ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

การอบรมชิงปฏิบัติการ เรื่อง "โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่"

 

โครงการพัฒนาอาจารย์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 22-23 กันยายน 2555 ณ อัมพวา จ. สมุทรสงคราม

จัดโดย คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

 

....................................................................................

1.         ชื่อโครงการ:                 โครงการพัฒนาอาจารย์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์

2.    ผู้รับผิดชอบโครงการ:        คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาอาจารย์

เป้าประสงค์: คณะวิทยาศาสตร์มุ่งพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ที่กำหนด มีจำนวนเหมาะสมในการผลิตบัณฑิต  มีความสามารถด้านวิชาการ ทักษะ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ สมรรถนะทางวิชาชีพ จิตวิญญาณความเป็นครู เป็นครูมืออาชีพที่สามารถสอน ทำวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ดำรงตนอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี  มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามและเป็นแบบอย่างที่ดี

กลยุทธ์ 3.1 : นโยบายการพัฒนาอาจารย์

3.    ระยะเวลาในการดำเนินการ : วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 15-16 กันยายน 2555

4.   สถานที่ : ณ อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

5.    หลักการและเหตุผล :       

การพัฒนาอาจารย์ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี 2555-2559 เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ขององค์การ การพัฒนาอาจารย์ใหม่ใหม่ถือเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในมิติต่างๆ รอบด้านให้เกิดการพัฒนาตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่ได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

นอกเหนือจากความรู้ความสามารถในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านวิชาการของอาจารย์ที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ อาจารย์ใหม่จำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างความรู้และทักษะที่สำคัญต่อวิชาชีพอาจารย์ คือ ไตรยางค์การศึกษา (OLE) ที่ว่าด้วย วัตถุประสงค์ (objective) กระบวนการจัดการสอน (learning process) และประเมินผล (evaluation) ต่อการสอนรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ปัญญาพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และ ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การออกข้อสอบ การประเมินและวิเคราะห์ข้อสอบ การพัฒนาตนเองด้านงานวิจัยและการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ วิธีการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา รู้จักการทำงานร่วมกัน มีเจตคติและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนต้องตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้บุคลากรใหม่ได้มีโอกาสปรับปรุง พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและสมรรถภาพด้านต่างๆ สามารถปฏิบัติตามหน้าที่และบทบาทของบุคลากรที่ดีต่อองค์การได้ และสอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน ระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในองค์ประกอบที่ 2  การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานกำหนดให้สถาบันต้องมีแผนการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์ทั้งด้านวิชาการ เทคนิคการสอนและการวัดผล และสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ในการประเมินหลักสูตรตามกรอบ TQF ที่กำหนดให้อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนต้องได้รับการปฐมนิเทศหรือได้รับคำแนะนำด้านการเรียนการสอน

เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้แก่อาจารย์ใหม่ให้สอดรับกับแผนพัฒนาดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ จึงได้ร่วมมือกับทางฝ่ายวิชาการ โดยศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ในการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาอาจารย์ใหม่” โดยครอบคลุมเนื้อหาสาระขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ตาม career path โดยนำหลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ โดยได้คิด ได้รวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ตามหลัก “CIPPA”(Construct, Interaction, Physical Participation, Process Learning, and Application)

6.   วัตถุประสงค์ :

6.1      เพื่อให้อาจารย์ใหม่มีความรู้ ทักษะในด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อบริบทของอาจารย์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานปัจจุบันและอนาคตได้ ในเรื่องต่อไปนี้

     6.1.1 หัวใจของความเป็นครู : ไตรยางค์การศึกษา (OLE) ได้แก่ วิธีการสร้างวัตถุประสงค์ กระบวนการสอนและการวัดผลของการสอน 1) ด้านปัญญาพิสัย (Cognitive domain) 2) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) และ 3) ด้านเจตคติพิสัย (Attitude domain)

6.1.2 แนวคิด หลักการ และกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6.1.3 การออกข้อสอบ วิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำคลังข้อสอบ

6.1.4 การพัฒนาตนเองด้านงานวิจัยและการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

6.1.5 การให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา

6.1.6 ทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

6.2      เพื่อให้อาจารย์ใหม่เกิดทัศนคติในเชิงบวก มีความสามัคคีและผูกพันธ์ต่อกลุ่มและองค์การ

7.   กลุ่มเป้าหมาย : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

7.1      อาจารย์และครูปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ อายุงาน < 5 ปี                  24 คน

7.2      วิทยากรและอาจารย์ผู้สนใจ                                                               12 คน

7.3      เจ้าหน้าที่ทำงาน                                                                               4 คน

                                                                                                     รวม       40 คน

8.   รูปแบบและกำหนดการ : ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยนำหลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการฝึกอบรม

เวลา

 

 

 

หัวข้อการเรียนรู้/กิจกรรม

วันที่ 1

 

07.00 - 9.00 น.

ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยรังสิต

ถึงที่พัก ลงทะเบียน

09.00 - 09.30 น.

พิธีเปิดและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

Pretest    แบ่งกลุ่มย่อย  

09.30 - 10.00 น.

บรรยายแนวคิดและหลักการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

องค์ประกอบของไตรยางค์การศึกษา Objective, Learning, Evaluation (OLE) รูปแบบการสอน ปัญญาพิสัย (Cognitive domain), ทักษะพิสัย (Psychomotor domain) และ เจตพิสัย (Affective domain) ……โดย รศ.ดร.ทัศนีย์  ปัญจานนท์

10.00 – 11.30

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมคิดรูปแบบการสอน (30 นาที) และนำเสนอการสอนรูปแบบต่างๆ (กลุ่มละ 10 นาที)

 

อาหารว่างในห้อง

11.30 - 12.00 น.

