ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้เครื่องมือวัดและการประเมินผลตามกรอบมาตรฐาน TQF”

 

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง “การใช้เครื่องมือวัดและการประเมินผลตามกรอบมาตรฐาน TQF”

------------------------

 

 

หลักการและเหตุผล

           พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก กระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรให้จัดทำ “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)” ขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขา/สาขาวิชา รวมทั้งเพื่อใช้เป็นหลักในการจัดทำมาตรฐานด้านต่างๆ เพื่อให้การจัดการศึกษามุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันในการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีคุณภาพ คุณภาพของบัณฑิตทุกระดับ คุณวุฒิและสาขา/สาขาวิชาต่างๆ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดและต้องครอบคลุมอย่างน้อย 5 ด้าน คือ

           1.   ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral)

           2.   ด้านความรู้ (Knowledge)

           3.   ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)

           4.   ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

                 (Interpersonal Skills and Responsibility)        

  5.   ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

       (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) และ

       ด้านทักษะพิสัย ( Domain of Psychomotor Skill) (สำหรับสาขา/สาขาวิชาที่เน้นทักษะ                 ทางปฏิบัติ)

           สถาบันศึกษามีหน้าที่พัฒนา หรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิตามระดับคุณวุฒิของแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือในกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานคุณวุฒิตามระดับคุณวุฒิของแต่ละสาขา/สาขาวิชา ให้ใช้แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 โดยมีหัวข้ออย่างน้อยตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด  ซึ่งเอกสารที่สถาบันศึกษาต้องจัดทำ ประกอบด้วย

 

·       มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร

·       มคอ.3 ราย ละเอียดของรายวิชา

·       มคอ.4 ราย ละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี)

·       มคอ.5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา

·       มคอ.6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี)

·       มคอ.7 รายงาน ผลการดำเนินการของหลักสูตร

                 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2552)

 

           ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ สกอ. กำหนดให้ทางคณะวิชาและอาจารย์ผู้สอนต้องดำเนินการจัดทำรายละเอียดข้อมูลตามแบบ มคอ.1-7 โดยอาจารย์ผู้สอนทุกท่านต้องมีการจัดทำข้อมูลวิธีการสอนในส่วนของ มคอ.3 และการรายงานผลการดำเนินการ ในส่วนของ มคอ.5 ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้จะมุ่งเน้นให้ความรู้แก่อาจารย์ผู้สอนด้านการสร้างเครื่องมือวัด และประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน TQF โดยการสร้างเครื่องมือวัด  3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย

           ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนเชิงวิชาการแก่อาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยรังสิต โดยศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน  จึงจัดโครงการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเลือกเครื่องมือวัดและการประเมินผลตามเกณฑ์มาตรฐาน TQF  เพื่อการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ในคณะวิชานั้นๆ  รวมถึงวิธีการเขียนให้แก่อาจารย์คณะวิชาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย

                  

วัตถุประสงค์

           1.   เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการเลือกเครื่องมือวัดและการประเมินผล ที่เหมาะสมกับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียนจากคณะวิชาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต

           2.   เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนในแต่ละคณะวิชาต่างๆ   ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต

           3. เพื่อเป็นเวทีให้อาจารย์ผู้สอนจากคณะวิชาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดเห็นกับวิทยากรและซึ่งกันและกัน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

           ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน  มหาวิทยาลัยรังสิต

 

ผู้ร่วมโครงการ

           อาจารย์จากคณะวิชาต่างๆ  จำนวน 50 คน

 

วิทยากร

           ดร.เพชรา  พิพัฒน์สันติกุล  อดีตรองผู้อำนวยการ สมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพกากรศึกษา (องค์การมหาชน)

 

วัน เวลา และสถานที่

           วันพฤหัสบดีที่ 9  สิงหาคม  2555  เวลา 08.30-16.30 น. ห้อง 605  ชั้น 5  อาคารอาทิตย์              อุไรรัตน์

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  

           1.   อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการเลือกเครื่องมือวัดและการประเมินผลที่เหมาะสมที่เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน TQF

           2.   อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เกี่ยวกับเลือกเครื่องมือวัดและการประเมินผลที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนและเป็นไปตามกรอบมาตรฐาน TQF และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้จริง

           3.   อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ กับวิทยากรและซึ่งกันและกัน

 

 

 

 

----------------------------


 

กำหนดการ โครงการสัมมนาคณาจารย์

เรื่อง “การใช้เครื่องมือวัดและการประเมินผล

วันพฤหัสบดีที่  9  สิงหาคม 2555   เวลา 09.00-16.00 น.

