ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้-ประสบการณ์การเรียนรู้”

 

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง “การสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้-ประสบการณ์การเรียนรู้”

 

ความสำคัญ

        ความรู้ ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับองค์กร ความรู้จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ และ 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ ทั้งนี้ องค์กรสามารถรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ภายในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอนหลักๆ 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดขอบเขตประเด็นความรู้ที่ต้องการจัดการความรู้ 2) สร้างหรือแสวงหาความรู้ที่ต้องการ 3) จัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ 4) ประมวลและกลั่นกรองความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ 5) จัดเวทีเพื่อการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  และ 6) นำความรู้ไปใช้ในการทำงาน

        ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตมีนโยบายในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตอบสนองต่อมาตรฐานการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ในองค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ เกณฑ์การประเมิน ข้อ 1-5 จึงมีการจัดทำ “แผนดำเนินงานการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต” โดยมีกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการจัดตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และคณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคนิคการเรียนการสอน ด้านเทคนิคการพัฒนาภาษาอังกฤษ ด้านธรรมาธิปไตย ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และด้านการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ จากนั้นได้มีการมอบหมายให้คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ แต่ละด้าน ทำภารกิจร่วมกันเพื่อสร้างกระบวนการจัดการความรู้ภายในมหาวิทยาลัยและขยายผลไปสู่คณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ ในการลงมือปฏิบัติ ซึ่งปรากฏรายละเอียดตามแผนการดำเนินงานการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต

        การดำเนินงานตามแผนฯ ดังกล่าว ได้มีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ในฐานะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของคณะกรรมการการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต และมีภารกิจให้การสนับสนุนองค์ความรู้โดยการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้และประสบการณ์

การเรียนรู้ให้แก่คณะวิชาต่างๆ ตามลำดับขั้นตอนของแผนฯ ในลำดับที่ 12 จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างความรู้ให้ตรงกันสำหรับการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างการรับรู้และให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่อง นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการ  ขั้นตอนทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต

2. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติการจัดการความรู้  การสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

3. เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานระบบการจัดการความรู้ อันได้แก่ เว็บไซต์  เว็บท่าความรู้  สารานุกรมออนไลน์ (วิกิพีเดีย) ฯลฯ ของมหาวิทยาลัยรังสิตให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

             

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้แทนจากคณะวิชาต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ของคณะวิชา จำนวนรวมทั้งสิ้น ประมาณ 60 คน

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

 

รูปแบบการฝึกอบรม

การฝึกอบรมเป็นแบบบรรยายผสมผสานกับการฝึกปฏิบัติ ดังนี้

-          การบรรยาย ในหัวข้อ นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กระบวนการ/ขั้นตอน และแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิตไปสู่การสร้างระบบการจัดการความรู้

-          การบรรยายในหัวข้อ การสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้

-          การสาธิตตัวอย่างและฝึกปฏิบัติการถอดความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ด้านเทคนิคการเรียนการสอน  ด้านเทคนิคการพัฒนาภาษาอังกฤษ  ด้านธรรมาธิปไตย ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และด้านการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

-          การนำเสนอเว็บไซต์ KM ของมหาวิทยาลัยรังสิต

 

 

วันเวลาและสถานที่

              วันอังคารที่ 23 เมษายน 2556 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้อง 1-605 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์  

 

วิทยากร

-          รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

-          ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

-          ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา

-          ดร.กฤษดา ศรีแผ้ว

-          ผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัยรังสิต

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ เรื่อง นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการขั้นตอนทางการปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต

2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้

3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงภายในคณะวิชาของตนเองได้

 

วิธีประเมินโครงการและค่าเป้าหมาย

-    เชิงปริมาณ >         จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย

-    เชิงคุณภาพ >         คะแนนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อวิทยากร ประโยชน์ที่ได้รับและการดำเนินการจัดงาน มีค่าไม่น้อยกว่า 4.00

-------------------------------------------------------------------------

 

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง “การสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้-ประสบการณ์การเรียนรู้”

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2556 เวลา 13.00-16.30 น.

ณ ห้อง 1-605 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์

****************************************************************

12.30-13.00 น.   -   ลงทะเบียน

13.00-13.15 น.   -   พิธีเปิดการฝึกอบรม โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

13.15-14.00 น.   -   การบรรยายในหัวข้อ นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กระบวนการ/ขั้นตอน และแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต  โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

                             -   การบรรยายในหัวข้อ การสร้างความรู้ด้วยกระบวนการแบ่งปันความรู้และการถอดความรู้-ประสบการณ์การเรียนรู้  โดย ดร.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา

14.00-16.00น.    -   การสาธิตตัวอย่างและฝึกปฏิบัติการถอดความรู้-ประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านเทคนิคการเรียน  การสอน  ด้านเทคนิคการพัฒนาภาษาอังกฤษ  ด้านธรรมาธิปไตย ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และด้านการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

16.00-16.25น.    -   การนำเสนอเว็บไซต์ KM ของมหาวิทยาลัยรังสิต โดย ดร.กฤษดา ศรีแผ้ว

16.25-16.30น.    -  ปิดการฝึกอบรม โดย ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

 

