ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สถิติเพื่องานวิจัยด้วย โปรแกรม R

 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

 เรื่อง สถิติเพื่องานวิจัยด้วย โปรแกรม R  

สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2555 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น9 อาคารรัตนคุณากร (ตึก11) มหาวิทยาลัยรังสิต

 

1.  หลักการและเหตุผล

การเลือกใช้สถิติสำหรับการวิจัย นับเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำวิจัยที่ต้องกำหนดวิธีการวิจัย เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัย อย่างไรก็ตามในการนำสถิติมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย ไม่ว่าจะเพื่อการใด กล่าวคือ เพื่อการพรรณาคุณสมบัติของหน่วยศึกษา / วิเคราะห์  หรือเพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา หรือ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร นอกจากผู้วิจัยจะต้องรู้ว่าตัวเองต้องการนำวิธีการทางสถิติมาใช้เพื่อการใดและประเภทของสถิติแล้ว ผู้วิจัยยังต้องรู้ลักษณะของข้อมูลว่ามีการวัดระดับใด รู้หลักการเบื้องต้นองการใช้สถิติ และรู้การนำเสนอ การอ่าน และการตีความหมายผล ความรู้ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญของการนำสถิติมาใช้ในการวิจัย

อย่างไรก็ตามนักวิจัยสามารถเลือกใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติได้ตามความสามารถ ซึ่งมีทั้งเสียค่าใช้จ่ายและดาวน์โหลดใช้ฟรีจากเว็บไซต์ต่างๆ ในการอบรมครั้งนี้ สถาบันวิจัยเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูป R เพราะเป็นโปรแกรมที่มีจุดเด่นนำมาใช้ได้ฟรีแล้ว ยังมีลักษณะเป็น Object Oriented Language ทำงานในรูปรหัส Source Code ซึ่งสามารถคอมไพล์และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ตระกูลต่างๆ วินโดว์และแมคอินทอซ โปรแกรม R เป็นซอฟต์แวร์ที่รวมเอาคุณสมบัติด้านการจัดการข้อมูล การคำนวณ และการแสดงทางกราฟิกไว้ด้วยกันอย่างดี โดยมีความสามารถในการจัดเก็บ และจัดการข้อมูลชนิด array มีคำสั่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล

ดังนั้น สถาบันวิจัย จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยรังสิตที่สนใจเข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมสถิติ R เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำวิจัยด้วยตนเองต่อไป

 

2.  วัตถุประสงค์

            1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสถิติ R ในการวิเคราะห์สถิติ parametric และ non-parametric

            2. เพื่อได้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรม R ในการทำสถิติเพื่องานวิจัยได้ด้วยตนเอง

 

3.  หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

            สถาบันวิจัย และศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

4.  กลุ่มเป้าหมาย

            บุคลากรของมหาวิทยาลัยรังสิต  จำนวน 50 คน

 

5.  ระยะเวลาดำเนินการ

            วันศุกร์ที่  10 สิงหาคม 2555   เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารรัตนคุณากร (ตึก11) ชั้น 9

 

6.  วิทยากรอบรม

            คุณบุญญาดา นาสมบูรณ์  อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยบูรพา

 

7.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1.  ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะ  ความรู้  ความสามารถเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม R

            2.  ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำความรู้ในการใช้โปรแกรม R  ไปใช้ในการทำงานวิจัยของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


วันที่ประกาศ: 15 มกราคม 2556, 09:31

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2012 เวลา 09:00 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) กนกพร ฉายะบุระกุล
2) ทัศนีย์ ปัญจานนท์
3) จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์
4) กานดา ว่องไวลิขิต
5) พงษ์จันทร์ อยู่แพทย์
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
6) กชพร ต้นสินธุ์
7) เบญจพร เกาะแก้ว
8) เกษสุดา ไชยวงศ์
9) ลิขิต นีรนาทภูรี
คณะบัญชี
10) จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล
สถาบันเศรษฐศาสตร์
11) พรรณี จรัมพร
12) ผการัตน์ จำปาน้อย
13) วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์
14) ยศ อมรกิจวิกัย
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
15) นิศากร จุลรักษา
16) สุพานิช อังศิริกุล
17) วงศกร เจริญพานิชเสรี
18) โกวิท รพีพิศาล
19) ศิริวรรณ วาสุกรี
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
20) ศตพร ภิรมย์โสภา
21) วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา
22) สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ
23) ธัญลักษ์ รุจิภักดิ์
สถาบันวิจัย
24) มีนมาส พรานป่า
25) สรณ์ศิริ หาเรือนชีพ
26) อลิสา ยวงนุ่น
27) กนกรัตน์ ครูกิมโสม
คณะศิลปศาสตร์
28) ณัฐฌาภรณ์ เดชราช
29) ชัชชัย คุ้มทวีพร
สถาบันการบิน
30) ประพนธ์ จิตตะปุตตะ
31) ณัฐพล สุขอ้น
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
32) พิธี ปานศรี
33) วรรณวดี สัลลกะชาต
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
34) ดวงพร สุวรรณกุล
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
35) จิระโรจน์ มะหมัดกุล
36) สมเกียรติ อริยปรัชญา
37) ทัศตะวัน ด่วนตระกูลศิลป์
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
38) ลักขณา ไป่ทาฟอง
39) ลักษณา เจริญใจ
คณะบริหารธุรกิจ
40) ณัฐธงชัย ตรีทวีวงศ์กุล
41) อารีรัตน์ แย้มเกษร
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
42) วิราภรณ์ ทะสังขาร์
43) ทิพย์ธิดา ปาสาจันทร์
44) สาลินี แนวหล้า
45) จิรพิมล ดำรงเชื้อ
46) จุฑามาศ ดอกแก้ว
RSU Cyber University
47) ณัฐนิชา สุดชานัง
คณะพยาบาลศาสตร์
48) ทิวาพร พงษ์มารุทัย
49) น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
50) ณัฐพงศ์ โชติกเสถียร