ณ ห้อง 605  ชั้น 6  อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์  (อาคาร 1)  มหาวิทยาลัยรังสิต

--------------------------------

08.00 – 08.50 น.      ลงทะเบียน และ รับเอกสาร

08.50 – 09.00 น.      พิธีเปิดการสัมมนา

09.00 – 10.30 น.      การบรรยาย เรื่อง เครื่องมือวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามเกณฑ์

                           มาตรฐาน TQF เพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

                           โดย... ดร.เพชรา  พิพัฒน์สันติกุล

10.30 – 10.45 น.        รับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.00 น.            การบรรยาย เรื่อง แนวทางการเลือกใช้เครื่องมือวัดและการประเมินผล

                           และการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน

12.00 – 13.00 น.     รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30  น.     การเลือกเครื่องมือวัดและการประเมินผล ให้เหมาะมกับผู้เรียนในแต่ละคณะวิชาต่างๆ

14.30 – 14.45 น.     รับประทานอาหารว่าง

14.45 -  15.45 น.     อภิปราย และตอบข้อซักถาม

16.00 น.                    ปิดการสัมมนา

 


วันที่ประกาศ: 26 กรกฏาคม 2555, 16:34

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2012 เวลา 09:00 ถึง 16:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
1) วัฒนา ชยธวัช
2) ยุพา เต็งวัฒนโชติ
3) ภาวิณี เส็งสันต์
คณะวิทยาศาสตร์
4) ทัศนีย์ ปัญจานนท์
คณะบัญชี
5) ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ
6) วัฒนี รัมมะพ้อ
7) นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
8) เปรมารัช วิลาลัย
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
9) พัชรี คำธิตา
10) วิศิษฐ์ อยู่ยงวัฒนา
11) นพพร แสงสุวรรณ
12) ลาวัณย์ วิจารณ์
13) รักชาติ แสงวงศ์
14) วรรณวิมล อารยะปราณี
15) พิทักษ์ วิชุมา
16) พิสาน หุ่นทรัพย์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
17) สายสวาท ทองสุพรรณ
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
18) ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด
19) เบ็ญจรัก วายุภาพ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
20) ปาริสุทธิ์ เลิศคชาธาร
คณะศิลปศาสตร์
21) นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์
22) มนชัย มัดยูโก๊ป
คณะเทคนิคการแพทย์
23) เยาวลักษณ์ พิมายนอก
24) อังสนา โยธินารักษ์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
25) แน่งน้อย บุญยเนตร
26) สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์
วิทยาลัยดนตรี
27) นบ ประทีปะเสน
28) สุขชัย ภวการค้าดี
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
29) ปาณิสรา กลั่นเกิดผล
30) ทัศนีย์ เล็บนาค
31) ธนิศา กลันเนียม
32) ปาริตา ปัญจะตะ
คณะดิจิทัลอาร์ต
33) สุทัศน์ ปาละมะ
34) นิรชรา ธนเมธี
35) พนิดา รักษสุวรรณ
36) ชุติกาญจน์ ทองตื้อ
37) นิลุบล บุญจันทร์
คณะทัศนมาตรศาสตร์
38) วิบูลย์ ตันติฤทธิศักดิ์
39) พรพัชรินทร์ วงศ์สายศรี
40) บุปผชาติ แก่นวิจิตร
วิทยาการการออกแบบ
41) กิติสาร วาณิชยานนท์
42) เกรียงศักดิ์ สุวรรณบูล
43) เกียรติศักดิ์ วันจรารัตต์
44) บุญญาณิศา ตันติพิบูลย์
45) เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต
46) ชุติมา อาจไชยชาญ
47) ชินภัศร์ กันตะบุตร
48) สุชีพ กรรณสูต
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
49) ประพนธ์ จิตตะปุตตะ
50) นวพันธ์ คงสวัสดิเกียรติ
51) นิภา วราวนิชกุล
52) อัญภัคร์ ประพันธ์เนติวุฒิ
53) อนงค์ แก้วโมรา
54) ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร
คณะพยาบาลศาสตร์
55) วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
56) ศิริพร วงศ์สายญาติ
57) วิราภรณ์ ทะสังขาร์
58) ทิพย์ธิดา ปาสาจันทร์
59) สาลินี แนวหล้า
60) จิรพิมล ดำรงเชื้อ
ศูนย์กีฬาและสุขภาพ
61) สุจิตรา บุญเกิด
62) จันทบุรี หิมเวช
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
63) วงศกร เจริญพานิชเสรี
64) ศิริวรรณ วาสุกรี
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
65) สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์
66) ฟ้าลั่น กระสังข์
Chinese Business
67) สุดารัตน์ ไพรบึง
คณะบริหารธุรกิจ
68) อารีรัตน์ แย้มเกษร
สถาบันการบิน
69) ศุภกฤต อริยะปรีชา
70) พูนลาภ เอี่ยมเจริญ