-------------------------------------------------------------------


วันที่ประกาศ: 1 พฤษภาคม 2556, 08:33

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันอังคารที่ 23 เมษายน 2013 เวลา 12:30 ถึง 16:30น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) สุธารทิพย์ เรืองประภาวุฒิ
2) กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
3) ทัศนีย์ ปัญจานนท์
4) ปานันท์ กาญจนภูมิ
5) พงษ์จันทร์ อยู่แพทย์
6) วรัชญา ธนูศิลป์
7) ธเนศ พงศ์ธีรรัตน์
คณะบัญชี
8) อริสรา ธานีรณานนท์
9) นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
10) สายสวาท ทองสุพรรณ
11) ปรารถนา ยอดมโนธรรม
12) พรพัชรินทร์ วงศ์สายศรี
13) สิรวิชฐ์ สถาปนา
14) ณัฐวุฒิ ศุภชวโรจน์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
15) ดารณี อินทะแสน
16) ชนัฐนันท์ มณฑาทอง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
17) มนต์ชัย บุญยะวิภากุล
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
18) กิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย
19) พันธุ์ศักดิ์ ไทยสิทธิ
20) อภิวัฒน์ สูยะโพธ
สถาบันการบิน
21) พินิจ ชาติไทย
22) ประพนธ์ จิตตะปุตตะ
23) ศุภกฤต อริยะปรีชา
24) ณัฐพล สุขอ้น
วิทยาการการออกแบบ
25) คงรัฐ สุนทรโรจน์พัฒนา
26) วราวรรณ สุวรรณผาติ
27) สุขเกษม อุยโต
28) สุภาวดี จุ้ยศุขะ
29) ชินภัศร์ กันตะบุตร
คณะศิลปศาสตร์
30) นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์
31) ปวริศร ซ่อมศิลป์
32) สุกัลยา วงศ์ชมบุญ
33) วรพล มหาแก้ว
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
34) ดุสิต ศิริสมบัติ
35) นวพันธ์ คงสวัสดิเกียรติ
36) เสรี วังส์ไพจิตร
คณะเทคนิคการแพทย์
37) สวรรยา พงศ์ปริตร
38) อังสนา โยธินารักษ์
39) อรอุมา ญาณพาณิชย์
วิทยาลัยนานาชาติ
40) ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช
41) อุษณีย์ มะลิสุวรรณ
คณะดิจิทัลอาร์ต
42) นัฐวุฒิ สีมันตร
43) สุทัศน์ ปาละมะ
44) เอกชัย เกียรติเฉลิมพร
คณะนิติศาสตร์
45) สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี
46) ศรินทิพย์ ประเศรษฐานนท์
47) อนันต์ สันติภาพ
48) วศิน อสันโน
สถาบันภาษาอังกฤษ
49) สุพัตรา ตู้จินดา
50) จิตติมาน เกียรติวชิรพันธ์
บัณฑิตวิทยาลัย
51) เพียงจันทร์ จริงจิตร
52) วรรณี ศุขสาตร
53) กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ
54) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์
คณะพยาบาลศาสตร์
55) วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์
56) อำภาพร นาวงศ์พรหม
57) วิลาวัลย์ อุดมการเกษตร
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์
58) สงคราม สมณวัฒนา
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
59) ศิริพร วงศ์สายญาติ
60) จันทนา อดิสรณกุล
61) พัชรินทร์ ขาวรุ่งเรือง
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
62) บุปผา บุญสมสุข
63) ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์
64) จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
65) อรรถญา พิกุลพารุ่งโรจน์
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
66) วุฒิสิฐ วิรยศิริ
คณะทัศนมาตรศาสตร์
67) เมธี จรัสอรุณฉาย
68) วุฒิไกร บูรณ์วรุตม์
คณะบริหารธุรกิจ
69) ณัฐธงชัย ตรีทวีวงศ์กุล
70) ณัฎฐยศ สุริยเสนีย์
71) ภูริพัฒน์ ชาญกิจ
72) ปิยภรณ์ ชูชีพ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
73) ธนิศา กลันเนียม
74) ปัณณวิชญ์ วงศ์วิวัฒนานนท์
75) ปาณิสรา ผลบุญ
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
76) สุรีย์พร ท้วมทอง
77) ณิชา คงชม
สถาบันวิจัย
78) กนกรัตน์ ครูกิมโสม
วิทยาลัยรัฐกิจ
79) อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์
80) วันวิชิต บุญโปร่ง
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
81) เสาวนีย์ พัชรเจริญพงศ์
82) โกวิท รพีพิศาล
83) ศิริวรรณ วาสุกรี
Chinese Business
84) ดวงพร คชายั่งยืน
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
85) สุภางค์ วงษ์ขันธ์
86) มานพ แก้วกล้า
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
87) ณัฐ เทพหัตถุ
88) สุเทพ ชูช่วย
สำนักหอสมุด
89) เยาวรัตน์ บางสาลี
90) จุรีรัน์ เกลี้ยงแก้ว
91) ชะอ้อน พันถัน
92) พัชรา หาญเจริญกิจ
93) นฤมล พฤกษศิลป์
94) รัตนาภรณ์ กาศโอสถ
95) ดาวรัตน์ แท่นรัตน์
สำนักงานบุคคล
96) กสิณ จันทร์เรือง
สำนักงานพัฒนาสังคม
97) สาวิตรี ดีดวง
ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
98) มรรคพล สุรัชฎาภรณ์
สถาบันเศรษฐศาสตร์
99) ภิรมย์ จั่นถาวร