงทฤษฎีที่นักศึกษาสามารถเข้าไปอ่านทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง เพื่อในชั้นเรียนอาจารย์ผู้สอนจะได้มีเวลาในการหยิบยกเอาประเด็นปัญหา กรณีศึกษา สถานการณ์หรือเหตุการณ์น่าสนใจ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา อันเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในสังคมปัจจุบัน มาให้นักศึกษาได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน อันเป็นการกระตุ้นและฝึกฝนให้นักศึกษาเกิดทักษะในด้านต่างๆ ตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้การสนับสนุนอาจารย์ในการจัดทำสื่อฯ คือศูนย์ e-Learning และ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนได้ร่วมกันดำเนินงานในการผลักดันและให้การสนับสนุนอาจารย์ ทั้งด้านการให้ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อการจัดทำสื่อการสอน e-Learning รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้าน software และด้านเทคนิคเพื่อจัดทำ courseware ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน การทำสื่อฯ ได้เสร็จสิ้นไปแล้วจำนวน 60 รายวิชา ในการนี้ ทางศูนย์ e-Learning (ปัจจุบันคือศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้) และ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนจึงได้ร่วมกันจัดแสดงผลงานสื่อการสอน              e-Learning  ซึ่งมีทั้งสื่อการสอนที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำขึ้นสำหรับเข้าร่วมประกวด และ รายวิชาศึกษาทั่วไป เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของ งาน RSU e-Learning Fest Phase IV ในครั้งนี้ด้วย

                        นอกจากนั้น กระแสการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2015 เป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยรังสิตต้องตระหนักถึงความสำคัญ ซึ่งกิจกรรมส่วนหนึ่งในงานนี้ เป็นการจัดเวทีการเสวนาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะและมุมมองระหว่างนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เกี่ยวกับทิศทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ ว่าจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปสู่ในรูปแบบไหน อย่างไร

 

วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อเป็นการระดมประชาสัมพันธ์ สร้างความตื่นตัวและการมีส่วนร่วม ให้คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงบุคคลทั่วไป เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ e-Learning  และการนำ e-Learning มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้รับทราบถึงนโยบายและกิจกรรมของศูนย์
e-Learning ในช่วงปีที่ผ่านมา 

3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้รับทราบถึงกระบวนการและแนวทางการสนับสนุนอาจารย์ผู้สอนในการผลิตบทเรียน e-Learning รวมถึงการขอทุนสนับสนุนเพื่อการผลิตสื่อ
e-Learning  

4. เพื่อเผยแพร่ผลงานการจัดทำสื่อการสอน e-Learning ให้เป็นที่ประจักษ์แก่อาจารย์ และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงบุคคลผู้สนใจ

5. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเกิดความตระหนักถึงกระแสการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2015

6. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบถึงทิศทางของนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ว่าจะเกิดการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปอย่างไรในยุคเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                        ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ และ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

 

รูปแบบกิจกรรมภายในงาน

 

1.    การจัดเวทีการเสวนาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะและมุมมองกันระหว่างนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิภายในสถาบัน เกี่ยวกับทิศทางของนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ว่าจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปสู่ในรูปแบบไหน อย่างไร ในยุคเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

2.             การประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดผลิตสื่อการสอนของโครงการ e-Learning Design by U  

3.             การจัดแสดงโปสเตอร์เผยแพร่ผลงานสื่อ e-Learning ที่ได้รางวัลของโครงการ     e-Learning Design by U และผลงานสื่อ e-Learning  รายวิชาศึกษาทั่วไป ที่มีความโดดเด่น สวยงาม มีคุณภาพ

4.             การจัดแสดงผลงานสื่อการสอน e-Learning  รายวิชาศึกษาทั่วไป ผ่านทางระบบ on-line เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ตามอัธยาศัย

5.             การจัดซุ้มเล่นเกมและนันทนาการ

 

วันเวลาสถานที่

 

                        วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องชมภาพยนตร์ 201 ชั้น 2  อาคาร ดิจิตัลมัลติมีเดียคอมเพล็กซ์ (อาคาร 15)  มหาวิทยาลัยรังสิต

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

                        1. ผู้เข้าร่วมงานเกิดความตื่นตัวและได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ e-Learning  และการนำ e-Learning มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

                        2. ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้รับทราบถึงนโยบายและกิจกรรมของศูนย์ e-Learning  ในช่วงปีที่ผ่านมา 

                        3. ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้รับทราบถึงกระบวนการและแนวทางการสนับสนุนอาจารย์ผู้สอนในการผลิตบทเรียน e-Learning รวมถึงการขอทุนสนับสนุนเพื่อการผลิตสื่อ
e-Learning  