อภิปรายและสรุปความคิดรวบยอด องค์ประกอบ เป้าหมายและการประเมินผลของวิธีการสอนรูปแบบต่างๆ และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ……โดยรศ.ดร.ทัศนีย์  ปัญจานนท์

12.00 - 13.00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น.

กิจกรรม “รู้จักตน….รู้จักฅน…..รู้จักงาน”….. โดยอาจารย์อรพรรณ ทองประสงค์

14.30 - 15.00 น.

อาหารว่าง

15.00 - 16.30 น.

ปัญหา ถาม-ตอบ การพัฒนางานวิจัยและเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

……โดยผอ. สำนักงานมาตรฐานวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ

16.30 - 17.30 น.

พักผ่อนตามอัธยาศัย

17.30 - 20.30 น.

เดินทางไปชมตลาดน้ำอัมพวา และดูหิ่งห้อย รับประทานอาหารเย็น

20.30 - 21.00 น

กลับเข้าที่พัก

วันที่ 2

 

06.00 - 07.00 น.

กิจกรรม ”ทางเดิน…เดินทาง”…….โดย ผศ.ดร.อภิธวัฒน์ จรินทร์นันท์

07.00 – 08.00 น.

รับประทานอาหารเช้า ทำภารกิจส่วนตัว

08.00 – 09.30 น.

การสร้างข้อสอบ คุณสมบัติของข้อสอบที่ดี

การวิเคราะห์ข้อสอบและการจัดทำคลังข้อสอบ ……โดย รศ.ดร.ทัศนีย์  ปัญจานนท์

09.30 - 10.30 น.

“ให้คำปรึกษาอย่างไร โดนใจนักศึกษา”….ดร.อรรถ สีหะอำไพ

10.30 - 11.00

อาหารว่าง

11.00 - 12.00

กิจกรรม “ส้มตำ…..สอนใจ”……โดยอาจารย์อรพรรณ ทองประสงค์

12.00 - 13.00 น.

อาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น.

กิจกรรม “มุมมองที่แตกต่าง”  และ “ทำงานอย่างไรให้มีความสุข” ”…….โดย รศ.ดร.ทัศนีย์  ปัญจานนท์

14.30 - 15.30 น

กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองของอาจารย์ 3 วัย  “วัยเริ่ม วัยรุ่น วัยรุ่ง“ …….โดย ผศ.ดร.อภิธวัฒน์ จรินทร์นันท์

Post test ปิดโครงการ

15.30 – 17.30 น.

เดินทางกลับ

 

9.   วิธีประเมินโครงการและค่าเป้าหมาย

-     เชิงปริมาณ >        จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย

-     เชิงคุณภาพ >       คะแนนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อวิทยากร ประโยชน์ที่ได้รับ และการดำเนินการจัดงาน มีค่าไม่น้อยกว่า 4.00

10.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

10.1  บุคลากรใหม่ได้รับการเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษายุคปัจจุบันอย่างหลากหลายมิติ สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตามหน้าที่และบทบาทของบุคลากรที่ดีต่อองค์กรได้

10.2  เกิดทัศนคติที่ดี และเกิดความผูกพันในกลุ่มและองค์การ

10.3  ใช้ในการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาและประเมินหลักสูตรตาม TQF


วันที่ประกาศ: 8 มกราคม 2556, 09:20

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันที่ 22 กันยายน 2012 เวลา 08:00น. ถึงวันที่ 23 กันยายน 2012 เวลา 16:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) สุธารทิพย์ เรืองประภาวุฒิ
2) บุษบา พิพิธพร
3) ทัศนีย์ ปัญจานนท์
4) อภิธวัฒน์ จรินทร์ธนันต์
5) พรกมล ทวยเจริญ
6) ปานันท์ กาญจนภูมิ
7) รัชนก ขำศิริ
8) สุพัฒน์ มูลสิน
9) ชนะ ปัญญานนท์
10) หฤทัย ฐานนันท์
11) อรพรรณ ทองประสงค์
12) วราภรณ์ ฉลองกิตติศักดิ์
13) เพชรนรินทร์ โคบุตรี
14) วรัญญา ชมภูพล
15) เด่นฤดี ชนกชนีกุล
16) นพดล สัมฤทธิ์
17) พิมพ์ อินทร์จันทร์
18) จีรนันท์ ทองแป้น
19) ธเนศ พงศ์ธีรรัตน์
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
20) กิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย
คณะเทคนิคการแพทย์
21) กาญจนา สุริยะพรหม
โรงเรียนนายเรืออากาศ
22) อัชฌา แย้มเกษร
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
23) ทิพย์ธิดา ปาสาจันทร์
24) จิรพิมล ดำรงเชื้อ
25) จุฑามาศ ดอกแก้ว
คณะพยาบาลศาสตร์
26) ธัญญรัตน์ กุลณีจิตต์เมธี
27) ศิรกาญจน์ ฉันทเฉลิมพงศ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28) เอนก ภู่ทอง
29) ปุญญาณัฐ นวลอ่อน
เขตการศึกษาคลองพระอุดม
30) วัลลภา รับพร
31) บุคคลภายนอก
คณะบริหารธุรกิจ
32) อารีรัตน์ แย้มเกษร