ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การวิจัยหน้าเดียว (Action Research)

 

หลักการและเหตุผล

การวิจัยเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนั้น ผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตควรเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยรวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ทั้งในด้านปริมาณ คือ ต้องทำให้สัดส่วนของผลงานวิจัยมีความสมดุลกับจำนวนอาจารย์ในคณะวิชา และในด้านคุณภาพ ได้แก่ การส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร คณะวิชา และหน่วยงานสนับสนุน ต้องมาผนึกกำลังร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยดังกล่าวกลายเป็นนวัตกรรมหรือข้อมูลสะท้อนกลับอันเป็นประโยชน์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาอาจารย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมีมาตรฐานรวมทั้งส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำวิชาการด้านงานวิจัยเพื่อการศึกษา และบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕)

ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (Teacher as Research) ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

คำว่า "Action Research" ถูกบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Kurt  Lewin  โดยมีขอบเขตอยู่ที่การแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ถ้าหากครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง ๕ บท จะต้องใช้เวลายาวนานหลายคนจึงไม่สามารถเขียนรายงานการวิจัยแบบยาวๆ ได้ จึงนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ  สั้นๆ ที่เรียกว่า “วิจัยหน้าเดียว” ซึ่งสามารถทำวิจัย ได้ทั้งครู และผู้เรียน ตามแนวของกรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โดยวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยในชั้นเรียน ก็คือ การมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน เช่น สอนไปแล้วพบปัญหา หรือแก้ปัญหาจากผลการสอนในปีที่ผ่านมา หรือคิดหาวิธีการสอนใหม่ๆ มาช่วยให้การสอน สนุกสนานยิ่งขึ้น และสามารถนำผลการวิจัยนั้นมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมดังกล่าวขึ้น

 

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์ผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการ ของการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน

๒.  เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการสอนของตนเอง

๓. เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์อันเป็นประโยชน์จากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

 

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน ๔๐ คน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

เนื้อหาการฝึกอบรม

หลักการดำเนินการทำวิจัยหน้าเดียว (Action Research) มีขั้นตอน ดังนี้

                        ขั้นที่ ๑ ระบุปัญหาของผู้เรียน/ ผู้สอน 

                        ขั้นที่ ๒ ระบุบอกวิธีแก้ปัญหา

                        ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/ แบบฝึก/ นวัตกรรม

                        ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน /ลงมือแก้ปัญหา

                        ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป

                        ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว

 

วิทยากร

ดร. อิทธิพัทธ์  สุวทันพรกูล  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

วัน เวลา และสถานที่

วันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม 2556 ห้อง 1-308 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. คณาจารย์ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการ ของการทำวิจัยในชั้นเรียน

๒.  คณาจารย์ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการสอนของตนเอง

 

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์

เรื่อง การวิจัยหน้าเดียว (Action Research)

วันพุธ ที่ 22  พฤษภาคม  2556  เวลา  8.30 – 16.00 น.

ณ ห้อง 1-308 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต

*****************************************

 

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น. การบรรยาย เรื่อง หลักการของทำวิจัยในชั้นเรียน

10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง วิธีการทำวิจัยหน้าเดียว (Action Research)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น. การฝึกปฏิบัติการ เรื่อง วิจัยหน้าเดียว (Action Research)

14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.00 น. การฝึกปฏิบัติการ เรื่อง วิจัยหน้าเดียว (Action Research) (ต่อ)

 


วันที่ประกาศ: 14 พฤษภาคม 2556, 13:51

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2013 เวลา 08:30 ถึง 16:30น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะบริหารธุรกิจ
1) พงษ์ยุทธ กล้ายุทธ
2) อารีรัตน์ แย้มเกษร
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
3) ปิ่นประภา ประวิตรสกล
4) ชัชชญา พีระธรณิศร์
5) ชุติมา อาจไชยชาญ
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
6) ศิริพร ศรีพิบูลย์
7) ต้องจิตร สุทธิศรีปก
8) พรรคพงษ์ แก่นณรงค์
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
9) วรรณวิภา ติตถศิริ
10) นิธิภา อาจฤทธิ์
11) ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง
12) อารีรัตน์ ส่งวัฒนา
13) อรนุช ปุณยกนก
14) ขยัน จันทรสถาพร
15) สุพานิช อังศิริกุล
16) วศิน ชูประยูร
17) กัลยาณี แช่มช้อย
18) ชุลีกร นวลสมศรี
19) มานพ แซ่จิ๋ว
20) มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ
21) ทศนัย ชุ่มวัฒนะ
22) ยุทธนา มาลัยเวช
23) เสาวนีย์ พัชรเจริญพงศ์
24) กฤษฏา ศรีแผ้ว
25) หทัยชนก หวังวงศ์เจริญ
26) สุธี ศิริสุทธิเดชา
27) ศุภณัฐ ค้าทอง
28) วรทรรศน์ มาฆะศิรานนท์
29) สุรชัย ดียิ่ง
30) พวงรัตน์ ฉันทวิโรจน์
31) สุทธิศักดิ์ จันทวงษ์โส
32) โกวิท รพีพิศาล
33) ศิริวรรณ วาสุกรี
34) วารุณี บุญคุ้ม
35) วุฒิพงษ์ ชินศรี
36) ชุติมา เบี้ยวไข่มุข
คณะวิทยาศาสตร์
37) พรกมล ทวยเจริญ
38) ชาติชาย ตระกูลรังสิ
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
39) ณัฐกานต์ เกาศล
40) สมชนก ภู่อำไพ
41) มณีเพ็ญ อภิบาลศรี
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
42) โชติกา ลักษณะพุกก์
43) ศิริพร วงศ์สายญาติ
44) สมชนก หงษ์ทอง
วิทยาลัยดนตรี
45) วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
46) นวพรรณ สินตระกูล
47) ศุภพร สุขะตุงคะ
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
48) ดวงพร สุวรรณกุล
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
49) กุสุมา ปัดภัย
50) เสาวนีย์ ลาดน้อย
คณะนิติศาสตร์
51) ศรินทิพย์ ประเศรษฐานนท์
52) วศิน อสันโน
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
53) ทศธน จรูญรัตน์
คณะพยาบาลศาสตร์
54) นวรัตน์ โกมลวิภาต
สถาบันเศรษฐศาสตร์
55) เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ
สายสนับสนุน
56) กัญญาณัฐ สรรพศรี
สำนักงานกิจการนักศึกษา
57) ณิชาภัทร ฉายศรี
บัณฑิตวิทยาลัย
58) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์