4. ผลงานการจัดทำสื่อการสอน e-Learning ของโครงการ e-Learning Design by U และของรายวิชาศึกษาทั่วไป  ได้มีโอกาสเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่อาจารย์ และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงบุคคลผู้สนใจ

5. ผู้เข้าร่วมงานเกิดความตระหนักถึงกระแสการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2015

6. ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบถึงแนวทางของนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในยุคเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

 

กำหนดการ

งาน RSU e-Learning Fest Phase IV
วันพฤหัสบดีที่  31 พฤษภาคม  2555
 ณ ห้องโรงภาพยนตร์ ชั้น 2 ห้อง 201 อาคารดิจิตัลมัลติมีเดียคอมเพล็กซ์
  เวลา 08.30
– 12.00 น


08.30 – 09.15       ลงทะเบียน
09.15 – 09.25       การรายงานการดำเนินโครงการ
                                โดย ผศ.ดร.วลัยภรณ์  นาคพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
09.25 – 09.45       กล่าวเปิดงาน RSU e-Learning Fest Phase IV
                                โดย ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
09.45 – 10.45       การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางของนวัตกรรมการศึกษาเพื่อขานรับนโยบายของ
                                มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” โดย

-          ผศ.ดร.อำภาพร นาวงศ์พรหม คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

-          ดร.ปิยสุดา ม้าไว คณบดีคณะศิลปศาสตร์

-          รศ.ดร.วิมล ชอบชื่นชม ผู้อำนวยการสำนักงานวางแผน

-          รศ.ดร.กาญจนา จันทร์ประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์
คณะวิทยาศาสตร์

-          ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้

10.45 – 11.15       ประกาศและมอบรางวัลให้ผู้เข้าร่วมโครงการ e-Learning Courseware design by you

      ครั้งที่ 4

11.15 -  11.45       การแสดงผลงานของคณาจารย์ที่เข้าร่วมประกวดโครงการ e-Learning Courseware design by you  ครั้งที่ 4 และ ผลงานสื่อ e-Learning รายวิชาศึกษาทั่วไป

11.45 – 12.00       ร่วมเล่นเกมและรับของรางวัลมากมาย




วันที่ประกาศ: 6 พฤษภาคม 2555, 10:51

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2012 เวลา 09:00 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
2) เสมา สอนประสม
3) กานดา ว่องไวลิขิต
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
4) กชพร ต้นสินธุ์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
5) สายสวาท ทองสุพรรณ
วิทยาการการออกแบบ
6) สิทธิพร ชาวเรือ
7) วิษณุนาท กตัญญูทวีทิพย์
8) อนัญญาลัลน์ วัฒนะนุพงษ์
9) ชินภัศร์ กันตะบุตร
10) สิรดา ไวยาวัจมัย
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
11) ชนัฏตา สินธนพงศ์
12) ลาวัณย์ วิจารณ์
13) พันธุ์ศักดิ์ ไทยสิทธิ
14) นวพร กุญชรอินทร์
คณะเทคนิคการแพทย์
15) วิมล ชอบชื่นชม
คณะศิลปศาสตร์
16) ปิยสุดา ม้าไว
17) อัจฉรา โหตรภวานนท์
18) วรวรรณ เฟื่องขจรศักดิ์
19) สันติ เมตตาประเสริฐ
RSU Cyber University
20) การุณ ทองชิด
ศูนย์กีฬาและสุขภาพ
21) ไชยรัตน์ รุจิพงศ์
22) สุจิตรา บุญเกิด
23) ทวี เมืองนก
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
24) ชุลีกร นวลสมศรี
25) ศิริวรรณ วาสุกรี
คณะบริหารธุรกิจ
26) พิษณุ สมบูรณ์
27) ลัดดาวรรณ์ มัณยานนท์
28) อารีรัตน์ แย้มเกษร
29) นัยเกียรติ พงษ์พัฒนศึกษา
สถาบันวิจัย
30) อลิสา ยวงนุ่น
31) ฉัตรลดา พุทธรักษา
คณะพยาบาลศาสตร์
32) สุนิสา โลแมกซ์
33) อำภาพร นาวงศ์พรหม
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
34) ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค
สำนักหอสมุด
35) มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ
36) พัชรา หาญเจริญกิจ
37) รัตนาภรณ์ กาศโอสถ
38) ประทีป ชินบดี
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
39) วราพร ลักษณลม้าย
40) เบ็ญจรัก วายุภาพ
คณะบัญชี
41) วันฤดี สุขสงวน
สถาบันการบิน
42) พูนลาภ เอี่ยมเจริญ
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
43) ลักษณา เจริญใจ